วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ | ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม. |
กระดูกไก่ดำ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ได้แก่ชนิด J. gendarussa Burm. f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดำ ใช้ทำยาได้, กระดูกดำ เฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก และชนิด J. grossa C. B. Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว. |
กระทิง ๑ | น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus Smith ในวงศ์ Bovidae ขนสีดำหรือดำแกมน้ำตาลแซมด้วยขนยาวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นบริเวณหน้าผากมีขนสีเทา และครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีขาวอมเหลือง ขนเหล่านี้อาจเห็นเป็นสีเหลืองทอง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา. |
กระพี้นางนวล | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia canaGraham ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก. |
กะตังใบ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล Leea วงศ์ Leeaceae คือ ชนิด L. indica (Burm. f.) Merr. ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม ดอกเล็ก สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อตามยอด ผลสีเขียว ใบใช้ทำยาได้, กะดังบาย ก็เรียก |
กะพง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่. |
กะเพรา | (-เพฺรา) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทำยาได้. |
กะเลียว | น. สีเขียวอมดำ, เรียกม้าที่มีสีเช่นนั้น ว่า ม้ากะเลียว หรือ ม้าสีกะเลียว เช่น ข้าเห็นพาชีสีกะเลียว มาเที่ยวกินถั่วริมรั้วไร่ (สังข์ทอง). |
กำแพงเจ็ดชั้น ๒ | ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอกสีเขียวอมเหลือง ใช้ทำยาได้, ตะลุ่มนก หรือ นํ้านอง ก็เรียก. |
กำลังช้างเผือก | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดย่อยของชนิด Hiptage bengalensis (L.) Kurz ในวงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิดย่อยแรก H. bengalensis (L.) Kurz subsp. bengalensisเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก, และชนิดย่อยที่ ๒ H. bengalensis (L.) Kurz subsp. candicans (Hook. f.) Sirirugsa เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก. |
กุลาดำ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon Fabricius ในวงศ์ Penaeidae ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ตัวแบนข้าง สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำและสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว. |
แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) . |
แก้ว ๓ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Papilionidae และ Sphingidae ลำตัวอ่อนนุ่ม ยาว ๕-๖ เซนติเมตร ผิวลำตัวเรียบเป็นมัน มีสีต่าง ๆ กัน บางชนิดสีเขียว เขียวอมเหลือง และบางชนิดมีลายเป็นดวง ๆ บางชนิดปล่อยสารใสคล้ายแก้วเมื่อแห้งจะเห็นเป็นทาง เช่น หนอนแก้วส้ม ชนิด Papilio demoleus malayanusWallace, P. polytes romulus Cramer ในวงศ์ Papilionidae หนอนยี่โถ ชนิด Dephnis nerii (Linn.) ในวงศ์ Sphingidae. |
โกโก้ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Theobroma cacao L. ในวงศ์ Sterculiaceae ดอกเล็ก สีขาวอมเหลืองหรือขาวอมชมพู ออกตามกิ่งและลำต้น ผลคล้ายมะละกอขนาดเล็ก ผิวแข็งขรุขระ สีนํ้าตาล เมล็ดแก่คั่วแล้วบดเป็นผง ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มและทำขนมได้. |
ขม ๓ | น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Viviparidae เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกัน ยอดแหลม สีเขียวหรือเขียวอมดำ ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Filopaludina sumatrensis (Dunker), F. doliaris (Gould). |
ขมิ้นขาว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma mangga Valeton et Zijp ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีขาวอมเหลืองอ่อน ใช้เป็นผัก. |
