Polymerase chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Polymerase chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส, Example: <p>เทคนิค PCR เป็นเทคนิคที่ทำได้ง่ายในการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในหลอดทดลอง โดยสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอให้เพียงพอต่อการนำไปศึกษาโดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ปัจจุบันเทคนิค PCR เริ่มจากเตรียมส่วนผสมในหลอดทดลองให้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักๆ คือ ดีเอ็นเอตั้งต้น (ดีเอ็นเอ 2 สายจับกัน) ไพรเมอร์ (primer) 2 สาย (ดีเอ็นเอสายเดี่ยวสายสั้นๆ 2 สาย สามารถไปจับปลายของดีเอ็นเอตั้งต้นแต่ละสาย) ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส (DNA polymerase เป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่สร้างดีเอ็นเอสายใหม่ต่อจาก primer โดยการคัดลอกจากดีเอ็นเอตั้งต้น) dNTPs (deoxynucleotide triphosphates เป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอนำไปต่อโดย DNA polymerase เพื่อสร้างดีเอ็นเอสายใหม่) หลังจากนั้นนำส่วนผสมไปควบคุมอุณหภูมิและเวลาเป็นรอบๆ โดยใช้เครื่องควบคุมอัตโนมัติ โดยแต่ละรอบเริ่มจากควบคุมอุณหภูมิและเวลาให้ดีเอ็นเอ 2 สายที่จับกันแยกออกจากกันเป็นดีเอ็นเอสายเดี่ยว 2 สาย แล้วควบคุมอุณหภูมิและเวลาให้ primer แต่ละสายจับกับดีเอ็นเอสายเดี่ยว แล้วควบคุมอุณหภูมิและเวลาอีกครั้งให้ DNA polymerase สร้างดีเอ็นเอสายใหม่ต่อจาก primer ดังนั้นเมื่อผ่านรอบแรกดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น 2 เท่า และเมื่อเข้ารอบสองดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบแรกจะกลายเป็นดีเอ็นเอตั้งต้นของรอบสอง ทำให้เมื่อควบคุมอุณหภูมิและเวลาหลายๆ รอบดีเอ็นเอจะเพิ่มขึ้น 2 ยกกำลัง n เท่า เมื่อ n คือ จำนวนรอบ เนื่องจากใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในแต่ละรอบ ทำให้เมื่อผ่านไปเป็นชั่วโมง ดีเอ็นเอจะเพิ่มขึ้นมากมายเพียงพอต่อการนำไปศึกษา <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> 1. สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. "เอนไซม์ที่ใช้ในการโคลนยีน" ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 42-65. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. <br>2. Promega. PCR Amplification. Retrieved May 24, 2012. from http://www.promega.com/resources/product-guides-and-selectors/protocols-and-applications-guide/pcr-amplification/ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Chain reaction, Fission | ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส, ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้เอง โดยนิวเคลียสจะดูดกลืนนิวตรอนแล้วเกิดการแบ่งแยกของนิวเคลียสขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอนใหม่เพิ่มขึ้นออกมา ซึ่งจะถูกนิวเคลียสอื่นๆ ดูดกลืนต่อไปอีก และทำให้เกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (ดู nuclear fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Core | แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Critical mass | มวลวิกฤต, มวลน้อยที่สุดของวัสดุที่เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสได้ ซึ่งเพียงพอต่อการเกิดและสืบเนื่องของปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (ดู fissionable material ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Criticality | ภาวะวิกฤต, ภาวะที่ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสสามารถสืบเนื่องอยู่ได้ โดยอัตราการเกิดนิวตรอนจากปฏิกิริยาเท่ากับอัตราการสูญเสียนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Supercritical mass | มวลเหนือวิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ทำให้ตัวประกอบพหุคูณยังผลมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งจะทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (ดู critical mass และ effective multiplication factor ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Subcritical mass | มวลใต้วิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอ หรือการจัดเรียงอยู่ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมต่อการคงไว้ซึ่งปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (ดู critical mass ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Prompt criticality | ภาวะวิกฤตพรอมต์, สถานะของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแบ่งแยกนิวเคลียสสามารถคงอยู่ต่อไปโดยพรอมต์นิวตรอนเท่านั้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Poison | สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อุปกรณ์สำหรับให้ปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมได้ ใช้สำหรับผลิตนิวตรอน หรือพลังงานความร้อน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แกนปฏิกรณ์ ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารหน่วงความเร็วนิวตรอน สารสะท้อนนิวตรอน สารหล่อเย็น วัสดุกำบังรังสี และระบบควบคุม <br>บางครั้งเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (atomic reactor)</br> [นิวเคลียร์] |
Fission chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Polymerase chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส [TU Subject Heading] |
fission reaction | ปฏิกิริยาฟิชชัน, ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม 235 พลูโตเนียม 239 เป็นต้น แล้วทำให้นิวเคลียสแตกตัวเป็นธาตุใหม่ที่เบากว่าเดิม และเกิดนิวตรอนใหม่ 2-3 ตัวพร้อมกับพลังงานจำนวนหนึ่งนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่, ปฏิกิริยาที่ 1 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 2 และจากปฏิกิริยาที่ 2 ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 3 เป็นดังนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งเกิดจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสทำให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดนิวตรอนใหม่ และนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้นิวเคลียสอื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |