กง ๒ | น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วง ว่า เป็นวงเป็นกง |
กช, กช- | (กด, กดชะ-) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล (อิเหนาคำฉันท์). |
กดขี่ | ก. ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้บังคับเอา, ทำอำนาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง. |
กระจาย | แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. |
กระจุย | ว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก เป็น . |
กระเจิง | ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง. |
กระช้อย | ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคำ กระชด เป็น กระชดกระช้อย. |
กระชั้น | ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้นเข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น. |
กระชาก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระชากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระชาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระชากเสียง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก. |
กระซาบ | ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคำเกลี้ยง (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ. |
กระซิบ | ก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ. |
กระเซอ | ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ. |
กระฎุมพี | น. คนมั่งมี, พ่อเรือน, มักนิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี หมายความว่า ชนชั้นต่ำ. |
กระดิบ, กระดิบ ๆ | ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายนํ้ากระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ. |
กระเดื่อง ๒ | แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง. |
กระทั่ง ๑ | ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ (คาวี), ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง หมายถึง แตะต้อง, ทำให้กระเทือนถึง, ทำให้กระเทือนใจ |
กระเท่เร่ | ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลำเอียงมาก. |
กระเทือน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. |
กระบวน | วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, ใช้เข้าคู่กับคำ กระบิด เป็น กระบิดกระบวน. |
กระป่ำ ๑ | ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ (ม. คำหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคำ กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ. |
กระลอก | (-หฺลอก) ว. มีประกาย, เป็นประกาย, เช่น เนมินท์พิศทรงเหมือนกงรถ จอมบรรพตเลิศล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพุ่งพรายถึงเมฆา เล่ห์วลาหกทิพอันพรอยพรำ (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคำ กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก. |
กระวาย | ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย (อุเทน), ใช้เข้าคู่กับคำ กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย. |
กระเสียร | (-เสียน) ว. คับแคบ, ลำบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. |
กระแสะ | ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), ใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ. |
กระหมิบ | ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ. |
กระหยิ่ม | ก. กริ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น กระหยิ่มยิ้มย่อง. |
กระแอม ๑, กระแอมกระไอ | ก. ทำเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระไอ เป็น กระแอมกระไอ. |
กระไอ ๒ | ก. ไอ, ใช้เข้าคู่กับคำ กระอัก หรือ กระแอม เป็น กระแอมกระไอ หรือ กระไอกระแอม. |
กราน ๒ | (กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี. |
กลางค่ำ | น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคำ กลางคืน เป็น กลางคํ่ากลางคืน. (ดู คํ่า). |
กลาด | (กฺลาด) ว. ดาษดื่น, ใช้เข้าคู่กับคำ เกลื่อน เป็น เกลื่อนกลาด หรือ กลาดเกลื่อน. |
กลีบเดียวกระเทียมโทน | น. ตัวคนเดียวแต่เก่งกล้าสามารถ, มักใช้เข้าคู่กับ หัวเดียวกระเทียมลีบ เป็น หัวเดียวกระเทียมลีบ กลีบเดียวกระเทียมโทน. |
กลู่ | (กฺลู่) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคำ กลาด เป็น กลู่กลาด เช่น ดอกไม้อันบานโรยโกยกลู่กลาดคือลาญใน (ม. คำหลวง จุลพน). |
กวัด | (กฺวัด) ก. จับด้ามวัตถุแล้วปัดไปมา, ใช้เข้าคู่กับคำ แกว่ง เป็น กวัดแกว่ง หรือ แกว่งกวัด หรือใช้เข้าคู่กับคำ ไกว เป็น กวัดไกว. |
กว่า | (กฺว่า) สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กว้าน ๑ | (กฺว้าน) น. ตึกแถวชั้นเดียว ส่วนใหญ่เป็นร้านค้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตึก เป็น ตึกกว้าน เช่น เรือนริมรัถยาฝากระดาน ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง (อิเหนา). |
กัป | (กับ) น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์). |
กัปปีย์ | (กับปี) น. กับข้าว (ใช้เฉพาะภิกษุสามเณร), มักใช้เข้าคู่กับคำ จังหัน ว่า กัปปีย์จังหัน. |
กัลป-, กัลป์ | (กันละปะ-, กัน) น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑, ๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. |
กาย, กาย- | (กายยะ-) น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. |
ก่าย | ก. พาด, พาดไขว้กัน, เช่น เอาฟืนก่ายกัน, พาดเกยอยู่หรือค้างอยู่ เช่น เอามือก่ายหน้าผาก นอนเอาขาก่ายกัน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เกย เป็น ก่ายเกย หรือ เกยก่าย. |
ก่ายกอง | ว. มักใช้เข้าคู่กับคำ มากมาย เป็น มากมายก่ายกอง หมายความว่า มากเกิน, ล้นหลาม. |
การ ๑ | น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, มักใช้เข้าคู่กับคำ งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทำกริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน. |
การบ้าน | น. งานที่ครูกำหนดให้นักเรียนไปทำที่บ้าน, งานที่เกี่ยวกับบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น การบ้านการเมือง การบ้านการเรือน. |
กินบวช | ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคำ ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกำหนดของการถือพรตในลัทธิศาสนา. |
กินแหนง | ก. สงสัย, ระแวง, ไม่แน่ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แคลงใจ เป็น กินแหนงแคลงใจ. |
กึกกือ | ว. ใช้เข้าคู่กับคำ พิลึก ว่า พิลึกกึกกือ หมายความว่า แปลกประหลาดมาก, ผิดปรกติมาก, ชอบกลมาก. |
กุย ๓ | น. หมัด, กำปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลูก ว่า ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี (ขุนช้างขุนแผน). |
-เกงกอย | ใช้เข้าคู่กับคำ เขย่ง เป็น เขย่งเกงกอย. |
เกเร | ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาล เป็น พาลเกเร. |