ชั่วนกเขาเหิน | น. ระยะความสูงที่นกเขาบินขึ้นไปถึงได้ เช่น พระปฐมเจดีย์สูงชั่วนกเขาเหิน. |
นกเขา ๑ | น. ชื่อเหยี่ยวขนาดกลาง ในสกุล Accipiter วงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักอยู่ตามลำพัง เกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน [ A. trivergatus (Temminck) ]เหยี่ยวนกเขาชิครา [ A. badius (Gmelin) ] เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น [ A. gularis (Temminck & Schlegel) ]. |
นกเขา ๑ | ดูใน นก ๑. |
นกเขา ๒ | ดู สร้อยนกเขา (๑). |
สร้อยนกเขา | น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก. |
สร้อยนกเขา | ชื่อปลาทะเลในสกุล Diagramma และ Plectorhynchus วงศ์ Haemulidae โดยเฉพาะชนิดที่มีจุดสีเข้มกระจายหรือเรียงเป็นแถวอยู่ข้างตัว หรือบนหัวและครีบ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. pictum (Thunberg) ที่ขณะเป็นปลาขนาดเล็กจะมีแถบกว้างสีดำหรือม่วงดำพาดตามยาวตลอดลำตัวและครีบรวม ๓-๔ แถบ ขณะโตขึ้นแถบเหล่านี้จะแตกออกกลายเป็นจุดใหญ่และเล็กลงตามลำดับ ปลาที่มีขนาดโตมีสีเทาและจุดเหล่านี้จะเล็กลงอีกจนอาจจางหายไปจากบริเวณหัวและท้องคงปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหลัง ครีบหลัง และครีบหางเท่านั้นขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, สร้อยปากหมู ข้างตะเภา หรือ ตะเภา ก็เรียก. |
สูงชั่วนกเขาเหิน, สูงเท่านกเขาเหิน | ว. สูงระดับที่นกเขาบิน. |
กรุกกรู๊ | (กรุกฺ-) ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. |
กรุ่ม | (กฺรุ่ม) ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดา เวลากรุ่มกำลังที่ตั้งขึ้นตามฤดู (ม. ร. ๔ วนปเวสน์) |
กุก | เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก. |
กุรระ, กุรุระ | (กุระระ, กุรุระ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เกริ่น ๑ | ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น. |
ขัน ๓ | ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่. |
ข้างตะเภา | ดู สร้อยนกเขา ๒. |
ขี้ขม | ดู สร้อยนกเขา ๑. |
คำพ้องรูป | น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู. |
คู ๒ | ก. กิริยาที่นกบางชนิดเช่นนกเขาหรือนกพิราบขันหรือร้อง, โดยปริยายหมายความว่า พูดแทะโลมกัน เช่น ข้อยคูดนูแนบนิทรา (สรรพสิทธิ์). |
คูเรียงคูราย | น. ทำนองคูขัน (ใช้แก่นกเขา). |
จุ๊กกรู๊ | ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า. |
ตะเภา ๔ | ดู สร้อยนกเขา (๒). |
ตูโบ | ดู สร้อยนกเขา (๑). |
ทองลิน | ดู สร้อยนกเขา ๑. |
ผลัวะ | เสียงดังอย่างเอาดินปาพุ่มไม้หรืออย่างเสียงนกเขาที่บินออกจากพุ่มไม้. |
ผะออบ | น. ชื่อโรคนกเขามีอาการนํ้าออกทางปากทางจมูก. |
พิราบ | น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Columbidae รูปร่างคล้ายนกเขาแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ตัวสีเทาอมฟ้า อาศัยอยู่เป็นฝูง ทำรังแบบง่าย ๆ ตามซอกอาคารด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก หากินบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช ในประเทศไทยที่เรียกพิราบ มี ๓ ชนิด ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia Gmelin ชนิดนี้ที่พบตามป่า เรียกพิราบป่า, อีก ๒ ชนิด คือ พิราบป่าอกลาย ( C. hodgsonii Vigors) และพิราบเขาสูง ( C. pulchricollis Blyth). |
เพนียด | (พะเนียด) น. กรงต่อนกเขา |
สร้อยปากหมู | ดู สร้อยนกเขา (๒). |
สามเส้า | ก. อาการที่นกเขาขันคูเป็น ๓ จังหวะ, สามกุก ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓) |
หลิ่ว | ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว. |
เหิน | ก. บินอยู่ในระยะสูง เช่น หงส์เหิน นกเขาเหิน, ร่อนอยู่ในระยะสูง เช่น นกนางแอ่นเหินลม. |
อับ ๒ | อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน |