เป็น ๒ | ก. สามารถ, ได้, เช่น เต้นเป็น รำเป็น. |
เป็น ๒ | ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น ปลาเป็น |
เป็น ๒ | ประหนึ่ง เช่น ทำเป็นบ้า. |
กงพัด ๒ | น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บนหมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด. |
กรมการ | (กฺรมมะ-) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. |
กรมการในทำเนียบ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข. |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
กรีฑา ๑ | (กฺรีทา) น. กีฬาอย่างหนึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทลู่ เช่น การวิ่งระยะทางต่าง ๆ วิ่งผลัด วิ่งข้างรั้ว ซึ่งในการแข่งขันต้องมีทางหรือแนวทางวิ่ง อีกประเภทหนึ่ง คือ ประเภทลาน เช่น กระโดดสูง พุ่งแหลน ทุ่มน้ำหนัก ซึ่งต้องมีสถานที่กว้างเพื่อการแข่งขัน |
กรีดไพ่ | ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือระไพ่แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันอย่างรวดเร็วจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน. |
กล้วย ๑ | (กฺล้วย) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายปีในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จำพวก จำพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยนํ้าว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก, จำพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา. |
กว่าง | (กฺว่าง) น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ตัวผู้มีเขาที่หลังอก ตัวเมียไม่มีเขา เช่น ชนิด Xylotrupes gideon Linn. ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้งหรือกว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิหรือกว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่หรือกว่างอีลุ่ม. |
กะรัต ๒ | (-หฺรัด) น. ปริมาณทองคำแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกำหนดทองคำและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคำ ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม. |
กาบคู่ | น. ชื่อเรียกหอยชั้น Bivalvia เปลือกหุ้มตัวมีลักษณะเป็น ๒ กาบ ปิดและเปิดได้. |
เกทับ | ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหนือกว่าคู่แข่งขันเพื่อแสดงว่าตนมีสิ่งที่ดีกว่า เช่น พอมีคนวางเงินประมูลสร้อยเพชร ๑๐๐, ๐๐๐ บาท เขาก็เกทับเป็น ๒๐๐, ๐๐๐ บาท จนอีกฝ่ายยอมถอย. |
ข่า ๑ | น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ−เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย. |
คาร์โบไฮเดรต | (-เดฺรด) น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาลและพอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สำคัญมากประเภทหนึ่ง. |
คู่ | ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะเป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง |
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทดลองงานทางด้านการเกษตร ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติตามหรือปรับปรุงแก้ไขในการประกอบอาชีพของราษฎร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ โครงการไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง และโครงการกึ่งธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตและแปรรูปนมสดครบวงจร โรงสีข้าว. |
ง่าม ๑ | น. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคำที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม. |
ง่ามถ่อ | น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่างโค้งคล้ายเขาควายมีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลงในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ. |
จำหล่อ | น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, จังหล่อ จั้นหล่อ จำหลอ หรือ ผนบบ้านหล่อ ก็เรียก. |
ฉนวน ๓ | (ฉะหฺนวน) น. ดินแดนที่มีทางออกทะเลหรือที่ทำให้ดินแดนถูกแยกออกเป็น ๒ ฟาก. |
ช่วงชัย | น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่นสงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นม้วนเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาใส่กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ถูกปาเป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลัง. |
ชักเย่อ | (ชักกะ-) น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตน ถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะ ตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. |
ชักสองแถว | ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดำขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว). |
ชั้นเดียว | น. ชื่ออัตราจังหวะหน้าทับและทำนองเพลงประเภทหนึ่ง มีความยาวเป็น ๒ เท่าของอัตราครึ่งชั้น. |
ฌาน | (ชาน) น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์ หรือการเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รูปฌาน กับ อรูปฌาน. |
ดั้ง ๑ | เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน. |
ดัดแปลง | (-แปฺลง) ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น. |
ดำพอง, ดำโพง | น. กะพอง, ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือหน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดำโพง (ม. คำหลวง มหาราช). |
ตกลูก | ก. ออกลูก (ใช้แก่สัตว์) เช่น ม้าขุนสุวรรณพินิจจัย ตกลูกศีรษะเดียว ตัวเป็น ๒ ตัว ๘ เท้า เดินชิงศีรษะกัน ไก่พระศรีมโหสธ ฟักฟองตกลูกตัวเดียว ๒ ศีรษะ (พงศ. จันทนุมาศ). |
ตะกวด | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis (Gray) ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิดย่อย V. b. nebulosus (Gray) ในวงศ์ Varanidae จมูกอยู่ใกล้ตา ปากและคอค่อนข้างยาว ลิ้นแยกเป็น ๒ แฉกยาว ลำตัวกลมยาว สีนํ้าตาลเหลือง หางยาว ซ่อนตัวตามโพรงไม้ในป่า มักหากินตามพื้นดิน ไม่ค่อยลงน้ำ ปีนต้นไม้ได้ดี กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ ซากสัตว์ และพืช, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก. |
ตาริ้ว | น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๕ แถวเป็นต้น ขนานกันอย่างแถวกระบวนแห่ เช่น ตั้งกระบวนเป็นตาริ้ว. |
ตี่ ๑ | น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจำกัดเขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่งเขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหาโอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง ก็เรียก. |
เต่าหับ ๑ | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cuora amboinensis (Daudin) ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีลายสีเหลืองตามขอบหัวด้านบน ที่พบในประเทศไทยกระดองหลังโค้งนูนมาก ที่พบในต่างประเทศกระดองหลังแบน กระดองท้องเป็นบานพับแบ่งออกเป็น ๒ ตอน และสามารถหับปิดหัว ขา และหางได้สนิท จึงเรียกว่า เต่าหับ อาศัยอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าอยู่ในน้ำ. |
แตระ | ประดิษฐ์พวงดอกไม้จากดอกจำปา โดยกรีดปลายกลีบแต่ละกลีบให้เป็นช่อง เด็ดกลีบจากดอกอื่นมาผ่าเป็น ๒ ขา สอดเข้าในช่องปลายกลีบดอกแรก ทำเป็นพวงอย่างอุบะ เช่น จงบอกแก่อะหนะบุษบา เร่งแตระอุบะมาให้จงได้ (อิเหนา). |
แถว | น. แถบ, บริเวณ, เช่น คนแถวอยุธยา แถวนี้มีอาหารอร่อย, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร ต้นไม้ขึ้นเป็นแถว, ลักษณนามใช้เรียกคนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น นักเรียนเข้าแถวเป็น ๒ แถว. |
ทวีธาภิเษก | น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ ว่า เหรียญทวีธาภิเษก. |
เทวภาวะ | น. ความเป็นคู่, ความเป็น ๒, สภาพที่เป็น ๒ คือ ความลังเลสงสัย, เขียนเป็น เทวภาพ ก็มี เช่น ทวีพิชทวีธารทรง สุรยเสพย ไส้แฮ เทวภาพเทวหกพ้น แว่นไว (ยวนพ่าย). |
ธงบรมราชวงศ์น้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงมหาราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงเยาวราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
นม ๑ | น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อมสำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาดเล็กและไม่มีน้ำนม นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้าเช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลายเต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว |
บ้าง | ว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า บางจำนวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของจำนวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทำก็ทำบ้าง. |
บาสเกตบอล | น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๕ คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องพยายามโยนลูกบอลลงในห่วงตาข่ายของฝ่ายตรงข้าม นับคะแนนตามจำนวนครั้งที่โยนลูกลงห่วงได้. |
ปะกำ | น. ไม้ที่ทำเป็น ๒ ขาสำหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง. |
ปะไร | ตัดจากคำว่า เป็นไร. (ดู เป็นไร ที่ เป็น ๒). |
ปากกบ | น. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่งมุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง. |
ปี่ไฉน | (-ฉะไหฺน) น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ทำด้วยไม้หรืองาแบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดจากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด. |
ปี่มอญ | น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง ใช้เป่าในวงปี่พาทย์มอญ มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็น ๒ ท่อน ตัวปี่หรือเลาปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดอยู่ในลำโพงทำด้วยโลหะ ทรงปากบานออกคล้ายลำโพง แยกเป็นคนละส่วนกับเลาปี่ จึงมีเชือกผูกโยงท่อนบนลำโพงกับเลาปี่ท่อนบนไว้ด้วยกัน. |