กระบัด ๑ | ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้. |
กระบัด ๒ | ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้. |
กระเบง | ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้. |
กระโปรง | กะโปรง ก็ใช้. |
กระวิน ๑ | น. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน หรือเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. |
กระษาปณ์ | (-สาบ) น. เงินตราที่ทำด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. |
กระหง่อง, กระหน่อง ๑ | ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. |
กระหย่อน | ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ใช้. |
กระเหม็ดกระแหม่ | (-แหฺม่) ก. เขม็ดแขม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้. |
กราดเกรี้ยว | ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้. |
กรึกถอง | (กฺรึกถองฺ) ว. มากมาย, ตรึกถอง ก็ใช้. |
กสานติ์ | (กะ-) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องนํ้าใจกสานติ์ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้. |
ก่อง ๑ | ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิง คล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. |
กะบ่อนกะแบ่น | ว. ไม่เสมอทั่วกัน, ไม่เรียบเสมอกัน, เช่น ตัดผมกะบ่อนกะแบ่น ทาสีกะบ่อนกะแบ่น, กะบ่อนกะแบ่ม ก็ใช้. |
กัมพุช ๑, กัมพุช- | (กำพุด, กำพุดชะ-) น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย, กัมโพช ก็ใช้. |
กัมโพช | (กำโพด) น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย, กัมพุช ก็ใช้. |
กาฐ | กาษฐะ ก็ใช้. |
กำโบล ๒ | ก. ลูบ, ลูบคลำ, ลูบไล้, เช่น ฤๅอาจกำโบลปิยุทร์นงเยาว์ ฤๅอาจอุกเอา กระมลยุคลมามือ (สรรพ-สิทธิ์), คำโบล ก็ใช้. |
กุโงก | น. นกยูง, กระโงก ก็ใช้. |
เกรี้ยวกราด | ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้. |
เกาทัณฑ์ | น. ธนู, กุทัณฑ์ หรือ โกทัณฑ์ ก็ใช้. |
โกรด | โตรด ก็ใช้. |
ขมขื่น | ก. รู้สึกชํ้าใจแต่ฝืนไว้ เพราะไม่สามารถแสดงออกมาได้, ขื่นขม ก็ใช้. |
ขมา | (ขะมา) ก. กล่าวคำขอโทษ เช่น ไปขมาศพ, ษมา ก็ใช้. |
ขอรับ ๒ | คำรับที่สุภาพชนใช้. |
ของใช้ | น. ของสำหรับใช้. |
ข้อน | ก. ตี, ทุบ, ค่อน ก็ใช้. |
ขื่นขม | ก. รู้สึกชํ้าใจแต่ฝืนไว้ เพราะไม่สามารถแสดงออกมาได้, ขมขื่น ก็ใช้. |
เขม็ดแขม่ | (ขะเหฺม็ดขะแหฺม่) ก. กระเหม็ดกระแหม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้. |
เขียว ๑ | ก. รีบไป, รีบมา, เคียว หรือ เครียว ก็ใช้. |
ครับ | (คฺรับ) ว. คำรับหรือคำลงท้ายอย่างสุภาพที่ผู้ชายใช้. |
ค่อน ๓ | ตี, ทุบ, ข้อน ก็ใช้. |
ค่าเสียหาย | น. มูลค่าแห่งความเสียหายที่ผู้เสียหายพึงได้รับการชดใช้. |
เครียว | (เคฺรียว) ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้. |
เคียว ๒ | ก. รีบไป, รีบมา, เครียว หรือ เขียว ก็ใช้. |
จะละหวั่น | ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, จ้าละหวั่น ก็ใช้. |
จ้าละหวั่น | ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, จะละหวั่น ก็ใช้. |
จิกหัว | กดขี่, ข่มขี่, เช่น จิกหัวใช้. |
จีน ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้. |
โจษ, โจษจัน | (โจด, โจดจัน) ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้. |
ฉอก | ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม) ในคำว่า ผมฉอก, กระฉอก ก็ใช้. |
ฉะฉาน | ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคำ, ฉาดฉาน ก็ใช้. |
ฉะอ้อน | ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ชะอ้อน ก็ใช้. |
ฉะอ้อน | ว. รูปเล็กเล็กบาง, ชะอ้อน ก็ใช้. |
ฉาดฉาน | ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคำ, ฉะฉาน ก็ใช้. |
แฉละ | (ฉะแหฺละ) ก. เลาะเนื้อออกจากกระดูก, แล่แล้วแบะออก, เฉือนเป็นชิ้น ๆ, เชือด, ตัดแยกออกเป็นส่วน ๆ, ชำแหละ ก็ใช้. |
ชลูกา | น. ปลิง, ชัลลุกา ก็ใช้. |
ช่วงใช้ | ก. รับใช้ เช่น เป็นข้าช่วงใช้. |
ชะอ้อน | ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้. |
ชะอ้อน | ว. รูปร่างเล็กบาง, ฉะอ้อน ก็ใช้. |