access arm | ก้านเข้าถึง <คำแปล>หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยบันทึก มีลักษณะเป็นก้านที่ต่อกับหัวอ่าน/บันทึก (read / write head) ที่ใช้เจาะเข้าไปที่จานบันทึก เพื่ออ่านข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล หรือเพื่อบันทึกข้อมูลลงในจานบันทึก มีลักษณะคล้ายเข็มของเครื่องเล่นจานเสียง |
access key | กุญแจการเข้าถึงหมายถึง รหัส หรือคำหลักที่ใช้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่มีเก็บไว้ได้ ข้อมูลบางอย่างต้องทำเป็นการเฉพาะ และจะยอมให้เรียกมาใช้ได้เฉพาะคนบางกลุ่ม จึงต้องมีกุญแจที่จะให้รู้กันเฉพาะคนในกลุ่ม ผู้ที่ไม่รู้กุญแจ ก็ไม่สามารถเรียกเอาข้อมูลออกมาดู หรือมาใช้หรือแก้ไขได้ |
access mechanism | กลไกการเข้าถึง <คำแปล>หมายถึง กลไกของอุปกรณ์ที่ใช้รองรับ และเคลื่อนย้ายก้านเข้าถึง (access arm) ของหน่วยจานบันทึก (disk drive) ไปบนพื้นผิวของจาน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงจานบันทึก |
access time | ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ |
bad sectors | ส่วนวงเสียหมายถึงส่วนวงในร่องที่ใช้บันทึกข้อมูลบนแผ่นจานบันทึกเสีย ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงไปเก็บได้ คอมพิวเตอร์จะแสดงข้อความนี้บนจอภาพเมื่อสั่งให้อ่านหรือบันทึกข้อมูล แล้วไม่สามารถทำได้ เพราะเกิดกรณีนี้ขึ้น |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
erase head | หัวลบเป็นกลไกส่วนหนึ่งในหน่วยบันทึกข้อมูล (drive) อยู่ติดกับก้านเข้าถึง (access arm) ใช้ลบข้อมูล หรือแฟ้มข้อมูลออกจากจานบันทึก ดู read/write head |
output data | ข้อมูลออกหมายถึงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะส่งออกไปทางจอภาพ เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์ หรืออุปกรณ์ส่งออกอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก |
packet switching | การสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับไปรวมกันเองดู circuit switching เปรียบเทียบ |
paper tape | แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที |
read only memory | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวใช้ตัวย่อว่า ROM (อ่านว่า รอม) แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอม ก็จะไม่สูญหายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |
rom | รอมย่อมาจาก read only memory (แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอมก็จะไม่ศูนย์หายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |
token ring | วงแหวนโทเค็นในระบบเครือข่าย หมายถึง การส่งข้อมูลแบบวงแหวน กล่าวคือ ผู้ส่งข้อมูลจะนำข้อมูลใส่ในถาด (token) ถาดนี้จะเดินตามสายผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่โดยรอบ เมื่อเดินไปถึงเครื่องที่จะเป็นตัวรับ ก็จะจัดการรับถาดนั้นไว้เพื่อถ่ายโอนข้อมูลออก เมื่อบันทึกข้อมูลลงในเครื่องของตนแล้ว ก็จะปล่อยถาดกลับไปยังผู้ส่ง เมื่อผู้ส่งตรวจดูว่า ข้อมูลถูกรับไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะลบข้อมูลทิ้ง (บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า ring network) |