มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ เปอร์เซีย | (n) Persia, See also: Iran, Syn. อิหร่าน, Example: ประเทศสยามมีการติดต่อค้าขายกับเปอร์เซียมานานนับศตวรรษ, Thai Definition: ชื่อเดิมของประเทศอิหร่าน | เปอร์เซีย | (n) Persia, See also: Iran, Syn. อิหร่าน, Example: ประเทศสยามมีการติดต่อค้าขายกับเปอร์เซียมานานนับศตวรรษ, Thai Definition: ชื่อเดิมของประเทศอิหร่าน |
| Persian Gulf States | กลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย [TU Subject Heading] | Persian language | ภาษาเปอร์เซีย [TU Subject Heading] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
| He's got ninety-five white Persian monkeys! (He's got the monkeys, let's see the monkeys! | เขามี ลิงเปอร์เซียนสีขาว กว่า 95 ตัว เขามีลิง มาดูลิงกันดีกว่า Aladdin (1992) | Always full of Hindus Muslims Sikhs, Jews, Persians. | เต็มไปด้วยชาวฮินดู มุสลิม ซิกข์, ยิว, เปอร์เซีย Gandhi (1982) | When did Persian become Arab? | คน เปอร์เซีย กลายเป็นคน อาหรับ ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน Crash (2004) | The great king Xerxes, the whole world With his Persian army already has taken. | เซอซีสกษัตริย์ที่สุดยอด ครอบครองโลก โดยทหารชาวเปอร์เซียแล้ว Meet the Spartans (2008) | I have an army of 300 men needed For a war with Perzien. | ข้ามีทหาร 300 นายสำหรับสงครามกับชาวเปอร์เซีย Meet the Spartans (2008) | If you are at war with Persia, Then you will surely die. | ถ้าท่านทำสงครามกับเปอร์เซีย ท่านจะต้องตาย Meet the Spartans (2008) | For an army that will tackle Persia. | แด่เหล่าทหารหาญ ที่จะเข้าต่อกรกับเปอร์เซีย Meet the Spartans (2008) | As we see the Persians by inward, | อย่างที่เราเห็นพวกเปอร์เซียนั้น Meet the Spartans (2008) | They can use the Persians For us to attack? | ที่จะรับมือกับพวกเปอร์เซียได้รึเปล่า Meet the Spartans (2008) | If the Persians behind you arrive, They may not find you there. | ถ้าหากพวกเปอร์เซียมาถึงหลังท่านได้ถึงที่หมายแล้ว พวกมันจะไม่พบท่านที่นี่ Meet the Spartans (2008) | Look, Persians! | ดูนั่น พวกเปอร์เซียส์ Meet the Spartans (2008) | Persians! | เปอร์เซียส์! Meet the Spartans (2008) | We love the Persian cuisine We eat baklava ... | พวกเรารักอาหารเปอร์เซีย เรากิน เบกวาวา Meet the Spartans (2008) | Certainly a few thousand Persian soldiers. Can any time here. | ไม่ต่องสงสัยเลยว่า สองสามพันคนนี่เป็นทหารเปอร์เซีย พอมีเวลาไหม? Meet the Spartans (2008) | "1 year later" Today, we stand in front of 30 thousand perzi? s | หนึ่งปีต่อมา วันนี้ เราประจันหน้ากับพวกเปอร์เซีย สามหมื่นคน Meet the Spartans (2008) | And that led, the blindness of Idilio 100 thousand Spartans away from the Perzi? s ... | และแล้วเจ้าบอดอิดิลโลก็ได้นำนักรบสปาร์ตัน1000นายหันออกจากพวกเปอร์เซีย Meet the Spartans (2008) | i also speak farsi. | ผมบังเอิญพูดภาษาเปอร์เซียได้ด้วย Pilot (2008) | It's Persian, isn't it? | จากเปอร์เซีย ใช่มั๊ยคะ Inkheart (2008) | Yes, it is, isn't it? But I just adore everything Persian. | ใช่มั๊ยล่ะ ยายชอบพวกของจากเปอร์เซียนะ Inkheart (2008) | - You've been to Persia, then? | -ยายเคยไปเปอร์เซียเหรอคะ Inkheart (2008) | London educated. How many Persian speaking women with that accent could be in Hong Kong? | ได้รับการศึกษาจากลอนดอน จะมีผู้หญิงชาวเปอร์เซีย สักกี่คนที่มีสำเนียงพูดแบบนั้น และพักอาศัยอยู่ในฮ่องกง? A561984 (2009) | Yeah. A Persian, well-educated Eartha Kitt. | - ใช่ชาวเปอร์เซียที่ได้รับ การศึกษาอย่างดี เอิร์ทธ่า คิท A561984 (2009) | Listen, there's only two news stands within a block of here that sell Persian newspapers. | ฟังน่ะ มีเพียงสองข่าวเท่านั้น ที่เราจะเจอจากไม่กี่ช่วงตึก คือจุดขายหนังสือพิมพ์เปอร์เซีย A561984 (2009) | (READS SIGN) Mmm-hmm. Farsi for the tide in the mist. | อืมม อักษรฟาซี เราหลงอยู่ กลางชุมชนคนเปอร์เซีย A561984 (2009) | Persian woman, Persian food. | ผู้หญิงเปอร์เซีย อาหารเปอร์เซีย A561984 (2009) | Icecaps are melting, war in the Middle East, | น้ำแข็งขั้วโลกละลาย สงครามอ่าวเปอร์เซีย TRON: Legacy (2010) | Bye-bye writing at Starbucks till a certain persian barista asks me about my novel. | บ๊ายบาย การนั่งเขียนเรื่อยเปื่อยที่ Starbucks จนกว่าจะมีบาริสต้าชาวเปอร์เซียซักคน มาถามว่าฉันเขียนนิยายอะไร ให้ตายสิ เจฟ! Conspiracy Theories and Interior Design (2010) | That empire was Persia. | คืออาณาจักรของเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | Fierce in battle, wise in victory, where the Persian sword went, order followed. | ความโหดร้ายในสงคราม, ความเฉลียวฉลาดในการเอาชัย ที่ใดที่ดาบแห่งเปอร์เซียไปถึง คำบัญชาจะตามมา Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | The Persian king, Sharaman, ruled with his brother, Nizam, upon the principles of loyalty and brotherhood. | ชารามาน กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ปกครองร่วมกับพระอนุชา นาม นิซาม โดยใช้หลักแห่งความจงรักภักดี และความเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | the day a boy from the unlikeliest of places became a prince of Persia. | ในวันนั้น เด็กชายจากสถานที่ที่ไม่น่าเชื่อ กลายเป็นเจ้าชายแห่งเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | I ride at the head of the Persian army. | - ข้าเป็นผู้นำกองทัพเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | The Persian army, my princess, has not moved on. | กองทัพเปอร์เซียยังไม่มีความเคลื่อนไหว Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | We know you secretly build weapons for enemies of Persia. | เรารู้ว่าเจ้าแอบสร้างอาวุธ ให้ศัตรูของเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | Join hands with Persia's future king. | จงร่วมมือกับอนาคตกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | So, I'm escorted by Prince Dastan, the Lion of Persia. | งั้น ข้าได้รับการคุ้มกันโดย เจ้าชายดัสตาน ราชสีห์แห่งเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | Then you are a true prince of Persia. | แล้วทำให้เจ้าเป็น เจ้าชายแท้จริงแห่งเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | I'm told that another of my sons has joined the rank of great Persian warriors. | ข้าได้ข่าวว่า ลูกชายอีกคนของข้า ได้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่ม ยอดนักรบเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | Every road to Avrat will be covered with Persian troops. | ถนนทุกสายที่มุ่งสู่อะบรัต ล้วนเต็มไปด้วยทหารเปอร์เซียน Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | I wasn't born of this desert like you Persians, all shriveled and angry. | ข้าไม่ได้เกิดในทะเลทรายเหมือนพวกเจ้า ชาวเปอร์เซีย ตรากตรำและแร้นแค้น... . Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | Brave soldiers of Persia, we have been deceived into attacking this holy city! | ทหารแห่งเปอร์เซีย! เราโดนหลอกให้มา โจมตีที่นี่ Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | A true prince of Persia. | เจ้าชายที่แท้จริงของเปอร์เซีย Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | Persian Quickrug. | พรมดูดของเปอร์เซียน The Sorcerer's Apprentice (2010) | Endangered Fae of ancient Persian origin. | เฟอันตรายจากเปอร์เซีย Can't See the Fae-Rest (2011) | My eighth century Persian rug? | พรมเปอร์เซียแปดร้อยปีเหรอ Original Skin (2011) | One guy who's Persian, I think. | คนนึง ฉันคิดว่าน่าจะเป็นชาวเปอร์เซีย Open House (2011) | I've always heard Persians have big, thick cocks. | ฉันเคยได้ยินว่าพวกชาวเปอร์เซียแบบคุณ มักจะมีน้องชายใหญ่ Open House (2011) | And I'm not Persian, by the way. | และผมก็ไม่ใช่พวกเปอร์เซียนะ Open House (2011) | Throwing yourself at that greasy Persian. | โดดเข้าใส่ ไอ้ชาวเปอร์เซียนั่น Open House (2011) | Iranians aren't Arabs, they're Persians. | ชาวอิหร่านไม่ได้เป็นอาหรับ พวกเขาเป็นคนเปอร์เซีย The Smile (2012) |
|
| อ่าวเปอร์เซีย | [āo Poēsīa] (n, prop) EN: Persian Gulf FR: golfe Persique [ m ] | ชาวเปอร์เซีย | [Chāo Poēsīa] (n, prop) EN: Persian FR: Perse [ m, f ] | เปอร์เซีย | [Poēsīa] (n, prop) EN: Persia ; Iran FR: Perse [ f ] ; Iran [ m ] |
| | indian red | ดินสีแดงอมเหลืองในบริเวณฝั่งอ่าวเปอร์เซีย ใช้เป็นสารสีและใช้ขัดเครื่องเงินเครื่องทอง | iran | (อิแรน', ไอแรน', อิราน') n. อิหร่าน, เปอร์เซีย (สมัยก่อน), Syn. Persia | omar khayyam | (โอ'มาร์ ไคยาม', แยม, โอ'มาร์) n. นักกวีและนักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียสมัยโบราณ | persia | (เพอ'?ะ, เพอ'ชะ) n. อาณาจักรเปอร์เซีย (อิหร่าน) , ชื่อเดิมของอิหร่าน | persian | (เพอ'เ?ิน, เพอ'เชิน) adj. เกี่ยวกับเปอร์เซีย, ภาษาเปอร์เซีย, ชาวเปอร์เซีย. n. ชาวเปอร์เซีย., Syn. Iranian | tiara | (เทีย'รา) n. ผ้าโพกศรีษะของชาวเปอร์เซียสมัยโบราณ, มงกุฎขององค์สันตะปาปา, ตำแหน่งหน้าที่และอำนาจขององค์สันตะปาปา | united arab emirates | n. ชื่อประเทศอาหรับประเทศหนึ่งบนฝั่งของอ่าวเปอร์เซีย | zoroaster | (โซโรแอสเทอะ) n. ชื่อหมอสอนศาสนาชาวเปอร์เซียในราว 6, Syn. Zarathustra |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |