กรด ๑ | (กฺรด) น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป |
กรด ๑ | มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้ |
แกงส้ม | น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ นํ้ามัน มีรสเปรี้ยวด้วยนํ้าส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค. |
ชะมวง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia cowaRoxb . Ex DC. ในวงศ์ Guttiferae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผัก. |
ต้มส้ม | น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาต้มในนํ้าแกงที่ปรุงด้วยกะปิ หัวหอม พริกไทย ส้มมะขาม น้ำปลา และนํ้าตาล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน. |
น้ำจิ้ม | น. เครื่องจิ้มลักษณะเป็นน้ำใสหรือข้น โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน ใช้ชูรสอาหาร เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน น้ำจิ้มอาหารทะเล. |
น้ำส้มสายชู | น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก. |
บูด | ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด |
พิมเสน ๒ | ชื่อมะม่วงหลายพันธุ์ของชนิด Mangifera indicaL. พันธุ์หนึ่งเมื่อดิบมีรสเปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน. |
มะกอก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata (L.f.) Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้, มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก. |
มะขาม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tamarindus indica L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน. |
มะปริง | (-ปฺริง) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn. ในวงศ์ Anacardiaceae คล้ายมะปรางแต่ผลมีรสเปรี้ยว. |
เมี่ยงส้ม | น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวขูดคั่ว กวนกับน้ำตาลปึกผสมถั่วลิสงตำพร้อมด้วยหอมแดง ปรุงให้มีรสเค็มหวาน เมื่อได้ที่โรยใบมะกรูดหั่นฝอย กินแกมกับผักกาดหอมหรือใบทองหลาง และผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มโอ มะม่วงดิบ มะปรางดิบ. |
ยำใหญ่ | น. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้. |
ส้ม ๒ | น. คำใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้และของกินที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก. |
ส้มกุ้ง ๑ | น. ของกินชนิดหนึ่งทำด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า. |
ส้มตำ | น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตำประสมกับเครื่องปรุงมี กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม. |
ส้มฟัก | น. อาหารทำด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมักเกลือ กระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้จนมีรสเปรี้ยว. |
ส้มมะขาม | น. เนื้อในมะขามเปรี้ยวที่แก่จัด ซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยว, ถ้าปั้นเป็นก้อนเรียก มะขามเปียก. |
ส้มกุ้ง ๒ | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Begonia longifoliaBlume ในวงศ์ Begoniaceae ต้นและใบอวบนํ้า ใบมีรสเปรี้ยว. |
ส้มเช้า | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia neriifoliaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นคล้ายต้นสลัดได แต่มีใบซึ่งมีรสเปรี้ยวในเวลาเช้า. |
ส้มสันดาน | น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissus hastata Miq. ในวงศ์ Vitaceae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ทำยาได้. |
ส้มเสี้ยว | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bauhinia malabaricaRoxb. ในวงศ์ Leguminosae ใบมีรสเปรี้ยว กินได้และใช้ทำยาได้, เสี้ยวใหญ่ ก็เรียก. |
สามรส ๑ | น. เรียกอาหารที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาเก๋าสามรส. |
สายชู | น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร เรียกว่า นํ้าส้มสายชู, นํ้าส้ม ก็เรียก. |
สารส้ม | น. เกลือเคมีประเภทหนึ่ง ทั่วไปรู้จักกันเฉพาะชนิดที่ใช้ประโยชน์ทำให้นํ้าใสสะอาด ชนิดนี้มีสูตร K2SO4·Al2(SO4)3·24H2O ลักษณะเป็นก้อนแข็ง สีขาว มีรสเปรี้ยวฝาด. |
อัมพิละ | ว. มีรสเปรี้ยว. (ป.; ส. อมฺล). |