นิรา | ก. ไปจาก. |
นิรา | ว. ไม่มี. |
นิราพาธ | (-พาด) ว. ไม่มีความเจ็บไข้. |
นิรามัย | (-ไม) ว. ไม่มีโรค, สบาย, เป็นสุข. |
นิรามิษ | (-มิด) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน |
นิรามิษ | ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. |
นิราลัย | (-ไล) ว. ไม่มีที่อยู่, ไม่มีที่ห่วงใย. |
นิราศรพ | (-สบ) ว. ไม่มีเครื่องหมักหมมในสันดาน, หมดมลทิน, หมายถึง พระอรหันต์. |
นิราศรัย | (-ไส) ว. ไม่อยู่เป็นที่, ไม่ติดอยู่กับที่. |
นิรา | ดู นิร-. |
นิราพาธ | ดู นิร-. |
นิรามัย | ดู นิร-. |
นิรามิษ | ดู นิร-. |
นิราลัย | ดู นิร-. |
นิราศ ๑ | (-ราด) ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. |
นิราศ ๑ | (-ราด) น. เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. |
นิราศ ๒ | (-ราด) ก. ปราศจากความหวัง, ไม่มีความต้องการ, หมดอยาก, เฉยอยู่. |
นิราศรพ | ดู นิร-. |
นิราศรัย | ดู นิร-. |
กลอนตลาด | น. คำกลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน. |
ตะเข็บไต่ขอน | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคใช้คำลหุคำครุสลับกันไปตลอดการแต่ง เช่น ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ขนาง ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราสนิรา (จารึกวัดโพธิ์). |
ตายน้อย | ว. เกือบตาย เช่น สิ้นแผ่นดินปิ่นเกล้ามาเปล่าอก น้ำตาตกตายน้อยลงร้อยหน (นิราศพระประธมของสุนทรภู่). |
ตำแบ | น. ชื่อปลาแห้งชนิดหนึ่งที่ไม่กรีดเนื้อตามยาวเป็นริ้ว เช่น เขากินหมูหนูพัดจะกัดเกลือ ไม่ถ่อเรือแหหาปลาตำแบ (นิราศวัดเจ้าฟ้าของสุนทรภู่), จำแบ ก็ว่า. |
โนเน | ว. อ้อนแอ้น, แบบบาง, เช่น โนเนหนุ่มเหน้าบัวบาน (เสือโค; สุธน), เห็นเนื้อเรื่อโรงราง ห่มสองบ่าอ่าโนเน (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก). |
ร้าง | ก. จากไปชั่วคราว เช่น นิราศร้างห่างเหเสน่หา, แยกกันอยู่แต่ยังไม่หย่าขาดจากกัน เช่น ผัวเมียร้างกัน. |
สรเหนาะ, สระเหนาะ | วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด (โคลงกำสรวล). |
ห่างเห | ว. จากไป, พรากไป, เช่น นิราศร้างห่างเหเสนหา ปางอิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา (นิ. อิเหนา). |
อาสา | น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวังหมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. |