กรมการนอกทำเนียบ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า. |
กรมการพิเศษ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า. |
โควตา | (โคฺว-) น. การจำกัดจำนวนโดยวางกฎเกณฑ์ไว้. |
จตุกาลธาตุ | (-กาละทาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลาไว้ ๔ อย่าง คือ เหง้าว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากพนมสวรรค์. |
จตุทิพยคันธา | (-ทิบพะยะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอมดังยาทิพย์ไว้ ๔ อย่าง คือ ดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ รากขิงแครง. |
จตุผลาธิกะ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนผลไม้อันให้คุณไว้ ๔ อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ. |
จตุวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมไว้ ๔ อย่าง ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ โกศหัวบัว. |
ตรีกฏุก | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเผ็ดร้อน ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. |
ตรีกาลพิษ | (-กาละพิด, -กานละพิด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้พิษตามเวลา ๓ อย่าง คือ กระชาย เหง้าข่า รากกะเพรา. |
ตรีเกสรมาศ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยารสเสมอเกสร ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง. |
ตรีคันธวาต | (-ทะวาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นสำหรับแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ กานพลู. |
ตรีฉินทลามกา | (-ฉินทะลามะกา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุลามกให้หมดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง. |
ตรีญาณรส | (-ยานนะรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันทำให้รู้รสอาหาร ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถาบอระเพ็ด. |
ตรีทิพยรส | (-ทิบพะยะรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสดี ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย. |
ตรีทุรวสา | (-ทุระวะสา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ความผิดปรกติของมันเหลว ๓ อย่าง คือ ลูกโหระพาเทศ ลูกกระวาน ลูกราชดัด. |
ตรีธาตุ | (-ทาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นวัตถุธาตุ ๓ อย่าง คือ ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย. |
ตรีธารทิพย์ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสดังน้ำทิพย์ ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ รากมะขามเทศ. |
ตรีปิตตผล | (-ปิดตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ดี ๓ อย่าง คือ รากเจตมูลเพลิงเทศ รากผักแพวแดง รากกะเพราแดง. |
ตรีผลธาตุ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันให้คุณแก่ธาตุทั้ง ๔ จำนวน ๓ อย่าง คือ เหง้ากะทือ เหง้าไพล หัวตะไคร้. |
ตรีผลสมุฏฐาน | (-สะหฺมุดถาน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีผลเป็นที่ตั้ง ๓ อย่าง คือ ลูกมะตูม ลูกยอ ลูกผักชีลา. |
ตรีผลา | (-ผะลา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นผลไม้ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. |
ตรีพิษจักร | (-พิดสะจัก) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสซึมซาบไวดังกงจักร ๓ อย่าง คือ กานพลู ลูกผักชีล้อม ลูกจันทน์เทศ. |
ตรีเพชรสมคุณ | (-เพ็ดสะมะคุน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีคุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์ รงทอง. |
ตรีมธุรส | (-มะทุรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเลิศ ๓ อย่าง คือ นํ้าผึ้ง นํ้าตาล นํ้ามันเนย. |
ตรีโลหกะ | (-หะกะ) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนธาตุที่สำเร็จรูปแล้ว ๓ อย่าง คือ ทอง เงิน ทองเหลือง. |
ตรีโลหะ | พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นธาตุที่ถลุงเป็นรูปแล้ว ๓ อย่าง คือ ทองแดง ทองเหลือง ทองหล่อ (ทองสัมฤทธิ์). |
ตรีวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า. |
ตรีสมอ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนสมอ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก สมอเทศ. |
ตรีสัตกุลา | (-สัดตะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาที่มีตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดำ ผักชีลา ขิงสด. |
ตรีสันนิบาตผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ไข้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา รากพริกไทย. |
ตรีสาร | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันให้คุณในฤดูหนาว ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก. |
ตรีสินธุรส | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสอันชื่นใจ (ประดุจได้ดื่มน้ำ) ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด. |
ตรีสุคติสมุฏฐาน | (-สุคะติสะหฺมุด-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันทำให้มีสรรพคุณเป็นที่ตั้ง ๓ อย่าง คือ รากแคแดง รากเพกา รากมะเดื่ออุทุมพร. |
ตรีสุคนธ์ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน. |
ตรีสุรผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำราไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร. |
ตรีเสมหผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า. |
ตรีอมฤต | (-อะมะริด, -อะมะรึด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเลิศ ๓ อย่าง คือ รากกล้วยตีบ รากกระดอม รากมะกอก. |
ตรีอากาศผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณขับลม ๓ อย่าง คือ ขิง กระลำพัก อบเชยเทศ. |
ตี่ ๑ | น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจำกัดเขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่งเขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหาโอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง ก็เรียก. |
เทวตรีคันธา | (ทะเวตฺรี-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๒ ชนิด ชนิดละ ๓ อย่าง คือ ดอกบุนนาค แก่นบุนนาค รากบุนนาค กับ ดอกมะซาง แก่นมะซาง รากมะซาง. |
ธนบัตร | (ทะนะบัด, ทนนะบัด) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยไม่จำกัดจำนวน. |
ห้างหุ้นส่วนจำกัด | น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จำพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดจำนวน. |
เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ | น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มีหน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใดได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า “เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อ ไม่พอกันกิน”. |