กระสุนพระอินทร์ | น. ชื่อกิ้งกือในสกุล Sphaerotherium วงศ์ Sphaerotheriidae ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร หัวแบนเล็ก ลำตัวโค้งนูน มี ๑๓ ปล้อง ผิวลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาล ดำ ครีม หรือเขียว เมื่อถูกกระทบจะม้วนเข้าสอดกับปล้องสุดท้ายจนกลมคล้ายลูกกระสุนดินปั้น พบชุกชุมช่วงต้นฤดูฝนตามพื้นที่สูงที่มีใบไม้ทับถมและชุ่มชื้น, ปักษ์ใต้เรียก มวนชิด. |
เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
เขียวพระอินทร์ ๒ | น. ชื่องูเขียวชนิดหนึ่ง. (ดู เขียว ๓). |
ควายพระอินทร์ | น. ชื่อหนอนกระทู้ชนิดหนึ่ง. (ดู กระทู้ ๓). |
กระทู้ ๓ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae ลำตัวรูปทรงกระบอก ยาว ๓-๔ เซนติเมตร ผิวเป็นมัน มีขนตามลำตัวน้อย ส่วนใหญ่สีน้ำตาลคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลำตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทำให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์หรือหนอนกระทู้คอรวง [ Mythimna separate (Walker) ] ทำลายต้นข้าว, หนอนกระทู้ผัก [ Spodoptera litura (fabricius) ] ที่กัดกินพืชผัก. |
โกสินทร์ | (-สิน) น. พระอินทร์. |
โกสีย์ | น. พระอินทร์ เช่น ลํ้าเลอศกรุงโกสีย์ หยาดหล้า (ทวาทศมาส). |
เขียว ๓ | น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ ( Chrysopelea ornata Shaw) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเรียวยาว อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง ( Trimeresurus albolabris Gray) ในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย. |
จิตรลดาวัน | น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. |
ดาวดึงส์ | (ดาววะ-) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีพระอินทร์เป็นใหญ่ในชั้นนี้. (ป. ตาวตึส; ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ตรัยตรึงศ์ | (ไตฺรตฺรึง) น. ดาวดึงส์, ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีพระอินทร์เป็นใหญ่ในชั้นนี้. |
ตรีทศ | น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทหมายถึง พระอินทร์และเทวดาผู้ใหญ่อีก ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. |
ตรีภพนาถ | น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี. |
ไตรตรึงษ์ | (-ตฺรึง) น. ดาวดึงส์, ตรัยตรึงศ์, ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีพระอินทร์เป็นใหญ่ในชั้นนี้. |
ไตรทศ | (-ทด) น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทหมายถึง พระอินทร์และเทวดาผู้ใหญ่อีก ๓๒ องค์, ตรีทศ ก็ว่า. |
เทพบดี | (เทบบอดี) น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอินทร์. |
นันทวัน | (นันทะ-) น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. |
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ | น. แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิตของพระอินทร์. |
ปาริฉัตร, ปาริชาต | น. ต้นไม้สวรรค์ในสวนพระอินทร์, ต้นทองหลาง. |
ปารุสกวัน | (ปารุดสะกะ-) น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. |
ผู้หญิงริงเรือ, ผู้หญิงยิงเรือ | น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง (อภัย), อีกอย่างหนึ่งจะไปติดพันกับผู้หญิงริงเรือที่อยู่ในที่หวงแหน (พระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔), ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ. |
พันตา, พันเนตร | น. พระอินทร์. |
เพชรปาณี | (เพ็ดชะ-) น. พระอินทร์. |
เพชรายุธ | (เพ็ดชะรายุด) น. อาวุธเพชรของพระอินทร์, ชื่อหนึ่งของพระอินทร์. |
ไพชยนต์ | (-ชะยน) น. ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์ |
ไพชยนต์ | ธงของพระอินทร์. |
มฆวัน, มัฆวา, มัฆวาน | (มะคะ-, มักคะ-) น. พระอินทร์. |
มวนชิด | น. กระสุนพระอินทร์. (ดู กระสุนพระอินทร์). |
มหินท์ | น. พระอินทร์. |
มเหนทร์ | น. พระอินทร์. |
มัฆวา, มัฆวาน | น. พระอินทร์. |
มิสกวัน | น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน) |
เมรุ, เมรุ- | (เมน, เม-รุ-) น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่ |
วชิร-, วชิระ | อาวุธพระอินทร์. |
วชิรปาณี, วชิรหัตถ์ | น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วัชรปาณี ก็ว่า. |
วชิราวุธ | น. “ผู้มีวชิระเป็นอาวุธ” คือ พระอินทร์. |
วสุ | ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวารของพระอินทร์. |
วัชรปาณี | น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. |
วัชรินทร์ | น. พระอินทร์. |
วัชรี | น. พระอินทร์. |
วัชเรนทร์ | น. พระอินทร์. |
วาสพ | (วาสบ) น. พระอินทร์. |
วิเชียร | อาวุธพระอินทร์. |
เวชยันต์ | (เวดชะ-) น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์. |
ศจี | น. ชายาพระอินทร์. |
ศักร- | (สักกฺระ-) น. พระอินทร์. |
ศักรภพน์ | น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. |
ศักรินทร์, ศักเรนทร์ | น. พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่. |
สวรรคบดี | (สะหฺวันคะบอดี) น. เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. |
สหัสนัยน์, สหัสเนตร | (สะหัดสะ-) น. พันตา หมายถึง พระอินทร์. |