พายัพ | ว. ตะวันตกเฉียงเหนือ. |
กง ๓ | ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง. |
ก้นกบ | น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา. |
กบทูด | น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Rana blythii Boulenger ในวงศ์ Ranidae ปากค่อนข้างแหลมเมื่อเทียบกับชนิดอื่น กระดูกขากรรไกรบนยาวแหลมออกมาคล้ายเขี้ยว ขนาดลำตัวอาจยาวถึง ๓๐ เซนติเมตร อาศัยในป่าดงดิบชื้นตามลำธารบนภูเขา, พายัพเรียก เขียดแลว. |
กระจง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. |
กระเจา | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorusวงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม ( C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว ( C. olitorius L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ. |
กระเจี๊ยบเปรี้ยว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hibiscus sabdariffa L. ในวงศ์ Malvaceae เปลือกต้นมีปอเหนียวทนทาน ผลสีแดง กลีบเลี้ยงใช้ทำแยม, กระเจี๊ยบแดง ก็เรียก, พายัพเรียก เกงเขง หรือ เกงเคง. |
กระเจียว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง รูปคล้ายทรงกระบอก ดอกสีขาว อยู่ระหว่างกาบสีขาวปลายสีม่วง ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง. |
กระเฉด | น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Neptunia oleracea Lour. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นลอยอยู่ในนํ้า ลำต้นอ่อนอุ้มน้ำ มีปลอกเป็นปุยขาว ๆ เป็นทุ่น เรียกว่า นม ใบย่อยเล็กเมื่อถูกสัมผัสก็หุบราบไป ดอกสีเหลืองเล็กออกชิดกันเป็นช่อกลม ลำต้นและใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก ผักหนอง, คำสุภาพเรียกว่า ผักรู้นอน. |
กระชาย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบนํ้า ออกเป็นกระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร, พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน. |
กระเชา | น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบนบางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา หรือ กระจาว, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา. |
กระดอง | น. ส่วนแข็งที่หุ้มสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล, พายัพว่า ออง. |
กระด้าง ๑ | ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C. B. Clarke ex Hook. f. ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและมีขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลำต้นที่ง่ามใบ ตำราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กะด้าง. |
กระท้อน ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricumkoetjape (Burm. f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น. |
กระเทียม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม. |
กระบม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุด รูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก, อีสานและพายัพว่า กะบมหรือกะโบม. |
กระบองเพชร ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae ลำต้นสูง ๓-๕ เมตร ลำต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ. |
กระโบม ๒ | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุด รูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก, อีสานและพายัพว่า กะบมหรือกะโบม. |
กระพรวน | (-พฺรวน) น. โลหะทำเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกข้อเท้าเด็กหรือคอสัตว์เป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) หมากหิ่ง หรือ มะหิ่ง. |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กล้วยไม้ | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆ กัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง. |
กะแท่ง | น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ต้นเล็กราวเท่านิ้วมือ เวลาออกดอกไม่มีใบ ก้านช่อดอกอ่อน ๆ ใช้แกงได้, พายัพเรียก ดอกก้าน. |
กะปูด | น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Cuculidae ปากแหลมสั้นหนา ตาสีแดง ลำตัวเพรียว หัว คอ และลำตัวมีขนสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง หากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ในระยะสั้น ๆ ร้องเสียง “ปูด ๆ ” มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ [ Centropus sinensis (Stephens) ] กะปูดเล็ก [ C. bengalensis (Gmelin) ] และกะปูดนิ้วสั้น ( C. rectunguisStrickland), ปูด หรือ กระปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด. |
กะเปียด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Premna tomentosa Willd. ในวงศ์ Labiatae ลักษณะคล้ายต้นสัก แต่ใบเล็กกว่า รูปไข่หรือรี ปลายแหลมก้านยาว เนื้อไม้ละเอียด ใช้ทำประโยชน์ได้, พายัพเรียก สักขี้ไก่. |
กางเขน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ Copsychus saularis (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ C. malabaricus (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Samanea saman (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
กุบ | ชาวภาคพายัพบางถิ่นและพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ |
กุยช่าย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. |
แก้ว ๕ | (ถิ่น–พายัพ) ต้นพิกุล. (ดู พิกุล). |
ข่าต้น | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum ilicioides A. Chev. ในวงศ์ Lauraceae เปลือกและเนื้อไม้มีกลิ่นหอม, พายัพเรียก พลูต้น. |
ข้าวเบา | น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวหางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ. |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
เขี้ยว | น. ฟันแหลมคมสำหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่น–พายัพ) ฟัน. |
คงคาเดือด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็ก สีม่วงดำ หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทำยาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก. |
คนเมือง | น. คำเรียกคนพื้นเมืองถิ่นพายัพ. |
คนทา | (คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนามทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราวหัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทำยาได้ กิ่งใช้ทำไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้. |
คนทีสอ | (คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทำยาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย. |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
คราม ๓ | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทำสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี. |
คาง ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeckoides (DC.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบกระถิน เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่ แข็ง, พายัพเรียก กาง. |
คำเมือง | น. ภาษาถิ่นของคนในถิ่นพายัพของประเทศไทย. |
จิ้งโกร่ง | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus (Lichtenstein) เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จิโป่ม จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง. |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ Cosymbotus platyurus (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ Cyrtodactylus peguensis (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ Platyurus craspedotus (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
จิ้งเหลน | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [ Mabuya multifasciata (Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [ Lipinia vittigera (Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก จิ้งเหลนด้วง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [ Lygosoma quadrupes (Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ. |
จี | ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋. |
จุกโรหินี | (จุกกะ-) น. ชื่อไม้อิงอาศัย ๒ ชนิด ๒ สกุลในวงศ์ Asclepiadaceae เกาะเลื้อยบนต้นไม้ มีนํ้ายางขาว ชนิด Dischidia major (Vahl) Merr. ใบเป็นรูปถุง กลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ทำยาได้, พุงปลา หรือ พุงปลาช่อน ก็เรียก, พายัพเรียก กล้วยไม้, อีกชนิดหนึ่งคือ Streptocaulon kleinii Wight et Arn.ใบไม่เป็นถุง เป็นไม้เลื้อย, ขี้เดือน ก็เรียก. |
ช่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus Bloch ในวงศ์ Channidae ลำตัวทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนวเส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลำตัวเป็นสีค่อนข้างดำ ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดำพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดำ พบชุกชุมทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก หลิม, อีสานเรียก ค่อ. |
ชะโด | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมีจำนวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒-๙๕ เกล็ด เมื่อยังเล็กข้างลำตัวมีแถบสีดำเรียงคู่กันจากตาถึงครีบหาง ระหว่างแถบเป็นสีแดง แถบนี้แตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก, พายัพเรียก ก่อ. |
ชา ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. |