กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
กะทุน | น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัยซึ่งมีลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัด เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
ขยุย ๒ | (ขะหฺยุย) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Akysis macronemus (Bleeker) ในวงศ์ Akysidae รูปร่างคล้ายปลาแขยง ยาวไม่เกิน ๔ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวด, สามเขี้ยว ก็เรียก. |
แขยง ๑ | (ขะแหฺยง) น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน ( Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [ Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan) ] แขยงธงหรือแขยงหมู ( M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู ( Bagrichthys obscures Bleeker). |
คราว ๒ | (คฺราว) ว. เรียกแมวตัวผู้ที่แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมีหนวดยาว ว่า แมวคราว. |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
เคย ๑, เคอย | (เคย) น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ใน ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดำ [ Mesopodopsis orientalis (Tattersall) ] อันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus Nobill ) อันดับ Decapoda ขนาดยาวไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลำตัวแบนข้าง เปลือกบาง ใส เนื้อยุ่ย เหมาะสำหรับใช้หมักเกลือทำกะปิและน้ำเคย. |
เคา | น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวดเพียงหลังเคา (ม. คำหลวง กุมาร). |
เฉาฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สำคัญคือ ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลำตัวสีเงิน อาศัยหากินพืชนํ้าอยู่ใกล้ผิวนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร. |
ชิงฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mylopharyngodon aethiops (Basilewski) ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ทั้งลำตัวและครีบสีคล้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร. |
ซ่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ดอกไม้ทะเล | น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในอันดับ Actininaria ลำตัวอ่อนนุ่ม รูปทรงกระบอก ยืดหดได้ ด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยึด ด้านตรงข้ามเป็นช่องปาก มีหนวดมาก เมื่อยืดตัวออกคล้ายดอกไม้บาน เมื่อหดตัว เรียก สะดือทะเล, ดากทะเล หรือ เห็ดหลุบ ก็เรียก. |
ดัก ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร. |
ตะพาก | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก. |
ตะเพียน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวแบนข้าง มีทั้งลำตัวสั้นกว้าง และลำตัวเรียวยาว เกล็ดมีสีขาวเงินหรือเหลืองทอง ขอบเรียบ มักมีหนวดสั้น ๒-๔ เส้น ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร ชนิดที่มีลำตัวสั้นกว้าง เช่น ตะเพียนขาว [ Barbonymus gonionotus (Bleeker) ] ตะเพียนทอง [ B. altus (Günther) ] ตะเพียนหางแดงหรือกระแห [ B. schwanenfeldi (Bleeker) ] ส่วนชนิดที่มีลำตัวเรียวยาว เช่น ตะเพียนทราย [ Puntius leiacanthus (Bleeker) ]. |
ตุ่ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย. |
ทูกัง | น. ชื่อปลากดทะเลชนิด Arius leiotetocephalus Bleeker ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก. |
นวลจันทร์ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cirrhinus microlepis Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัยตามลำนํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, นวลจันทร์น้ำจืด ก็เรียก, อีสานเรียก โพง, เขมรเรียก พรวน. |
น้ำเงิน ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) หรือ Micronema apogon (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก. |
น้ำผึ้ง ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymonieri (Tirant) และชนิด G. pennocki (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
บ้า ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Leptobarbus hoeveni (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภคทำให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก. |
บึก | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasianodon gigas Chevey ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดสั้นมากข้างละ ๑ เส้นที่มุมปาก ไม่มีฟัน ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็ก ลำตัวด้านหลังสีเทาอมนํ้าตาลแดง ด้านท้องสีขาว มีในลำแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร. |
ปลาแดง | น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด พวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus bleekeri (Günther)หรือ Micronema bleekeri (Günther) ปากเชิดขึ้น มีหนวด ๒ คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือก หนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมากคล้ายปลาน้ำเงิน แต่มีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบมีมุมแหลมคล้ายหัวลูกศร ลำตัวมีสีเงินอมแดงหรือชมพู ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นใสไม่มีสี อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น, เนื้ออ่อน นาง ชะโอน หรือ เกด ก็เรียก. |
แปบ ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Paralaubuca และ Oxygaster วงศ์ Cyprinidae ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องคม ไม่มีหนวด ขนาดยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด P. riveroi (Fowler), แปบขาว [ O. oxygastroides (Bleeker) ] ทั้งยังหมายถึงปลาท้องพลุ [ Cultrops siamensis (Hora) ] ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกันด้วย. |
ผีเสื้อ ๑ | น. ชื่อแมลงอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน มีหนวดแบบเส้นด้าย ปลายหนวดเป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางวัน และชนิดหากินในเวลากลางคืน หนวดมีหลายแบบ ปลายหนวดไม่เป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก กะเบ้อ, อีสานเรียก กะเบ้อ กะเบี้ย ก่ำบี้ หรือ กะบี้. |
มังกง | น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio (Hamilton) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลำตัวและครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดำ มีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ในนํ้ากร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก. |
แมง | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดในชั้น Arachnida เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวเชื่อมอก และส่วนท้อง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง. |
แมงมุม | น. ชื่อสัตว์พวกแมงในอันดับ Araneae ปากมีรยางค์คู่หน้ารูปร่างคล้ายปากคีบและมีรยางค์ปากรูปทรงคล้ายขา ๑ คู่ ไม่มีหนวด ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด มีขา ๘ ขา ทุกชนิดมีขาที่สามารถชักใยจากรูเปิดตรงส่วนท้อง ส่วนใหญ่กินแมลง มีทั้งชนิดชักใยดักสัตว์ เช่น แมงมุมขี้เถ้า (Pholcusspp.) ในวงศ์ Pholcidae และที่กระโดดจับสัตว์ เช่น แมงมุมสุนัขป่า (Pardosaspp.) ในวงศ์ Lycosidae. |
แมลง | (มะแลง) น. ชื่อสัตว์ขาปล้องในชั้น Hexapoda (Inseeta) มีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ ระยะโตเป็นตัวเต็มวัยร่างกายแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขนาดแตกต่างกันมาก มีขา ๖ ขา มีหนวดหนึ่งคู่ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งส่วนใหญ่มี ๒ คู่ ยกเว้นบางพวกมี ๑ คู่ หรือไม่มี เป็นสัตว์พวกที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบได้ทั่วไป. |
แมลงช้าง | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Myrmeleontidae มีปีก ๒ คู่ใสคล้ายแมลงปอ มีหนวดยาว ๑ คู่ ตัวอ่อนมีขากรรไกรหน้าเรียก เขี้ยว ยาวโค้งคล้ายงาช้าง อาศัยตามพื้นดินที่เป็นฝุ่นหรือทรายที่แห้งโดยฝังตัวอยู่ในหลุมซึ่งขุดเป็นรูปกรวยเพื่อล่อให้มดหรือสัตว์ขนาดเล็กตกลงไปแล้วจับกิน เช่น แมลงช้างในสกุล Myrmeleon และในสกุล Palpares วงศ์ Mymeleontidae, ตุ้ม หรือ ตุ๊ดตู่ ก็เรียก. |
