กัมพุชพากย์ | น. ภาษาเขมร. |
บทพากย์ | น. คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น. |
ปฏิพากย์ | น. การกล่าวตอบ, การพูดโต้ตอบ, เช่น เพลงปฏิพากย์ คือ เพลงที่ร้องโต้ตอบกัน. |
พากย์ | ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนังใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือการแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. |
พากย์ | น. คำพูด, ภาษา |
พากย์ | คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. |
พากย์หนัง | ก. พูดตามบทพากย์ภาพยนตร์, พากย์ ก็ว่า. |
รำชั่วโทษพากย์ | ก. ทำไม่ดีหรือทำผิด แล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า. |
กฎหมาย | ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา (พากย์) |
กฎหมาย | กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย (พากย์). |
กระจัก | ก. เป็นจัก ๆ เช่น กระจักกระจังบัลลังก์บัวหงาย ธูปรองทองทราย สลับด้วยแก้วแกมนิล (พากย์). |
กระยาง ๑ | น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง (สุบินคำพากย์). |
กระหนาบ | ก. ประกบเข้าให้แน่น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ, ติดชิดกันที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน (พากย์) |
กระหวัด | ย้อน เช่น เจ้าหวนคิดกระหวัดวน (พากย์นางลอย). |
กรางเกรียง | ว. เสียงอย่างเดียวกับกราง เช่น ก้องกงรถก้องกรางเกรียง (พากย์; สุธน). |
กรึง | (กฺรึง) ก. ตรึง, ปักแน่น, ทำให้อยู่กับที่, เช่น ต้องศรพรหมาสตร์ฤทธิรณ กรึงแน่นทรวงบน ตลอดจนยอดปฤษฎางค์ (พากย์). |
กากภาษา | (กากะพาสา) น. ชาติกา เช่น ลางมารนิรมิตอินทรีย์เศียรเป็นอสุรี และกายเป็นกากภาษา (คำพากย์). |
โกลาหล | (-หน) ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร (คำพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี (ไชยเชฐ). |
เงื่อน ๒ | ว. เหมือน เช่น เขี้ยวโง้งเงื่อนงาคชกรรม (คำพากย์). |
ฉม่อง | (ฉะหฺม่อง) น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา (คำพากย์). |
ชลาสินธุ์ | น. ห้วงน้ำ เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์ (กากี), สายน้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา (พากย์นางลอย). |
เชิดหนัง | ก. ยกชูตัวหนังตะลุงขึ้นทาบหลังจอ ให้เงาเคลื่อนไหวไปตามบทพากย์, ยกชูตัวหนังใหญ่ขึ้นทาบหน้าจอ แล้วผู้เชิดเยื้องกรายประกอบไปตามบทพากย์. |
แดยัน | ก. แทบขาดใจ เช่น ผวาวิ่งประหวั่นจิตต์ ไม่ทันคิดก็โศกา กอดแก้วขนิษฐา ฤดีดิ้นอยู่แดยัน (พากย์นางลอย). |
ตรลบ | (ตฺระหฺลบ) ก. ตลบ, เขียนเป็น ตรหลบ หรือ ตระหลบ ก็มี เช่น สองก้ำกึ่งกันทานทบ แผลงศรตรหลบ ตรเลิดพันลึกนิดินบน (อนิรุทธ์), ไพร่พลเมืองนาวนาว นฤนาท แตรตระหลบก้องหล้า ส่งสยง (ยวนพ่าย), เถิดฤๅจะรื้อรบ ตระหลบวิ่งเข้าชิงแดน ฟันเสียให้นับแสน ให้เศียรขาดลงดาดดิน (พากย์นางลอย). |
ตะลุง ๑ | น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง |
ทนายความ | ผู้พากย์หนังใหญ่. |
นีรนาท | ก. กึกก้อง เช่น ปฐพีนีรนาทหวาดไหว (คำพากย์), เนียรนาท ก็ใช้. |
ปฏิ- | (ปะติ-) คำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ เช่น ปฏิทิน, ตอบ เช่น ปฏิพากย์, ทวน เช่น ปฏิโลม, กลับ เช่น ปฏิวัติ. |
ปรด | (ปฺรด) ก. วิ่ง, วิ่งแล่น, เช่น เร่งรถปรดปรึง (คำพากย์). |
เพ้ย | คำรับในเวลาพากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. |
ไพรัช, ไพรัช- | (ไพรัดชะ-) ว. นอกประเทศ, ต่างประเทศ, เช่น ไพรัชพากย์. |
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง | ก. ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำชั่วโทษพากย์ ก็ว่า. |
หนังกลางวัน ๑ | น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้ายหนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน. |
หนังตะลุง | น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์. |
หนังใหญ่ | น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอและหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคนกัน. |
หน้าพาทย์แผลง | (-แผฺลง) น. การเรียกชื่อเพลงหน้าพาทย์ให้แตกต่างไปจากชื่อเดิมตามเจตนาของผู้พากย์ โดยคงความหมายชื่อใหม่ให้สัมพันธ์กับชื่อเดิม เช่น สี่ศอก หมายถึง เพลงวา ไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ แม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว. |