ขวาน ๒ | (ขฺวาน) น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Corbiculidae รูปเปลือกคล้ายสามเหลี่ยม มีสันและร่องในแนวขนานขอบเปลือก สีเขียวเข้ม ม่วงอมดำ เขียวอมเหลือง เช่น ชนิด Corbicula javanica (Mousson), ทราย ก็เรียก. |
ขี้กาแดง | น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Trichosanthes tricuspidata Lour. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยกเป็น ๓ แฉก ใบใหญ่มน บางทีเป็น ๕ เหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู ผลกลมใหญ่ขนาดผลส้ม สุกสีแดง เมล็ดเป็นพิษเบื่อเมา, กระดึงช้างเผือก ก็เรียก. |
เขือง | น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Smilax วงศ์ Smilacaceae เถามีหนาม เหง้าแข็ง เช่น เขืองสร้อย ( S. davidiana A. DC.) ดอกสีขาวอมเขียว ผลกลม สุกสีแดง. |
แขกเต้า | น. ชื่อนกปากขอขนาดกลางชนิด Psittacula alexandri (Linn.) ในวงศ์ Psittacidae ตาสีดำขอบเหลือง หัวสีเทา หน้าผากสีเทาอมเขียวมีเส้นสีดำลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ขนลำตัวสีเขียวอมเหลือง ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดำ มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ เมล็ดพืช ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้. |
แข้งไก่ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก. |
แขวก | (แขฺวก) น. ชื่อนกยางขนาดกลางชนิด Nycticorax nycticorax (Linn.) ในวงศ์ Ardeidae หัวค่อนข้างโต คอสั้น ท้ายทอยมีขนหงอนคล้ายผมเปีย ๒-๓ เส้น ขนลำตัวด้านบนสีเขียวอมเทา ขนลำตัวด้านล่างสีขาว ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น อยู่เป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์ขนาดเล็ก. |
ไข่มุก | น. วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปมีสีขาว ที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
ควาย | (คฺวาย) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Bubalus bubalis Linn. ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่กีบคู่ ลำตัวสีดำหรือเทา เขาโค้งยาว ไม่ผลัดเขา ที่ใต้คางและหน้าอกมีขนขาวเป็นรูปง่าม ครึ่งล่างของขาทั้งสี่มีขนสีขาวหรือขาวอมเทา |
แคฝอย | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Stereospermum วงศ์ Bignoniaceae เช่น ชนิด S. fimbriatum (Wall. ex G. Don) A. DC. กลีบดอกรูปแตร สีขาวอมชมพูแกมม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกรุ่ยเป็นริ้วยาว ๆ ไม่เป็นระเบียบ. |
งวง ๒ | น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo Linn. ในวงศ์ Meleagrididae ปากสั้นเรียวบาง หัวสีฟ้า หัวและคอเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ ตัวผู้บริเวณหน้าผากเหนือจะงอยปากบนมีหนังสีแดงอมส้มห้อยยาวคล้ายงวงช้าง ยืดหดได้ ขนลำตัวสีเขียวอมน้ำเงินแซมด้วยสีเหลืองทอง ตัวเมียหนังที่ห้อยอยู่บริเวณหน้าผากเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ ขนลำตัวสีน้ำตาลเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา กินเมล็ดพืช ใบไม้ และสัตว์เล็ก ๆ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ. |
จงอาง | น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah (Cantor) ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษรุนแรงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร หัวโต เกล็ดบนหัวใหญ่ สามารถยกหัวและลำตัวท่อนบนตั้งขึ้นได้สูงและแผ่บริเวณคอออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย แต่ไม่แผ่เป็นแผ่นกว้างเท่างูเห่า ขณะแผ่แม่เบี้ยจะเห็นลายขีดบั้งที่ด้านหลังคอ ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก. |
ชะคราม | (-คฺราม) น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Suaeda maritima (L.) Dumort. ในวงศ์ Chenopodiaceae ขึ้นตามดินเลนแข็งใกล้ทะเล กิ่งก้านและใบพองกลมปลายแหลมสีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู มีนวล กินได้, ชักคราม ก็เรียก. |
ซ้องแมว | น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Gmelina philippensisCham. ในวงศ์ Labiatae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อห้อย มีใบประดับสีขาวอมเขียวตลอดช่อ ราก ใบ และผลใช้ทำยา ผลเชื่อมกินได้, ช้องแมว ซองแมว หรือ ข้าวจี่ ก็เรียก. |
ดอกหมาก ๑ | ขนสร้อยคอไก่หรือตามตัวไก่ที่เป็นสีขาวอมเหลือง. |