แมวคราว | (-คฺราว) น. แมวตัวผู้ที่แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมีหนวดยาว. |
แมวน้ำ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Phocidae ไม่มีใบหู และในวงศ์ Otaliidae มีใบหู ทั้ง ๒ วงศ์ รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลำตัว ใช้ว่ายน้ำและคืบคลานหรือกลิ้งตัวไปตามพื้นได้ดี หางเป็นติ่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ชนิดที่แพร่หลาย คือ ชนิด Phoca vitulina (Linn.). |
ยี่สก | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. |
ลิ่นฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo jordani Oshima ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกันในชื่อ Cirrhinus molitorella (Valenciennes) ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก. |
สวาย ๒ | (สะหฺวาย) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius hypophthalmusSauvage ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ ๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดสีดำบนลำตัวเหนือครีบอกหลังแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๑.๖ เมตร. |
สังกะวาด | น. ชื่อปลาน้ำจืดหลายชนิด โดยเฉพาะชนิด Laides hexanema (Bleeker) และ Helicophagus waandersiiBleeker อีกทั้งเป็นชื่อที่ยังใช้เรียกปลาสวาย หรือ ยอน ที่มีขนาดเล็กหรือยังมีขนาดเล็กบางชนิดในสกุล Pangasiusซึ่งอยู่ในวงศ์ Schilbeidae เดียวกันและมีรูปร่างคล้ายกัน คือ มีลำตัวยาวเรียว แบนข้าง และมีมีหนวด ๒-๔ คู่ มีพฤติกรรมในการกินสิ่งเน่าเปื่อย ในฤดูร้อนช่วงสืบพันธุ์จะรวมฝูงกันในแม่น้ำ จับคู่รัดกัน จนปลาเกิดมีรอยช้ำสีแดงหรือชมพูเป็นทางยาวอยู่ทั้ง ๒ ข้างลำตัว, สังคะวาด สังกะแวง หรือ ยอน ก็เรียก. |
สายยู ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Platytropius siamensis (Sauvage) ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวดลักษณะแบนบิดและยาวมาก ๔ คู่ อยู่ที่จมูก ขากรรไกรบน ขากรรไกรล่างและคาง, เกด ก็เรียก. |
สิงโตทะเล | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Otariidae มีใบหู มีหนวดเป็นเส้นหนาอยู่เหนือริมฝีปากบน ส่วนที่อยู่ตรงกลางสั้น สองข้างค่อนข้างยาว มีเขี้ยวยาวโค้งเล็กน้อยปลายแหลม ลำคอยาว ขาไม่มีขนปกคลุม นิ้วไม่มีเล็บ ขาคู่หน้ายาวแบนคล้ายใบพายและโบกไปมาช่วยในการยันตัวและว่ายน้ำ ขาคู่หลังสั้นตีนแบนช่วยในการเคลื่อนตัว กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในเขตหนาว อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล มีหลายชนิด เช่น ชนิด Zalophus californianus (Lesson), Otaria byronia (Peters). |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |
หมู ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลำตัวยาวป้อม แบนข้าง คอดหางกว้างมาก มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด บริเวณใต้ตามีเงี่ยงเป็นง่ามกระดูกกางและพับซ่อนตามยาวในร่องเนื้อได้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด B. beauforti Smith, B. helodesSauvage, B. modesta Bleeker พบทั่วไปและชุกชุมในฤดูฝน. |
หย็อมแหย็ม | ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า. |
เหาน้ำ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Isopoda ที่เป็นปรสิตของสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวยาวรีค่อนข้างแบน ที่สำคัญคือ มีหนวด ๒ คู่ และมีตาแบบไม่มีก้านตา ส่วนอกมี ๗ ปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์คล้ายขา ๑ คู่ ส่วนท้องมี ๖ ปล้อง มีรยางค์ว่ายน้ำ ๕ คู่ ลำตัวมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๕-๒๕ มิลลิเมตร และมีสีแตกต่างกัน เช่น นวล น้ำตาล ดำ ปากเป็นชนิดแทงดูด พบเกาะสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง ปู ที่พบในน้ำจืด เช่น ในสกุล Alitropus วงศ์ Aegidae, ในน้ำเค็ม เช่น ในสกุล Livonecaวงศ์ Cymothoidae. |
ไฮดรา | (-ดฺรา) น. ชื่อเรียกสัตว์นํ้าจืดไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Hydridae ลำตัวทรงกระบอกข้างในกลวง ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีเนื้อเยื่อ ๒ ชั้น ยืดหดได้ มีหนวด ๔–๑๒ เส้น เช่น สกุล Hydra. |