เนื้อเปื่อย | น. เนื้อวัวที่ต้มจนเปื่อยใช้เป็นอาหาร. |
ปึมปื้อ | ดู กระดาด (๑). |
ปื้อ | ว. ดำมืด, มักใช้ประกอบคำ ปึ้ด เป็น ปึ้ดปื้อ. |
ปื๋อ | ว. จัด, มักใช้ประกอบสีดำสีเขียว ว่า ดำปื๋อ เขียวปื๋อ. |
เปรอะเปื้อน | ว. เลอะเทอะ, เปื้อนเปรอะ ก็ว่า. |
เปื้อน | ก. ติดสิ่งที่ทำให้เกิดสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการ เช่น เปื้อนโคลน เปื้อนแกง เปื้อนเลือด. |
เปื้อน | ว. มีสิ่งสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการติดอยู่ เช่น มือเปื้อน ผ้าเปื้อน. |
เปื้อนเปรอะ | (-เปฺรอะ) ว. เลอะเทอะ, เปรอะเปื้อน ก็ว่า. |
เปื่อย | ว. ที่ขาดง่าย เช่น ด้ายเปื่อย, ที่หลุดจากกันง่าย เช่น ผ้าเปื่อย, ยุ่ยง่าย เช่น เนื้อเปื่อย, ที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เช่น แผลเปื่อย. |
แปดเปื้อน | ก. เปื้อน. |
เรื่อยเปื่อย | ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดินเรื่อยเปื่อย. |
เลื่อนเปื้อน | ว. อาการที่พูดเลอะเทอะ เช่น พูดจาเลื่อนเปื้อน. |
กระดาด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทำยา หัวทำให้สุกแล้วกินได้, กระดาดขาว ปึมปื้อ เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก. |
กระมอมกระแมม | ว. มอมแมม, เลอะเทอะเปรอะเปื้อน, สกปรก. |
กระสือ ๑ | ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด |
กะเตง ๆ | ว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไปอย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่. |
กัด ๑ | ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดสำลีไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไป ให้ทะลุ ให้ฉีกขาด เป็นต้น เช่น สุนัขกัดเข้าไปถึงกระดูก หนูกัดผ้าเป็นรู, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้กร่อนสลายหรือจางไป เช่น สนิมกัดเหล็ก กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทำให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก น้ำกัดเท้า |
ขนงเนื้อ | (ขะหฺนง-) น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุงเป็นอาหาร. |
ขะมอมขะแมม | ก. กระมอมกระแมม, มอมแมมมาก, เลอะเทอะ, เปื้อนเปรอะ, กระดำกระด่าง. |
ขะมุกขะมอม | ว. เปรอะเปื้อนมอซอ. |
ขี้มือ | น. เหงื่อไคลหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามมือทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น, คราบหรือรอยเปื้อนที่ติดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเนื่องจากถูกมือจับ เช่น เสื้อตัวนี้เพิ่งซักมาใหม่ ๆ จับกันหลายคนจนเปื้อนขี้มือดำไปหมดแล้ว. |
เขรอะ, เขลอะ | เลอะเทอะ เช่น รองเท้าเปื้อนโคลนเขลอะ. |
โขมด ๑ | (ขะโหฺมด) น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. |
คราบ | รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน. |
คร่ำเครอะ | ว. สกปรก, เปรอะเปื้อน. |
คลัก ๓ | (คฺลัก) ก. ทำให้สกปรก เช่น ตัวเปื้อนอย่ามาคลักที่นอน. |
เคี่ยว | ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
เฉอะแฉะ | ว. เปียกเลอะเทอะเปรอะเปื้อน. |
แชะ ๑ | ว. แฉะ เช่น มีชลไหลบเอื้อน บเปื้อนแชะชํชล (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
ซักแห้ง | ก. ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่นใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี. |
ดอง ๑ | ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ หรือสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ |
ต้มเค็ม | น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น ใส่เครื่องปรุงมีซีอิ๊วขาว ขิง ผักกาดดองเค็ม เคี่ยวให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบไทยมีรสหวานเค็ม. |
ตุ๋น | ก. ทำให้สุกด้วยวิธีเอาของใส่ภาชนะวางในภาชนะที่มีนํ้าแล้วเอาฝาครอบ ตั้งไฟให้นํ้าเดือด เช่น ตุ๋นไข่ ตุ๋นข้าว, เคี่ยวให้เปื่อย เช่น ตุ๋นเนื้อ ตุ๋นเป็ด. |
นกกระจอก ๑ | เรียกปากที่มีแผลเปื่อยที่มุมปาก ว่า ปากนกกระจอก. |
น่าย | ว. อาการที่ของเหนียวของแข็งหรือของแห้งที่แช่นํ้าไว้แล้วเปื่อยหรืออ่อนตัว เช่น แช่ข้าวไว้ให้น่ายแล้วจึงโม่. |
บังโกลน, บังโคลน | (-โกฺลน, -โคฺลน) น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกันโคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ. |
บ้าย | ก. ป้าย, ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง เช่น เอาปูนบ้ายพลู, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า |
บูดู | น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุงรส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดูแบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้. |
ปาก | โดยปริยายหมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย |
ปากนกกระจอก | น. เรียกปากที่เป็นแผลเปื่อยขาว ๆ เหลือง ๆ ที่มุมปากว่า ปากนกกระจอก. |
ป้าย ๒ | ก. ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น. |
แปด ๒ | ก. เปื้อน, มักพูดเข้าคู่กันเป็น แปดเปื้อน |
แปม | ก. เปื้อน, กลั้ว, ระคน, มักพูดเข้าคู่กับคำ ปน เป็น แปมปน หรือ ปนแปม. |
แผลริมอ่อน | น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และบางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต. |
เฟะ | ว. เละ, เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเป็นร่าง, เช่น เน่าเฟะ. |
มหากาฬ ๑ | น. ชื่อยาไทยชนิดหนึ่งสำหรับแก้โรคปากเปื่อย คอเปื่อย ลิ้นเปื่อย. |
มอม ๑ | ว. เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดำ ๆ เช่น หน้ามอม. |
มอม ๑ | ก. ทำให้เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดำ ๆ เช่น มอมหน้า |
มอมแมม | ว. เปื้อนเปรอะ, สกปรก, เช่น เนื้อตัวมอมแมม. |
ม่อล่อกม่อแล่ก | ว. เปื้อน ๆ เปรอะ ๆ, เลอะ ๆ เทอะ ๆ, เช่น เนื้อตัวเปียกฝนม่อล่อกม่อแล่ก, มะล่อกมะแล่ก ก็ว่า. |