ตะคร้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Schleichera oleosa (Lour.) Oken ในวงศ์ Sapindaceae ผลรสเปรี้ยวอมหวาน, สะคร้อ ก็เรียก. |
ติ่งตั่ง | น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Getonia floribunda (Roxb.) Lam. ในวงศ์ Combretaceae ดอกสีเขียวอมขาว ออกดอกเวลาผลัดใบ. |
ตีนตุ๊กแก | ชื่อเห็ดชนิด Schizophyllum communeFr. ในวงศ์ Schizophyllaceae ขึ้นตามเปลือกไม้ ดอกเห็ดรูปพัดขอบจักม้วนลง สีขาวอมเทาอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเหนียว กินได้, เห็ดข้าวตอก ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก เห็ดแครง. |
ท้องพลุ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus Valenciennes ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้นและต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลำตัวสีเขียวอมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก |
นมชะนี | น. ชื่อไม้เถาชนิด Artabotrys burmanicus A. DC. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเขียวอมขาว. |
นางรม ๒ | น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus ostreatus (Fr.) Quél. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ดสีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่ม กินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม. |
น้ำดอกไม้ ๓ | น. ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. |
น้ำดับไฟ | น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Gouania วงศ์ Rhamnaceae คือ ชนิด G. javanica Miq. ใบมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกสีเขียวอ่อน และชนิด G. leptostachya DC. ใบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียว, พวงจะริตา ก็เรียก. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
บิสมัท | น. ธาตุลำดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓ °ซ. เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลายที่อุณหภูมิตํ่า. |
ใบนาก | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Pseuderanthemum atropurpureum Radlk. ในวงศ์ Acanthaceae กิ่งสีม่วง พื้นใบสีเขียวอมม่วง |
ใบนาก | ชื่อเรียกใบเงินชนิด Graptophyllum pictum (L.) Griff. ที่กิ่งและพื้นใบสีเขียวอมม่วง. |
ประคำไก่ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Drypetes roxburghii (Wall.) ในวงศ์ Euphorbiaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา ใช้ทำยาได้, มะคำไก่ ก็เรียก. |
ปลิง ๒ | น. ชื่องูนํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Enhydris plumbea (Boie) ในวงศ์ Colubridae ตัวยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร หัวมน ลำตัวสีเขียวอมเทา ท้องขาว สามารถดีดตัว แทนการเลื้อยไปได้ในระยะสั้น ๆ มีพิษอ่อนมาก. |
พยับเมฆ ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็กสีขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อยาว เกสรเพศผู้ยาว ใบใช้ทำยาได้, หญ้าหนวดแมว ก็เรียก. |
พระจันทร์ครึ่งซีก ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lobelia chinensis Lour. ในวงศ์ Campanulaceae ดอกสีขาวอมชมพูหรือม่วง ใช้ทำยาได้. |
พังกา ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Trimeresurus purpureomaculatus (Gray) ในวงศ์ Viperidae ยาวประมาณ ๑ เมตร ตัวสีเขียวอมเหลือง มีรอยแต้มสีม่วงเข้มตลอดทั้งตัว อาศัยตามป่าโกงกาง มักพบอยู่ตามต้นไม้เตี้ย ๆ กินกบ เขียด กิ่งก่า พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีพิษรุนแรง. |
มะดูก | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Beilschmiedia fagifolia Nees ในวงศ์ Lauraceae ดอกสีขาวอมเขียว อับเรณูสีแดง, ฝีหมอบ ก็เรียก. |
มะพูด ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz ในวงศ์ Guttiferae ใบใหญ่หนาเป็นมัน ผลกลมเป็นพู ๆ รสเปรี้ยวอมหวาน. |
เลียงมัน | น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในวงศ์ Tiliaceae คือ ชนิด Berrya cordifolia (Willd.) Burret ใบป้อม ดอกสีขาวอมเหลือง ผลมีปีกตามแนวระนาบ ๓ คู่ และชนิด B. mollis Wall. ex Kurz ใบมีขน, เลียง ก็เรียก. |