ป่าเบญจพรรณ | น. ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน. |
กระแจะ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก. |
กระโดน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก. |
กระไดลิง ๒ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก. |
กระเบียน | ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Ceriscoides turgida (Roxb). Tirveng ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก. |
กระพี้เขาควาย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Graham ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดำแข็งและหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ. |
กาสามปีก | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Vitex peduncularis Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้, กาจับหลัก หรือ ตีนนก ก็เรียก. |
กาสามปีก | ชื่อไม้พุ่มชนิด Flemingia sootepensis Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้. |
กำจาย ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia digyna Rottler ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ฝักพองหนา มีรสฝาด ใช้ย้อมหนังได้ เมล็ดสีดำให้นํ้ามันจุดไฟ. |
กำลังช้างเผือก | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดย่อยของชนิด Hiptage bengalensis (L.) Kurz ในวงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิดย่อยแรก H. bengalensis (L.) Kurz subsp. bengalensisเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก, และชนิดย่อยที่ ๒ H. bengalensis (L.) Kurz subsp. candicans (Hook. f.) Sirirugsa เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก. |
เกล็ดปลาช่อน | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Phyllodium pulchellum (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตามแนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก. |
ไก่ไห้ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis flavicans Kurz ในวงศ์ Capparaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นมีหนาม, กะอิด ตะลุ่มอิด งวงช้าง หรือ งัวเลีย ก็เรียก. |
ขว้าว | (ขฺว้าว) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก. |
คงคาเดือด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็ก สีม่วงดำ หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทำยาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก. |
ซาก ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Erythrophleum succirubrum Gagnep. และชนิด E. teysmannii (Kurz) Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด. |
ตานเหลือง | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นชนิด Ochna integerrima (Lour.) Merr. ในวงศ์ Ochnaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกสีนํ้าตาลแก่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น กลิ่นหอมอ่อน ผลัดใบขณะมีดอก, กำลังช้างสาร ช้างน้าว หรือ ตานนกกด ก็เรียก. |
บัวบก | ชื่อไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลายแหลม ใช้ทำยาได้, สบู่เลือด ก็เรียก. |
เบญจพรรณ | หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน ว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน ว่า ป่าเบญจพรรณ. |
ประดู่ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ประดู่บ้าน ก็เรียก, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน. |
เปล้า ๑ | (เปฺล้า) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Croton วงศ์ Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ ( C. roxburghiiN.P. Balakr.) เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย ( C. stellatopi losusH. Ohba) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ทำยาได้. |
เพ็ก ๑ | น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด Vietnamosasa pusilla (Chevalier et A. Camus) Nguyen ต้นเล็ก ขึ้นเป็นกอเดี่ยวหนาแน่นในป่าเบญจพรรณ, ไผ่เผ็ด หรือ หญ้าเพ็ก ก็เรียก, และชนิด Bambusa multiplex (Lour). Raeusch. ต้นเล็ก เนื้อปล้องเกือบตัน ขึ้นเป็นกอ ใช้ปลูกประดับได้. |
รักหมู | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Semecarpus albescens Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบด้านล่างขาว, กุกขี้หมู หรือ รักขี้หมู ก็เรียก. |
เลี่ยน ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Melia azedarach L. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, เกรียน ก็เรียก. |