กรรเอา | (กัน-) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ (สมุทรโฆษ). |
กรอบเค็ม | น. ชื่อขนมทำด้วยแป้งหมี่นวดกับน้ำมัน ตัดเป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ริมเป็นจัก ๆ ทอดให้กรอบ เคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว ใส่เกลือ และรากผักชี กระเทียมพริกไทยโขลก มีรสหวานเค็ม. |
กระจับ ๑ | น. ชื่อไม้นํ้าหลายชนิดในสกุล Trapa วงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในนํ้าโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดำแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน |
กล้าย | (กฺล้าย) น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยมและยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก. |
กลูโคส | (กฺลู-) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ °ซ. มีในนํ้าผึ้ง และผลไม้ที่มีรสหวาน เป็นองค์ประกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน, เดกซ์โทรส ก็เรียก. |
กะหลาป๋า ๒ | น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Syzygium samarangense (Blume) Merr. et L. M. Perry ผลสีเขียว รสหวาน เรียกว่า ชมพู่กะหลาป๋า เป็นพรรณไม้ชวา. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Samanea saman (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
กาแล็กโทส | น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ํ-๑๖๘ ํซ. โมเลกุลของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุลของแล็กโทสซึ่งมีในนํ้านม. |
เกด ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard ในวงศ์ Sapotaceae ผลคล้ายละมุดสีดา สุกแล้วมีรสหวาน กินได้. |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขยัน ๒ | (ขะหฺยัน) น. ชื่อไม้เถาชนิด Bauhinia strychnifolia Craib ในวงศ์ Leguminosae เปลือกมีรสหวาน ๆ ฝาด ๆ ใช้กินกับหมาก. |
ข้าวควบ | น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
เขียวหวาน ๒ | น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด Citrus reticulata Blanco เปลือกบาง ผลสีเขียว รสหวาน. |
ไข่เน่า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้. |
แคลเซียมไซคลาเมต | น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2Ca. 2H2O ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. |
ง้วน ๑ | น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน. |
ชะเอม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum. ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทำยา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. |
ชะเอม | ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทยหรือชะเอมป่า ( Albizia myriophylla Benth .) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทำยาได้, ชะเอมเทศ ( Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ ( G. uralensis Fisch. ex DC.) เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทำยาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน). |
ชาติรส | (ชาติรด, ชาดติรด) น. รสโดยกำเนิด เช่น รสหวานของนํ้าผึ้ง รสเค็มของเกลือ รสขมของบอระเพ็ด. |
ชำมะเลียง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. ในวงศ์ Sapindaceae ใบยาว ผลสุกสีม่วงดำ กินได้ รสหวานปนฝาด, พุมเรียง ก็เรียก. |
ซูโครส | (-โคฺร้ด) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐ ºซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทำจากอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. |
โซเดียมไซคลาเมต | น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. |
ต้มเค็ม | น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น ใส่เครื่องปรุงมีซีอิ๊วขาว ขิง ผักกาดดองเค็ม เคี่ยวให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบไทยมีรสหวานเค็ม. |
ตะขบ | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่น ตะขบไทย ( F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดงหรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทำยาได้. |
ตะขบ | ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calabura L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลมเล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก. |
แตง | น. ชื่อไม้เถาล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cucurbitaceae เถามีขน มีมือเกาะ บางชนิดยอด ดอก และผลกินได้ เช่น แตงกวา ( Cucumis sativusL.) ผลเล็ก ใช้เป็นผัก, แตงร้าน เป็นแตงกวาพันธุ์หนึ่ง ผลโตกว่าแตงกวาธรรมดามาก, แตงไทย ( C. melo L.) ผลอ่อนใช้เป็นผัก เมื่อสุกกินกับนํ้ากะทิ, แตงโม [ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum et Nakai ] ยอดและผลอ่อนใช้เป็นผัก ผลแก่เนื้อมีรสหวาน, แตงหนู [ Zehneria marginata (Blume) Keraudren ] มีผลเล็กมาก. |
ทองม้วน | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งประสมกับกะทิและไข่ เทราดลงในพิมพ์ซึ่งมักมีลักษณะกลมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ผิงไฟให้สุกแล้วม้วนเป็นหลอด, ถ้าพับเป็นชิ้น เรียก ทองพับ, มีทั้งอย่างรสเค็มและรสหวาน. |
ทุเรียน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinusMurr. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กำปั่น ทองย้อย หมอนทอง. |
ทุเรียนเทศ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Annona muricata L. ในวงศ์ Annonaceae ผลมีหนามขรุขระ รสหวานอมเปรี้ยว กินได้, ทุเรียนแขก ก็เรียก. |
นมข้น | น. นมที่มีลักษณะข้นและมีรสหวานจัด ได้จากการทำให้น้ำบางส่วนในน้ำนมวัวระเหยไปแล้วเติมน้ำตาล. |
น้อยหน่า | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Annona squamosa L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนา มี ๓ กลีบ ผลสีเขียว ผิวนูนเป็นตา ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวาน มีเมล็ดมาก. |
น้อยโหน่ง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก. |
น้ำตาล | น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หยอดเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. |
น้ำดอกไม้ ๓ | ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก. |
น้ำไทย | น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลรูปรี เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน. |
น้ำนมราชสีห์ | น. กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่นหอม. |
บวน | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้ม เครื่องแกงมีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น โขลกแล้วต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้บางชนิดมีใบมะตูม ใบย่านาง เป็นต้น ทำให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ ปรุงให้มีรสหวาน เค็ม. |
บาดคอ | ก. รู้สึกคล้ายระคายคอเนื่องจากกินเหล้าหรือของที่มีรสหวานจัดเป็นต้น. |
ปะแล่ม, ปะแล่ม ๆ | ว. อ่อน ๆ น้อย ๆ (ส่วนมากใช้แก่สิ่งที่มีรสหวาน) เช่น หวานปะแล่ม ๆ. |
เปาะเปี๊ยะ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนำแป้งสาลีมาทำให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. |
พริกกะเกลือ | น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตำจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล. |
พะโล้ | น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศอื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจนน้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรสหวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้. |
ฟรักโทส | (ฟฺรัก-) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่ง ประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดคีโทเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๐๒ °ซ. มีปรากฏในผลไม้สุกที่มีรสหวาน นํ้าผึ้ง นํ้าต้อยของดอกไม้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทราย, เลวูโลส ก็เรียก. |
มธุรส | น. นํ้าผึ้ง, รสหวาน, อ้อย. |
มอลโทส | น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐ °-๑๖๕ °ซ. องค์ประกอบเป็นกลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่งมีในข้าวมอลต์ ทำปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. |
มะขาม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tamarindus indica L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน. |
มะซาง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Madhuca pierrei (F. N. Williams) H. J. Lam ในวงศ์ Sapotaceae ผลขนาดหมากดิบ สีเขียว มียางมาก รสหวานเย็น. |
มะดูก | ชื่อไม้ต้นชนิด Siphonodon celastrineus Griff. ในวงศ์ Celastraceae ดอกสีเหลืองมีขีดหรือจุดประสีนํ้าตาลแดง ผลสุกกินได้ รสหวาน. |
มะตูม | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corrêa ex Roxb. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการมงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทำยาได้. |