ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ระบุ, -ระบุ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ระบุ | (v) identify, See also: give the name, specify, mention, name, Syn. เจาะจง, Example: ผู้ถูกประเมินจะต้องระบุปฏิกิริยา หรือคำตอบของเขาลงไปในแบบสอบถาม | กระบุง | (n) wicker basket, See also: bamboo basket, Example: ชาวชนบทนิยมทำเครื่องใช้ไม้สอยใช้เอง เช่น ตัด ไม้ไผ่มาจักตอก สานกระบุง ตะกร้า งอบ และสุ่มไก่, Count Unit: ใบ, ลูก, Thai Definition: ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง แต่พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม, ถ้าสานโปร่ง เป็นตะกร้า | สระบุรี | (n) Saraburi, Syn. ัจังหวัดสระบุรี, Example: วันหยุดนี้พ่อจะพาไปเที่ยววัดพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี, Count Unit: จังหวัด | ระบุชื่อ | (v) mention by name, See also: specify, name, Syn. เจาะจงชื่อ, ออกชื่อ, Example: คุณต้องระบุชื่อคนนั้นในตอนต้นของจดหมายด้วย | กระบุ่มกระบ่าม | (adv) falteringly, See also: stumblingly, clumsily, carelessly, awkwardly, Syn. บุ่มบ่าม, ซุ่มซ่าม, Example: ฉันเดินกระบุ่มกระบ่ามเลยชนข้าวของแตกกระจาย |
| กระบุง | น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม, ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า มาก เช่น เขาบ่นไม่รู้กี่กระบุง. ว. มาก เช่น เขาระเบิดความในใจออกมาเป็นกระบุง. | กระบุงโกย | ว. จำนวนมาก เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย.น. ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น จะไปต่างจังหวัดแค่ ๒ วัน ขนเสื้อผ้ามาตั้งกี่กระบุงโกย. | กระบุ่มกระบ่าม | ว. บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม. | การะบุหนิง | น. ดอกแก้ว. | บ้าระบุ่น | น. นกปรอด เช่น เค้าโมงขมิ้นบ่าวขุน บ้าระบุ่นโกญจากระทาขัน (รามเกียรติ์ ร. ๑), โบราณเขียนเป็น บารบุน ก็มี เช่น จินโจ้กระจาบเวียน บารบุนและเบญจวรรณ (บุณโณวาท). | ระบุ | ก. เจาะจง เช่น ระบุชื่อผู้รับ ระบุตัวบุคคล, บ่งชื่อ, ออกชื่อเฉพาะ, เช่น ระบุชื่อพยาน | ระบุ | มีออกมามาก ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น ทุเรียนระบุ เห็ดระบุ ส่าไข้ระบุ. | กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). | กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. | กระทาย | น. กระบุงเล็ก ปากผาย | กระทาย | เครื่องตวง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ ๒ กระทาย เป็น ๑ กระบุง มีอัตราเท่ากับครึ่งถัง หรือ ๑๐ ลิตร. ก. กระทกของเอากากออก. | กระบาย | น. ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุง แต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม. | กระโปรง | กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น | กระออม ๒ | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานนํ้าทิพย์สิบกระออม (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า. | กะละออม | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กะออม หรือ กัลออม ก็ว่า. | กะออม | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า. | กัลออม | (กันละ-) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ, กะออม กระออม หรือ กะละออม ก็ว่า. | ข้อกำหนด | น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. | ข้อกำหนดพินัยกรรม | น. ข้อความที่ระบุไว้ในพินัยกรรมในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดก หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว เช่น สิทธิในการรับมรดก การจัดการทรัพย์มรดก การโอนทรัพย์มรดก. | ขึ้น ๑ | ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง | ไขว้โรง | ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ). | ความเร็ว | น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วย. | ค่า | จำนวนหรือตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร | คาทอลิก | น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวชเรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. | จังมัง | น. ไม้สำหรับขัดก้นกระบุงและตะกร้าทั้ง ๔ มุมให้แน่นและแข็งแรง. | จำงาย | ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้ (ม. คำหลวง ชูชก). | ใจมา | ว. มีหวังขึ้น เช่น ใจมาเป็นกอง ใจมาเป็นกระบุง. | ชี้สองสถาน | ก. กระบวนการที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดี และระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลัง. | เช็คไปรษณีย์ | น. ตราสารสำหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุนามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น. | เซต ๑ | น. คำที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ | แซม | ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไปในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรกหรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชำรุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซมหลังคา. | ดราฟต์ ๑ | น. ตราสารซึ่งธนาคารเป็นผู้ออก สั่งธนาคารตัวแทนของตนให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับตามที่ได้ระบุชื่อไว้หรือตามคำสั่งของผู้รับ. | ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ | น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง. | ตำแหน่ง | สิ่งที่บ่งระบุระดับความถูกต้องในการแสดงค่าของจำนวนจริงในรูปของทศนิยม เช่น ทศนิยม ๓ ตำแหน่ง หมายถึง ระดับความถูกต้องชนิดที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๑ ใน ๑, ๐๐๐. | ถึง ๑ | ใช้เป็นคำจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด | ทุนจดทะเบียน | น. จำนวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย และได้กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท โดยแบ่งออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจำนวนสูงสุดของหุ้นที่จะออกจำหน่ายได้. | ทูลกระหม่อม ๑ | คำเรียกพระราชโอรสพระราชธิดาซึ่งเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก ประสูติแต่พระอัครมเหสี, ใช้ว่า ทูลหม่อม ก็มี, หากเจ้านายทรงเรียกพระประยูรญาติที่เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก จะระบุคำแสดงความเป็นเครือญาติท้ายคำว่า ทูลกระหม่อม เช่น ทูลกระหม่อมปู่ ทูลกระหม่อมพ่อ ทูลกระหม่อมลุง ทูลกระหม่อมป้า ทูลกระหม่อมอา. | บง ๔ | ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา (ยวนพ่าย). | บงการ | ก. ระบุชี้ให้ดำเนินการตาม, ควบคุมดูแลสั่งการเฉียบขาด. | บ่ง ๑ | ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทำของเขาบ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทำผิด. | บุง | น. กระบุง. | บุพโพ | (บุบโพ) น. นํ้าหนอง, นํ้าเหลือง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระบุพโพ. | เบ้าหลุด | น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียวและอัตรา ๒ ชั้น ปรากฏในระบำสี่บท ประกอบด้วยเพลงพระทอง สระบุหร่ง บหลิ่ม และเบ้าหลุด. | ประกันภัย | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญาประกันภัย ก็เรียก. | ประทวนสินค้า | น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกให้แก่ผู้ฝากสินค้าโดยระบุชื่อผู้ฝากสินค้า. | ปริมาตร | (ปะ-) น. ขนาดของสิ่งใด ๆ ที่มีรูปทรง ๓ มิติ และระบุปริมาณเป็นหน่วยลูกบาศก์ เช่น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต. | ไพร | ขอบ, ริม, เรียกตอกเส้นกลม ๆ ที่อยู่ใต้ขอบกระบุงกระจาดเป็นต้น ว่า ตอกไพร. | ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | น. ข้อผูกพันที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้. | ยัด | ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้าห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง | รายวิชา | น. หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา มีทั้งที่บังคับและให้เลือก. |
|
| | General Material Designation | คำระบุประเภทวัสดุอย่างกว้าง ๆ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Content designation | การระบุเนื้อหา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Error messages (Computer science) | ข้อความระบุความผิดพลาด (คอมพิวเตอร์), Example: <strong>ข้อความระบุความผิดพลาด</strong> ซึ่งเป็นข้อความที่จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงภาพโดยอัตโนมัติ หรือที่พิมพ์ออกมาทางรายงาน เพื่อเตือนให้ผู้ใช้งานทราบว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น มีบางอย่างผิด จึงทำให้โปรแกรมไม่สามารถดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่งข้อความดังกล่าวจะเป็นลักษณะข้อความไม่ยาวมาก เพียงพอสำหรับระบุว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นที่ใด แต่ไม่ได้บอกว่าจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นอย่างไร ดังนั้นประสบการณ์ในการทำงานจึงจำเป็นมากสำหรับค้นหาและแก้ไขความผิดพลาด ดังตัวอย่างต่อไปนี้</p> <li> <strong>400 - Bad File Request</strong><br /> ไวยากรณ์ (Syntax) ที่ใช้กับ URL นั้นมีข้อผิดพลาดเช่น มีการใส่ตัวอักษรเล็ก - ใหญ่สลับกัน หรืออาจจะมีการใช้เครื่องหมายต่างๆ ผิด</li> <p style="text-align: center"> <img alt="" height="221" src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/images/phpcNs2FO" style="width: 454px; height: 221px" width="487" /></p> <li> <strong>403 - Forbidden/Access Denied</strong><br /> ผู้ใช้ไม่ได้รับอนุญาตให้ดูแฟ้มที่ร้องขอ การเข้าใช้งานต้องใช้รหัสผ่าน หรือโดเมนของผู้ใช้งานถูกปิดกั้นการใช้งาน หรือไฟล์อาจจะใช้ได้เฉพาะกับผู้ใช้ภายในเท่านั้น</li> <li> <strong>404 - File Not Found</strong><br /> เซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถหาไฟล์ที่คุณต้องการได้ ซึ่งไฟล์นั้นอาจจะถูกย้ายไปที่อื่นหรือถูกลบไปแล้ว หรือคุณอาจจะใส่ URL หรือชื่อเอกสารผิด ถ้าคุณเจอปัญหานี้ให้ลองตรวจสอบชื่อที่ใส่ใน URL ว่าถูกต้องหรือไม่</li> <li> <strong>408 Request Timeout</strong><br /> ข้อผิดพลาดนี้เกิดจากการหยุดโหลดเว็บเพจก่อนที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลสำเร็จ ซึ่งอาจจะเกิดจากผู้ใช้ไปคลิกปุ่ม stop หรือปิดบราวเซอร์ หรือไปคลิกลิงค์ก่อนที่เว็บเพจนั้นจะโหลดขึ้นมา โดยมากมักจะเกิดตอนที่เซิร์ฟเวอร์ช้าหรือไฟล์มีขนาดใหญ่</li> <li> <strong>500 - Internal Error</strong><br /> ไม่สามารถเรียกไฟล์เอกสาร HTML ได้เนื่องจากอาจมีปัญหาการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ วิธีแก้ไขคือ ให้คุณติดต่อผู้ที่ดูแลเว็บไซต์ (Administrator)</li> <li> <strong>501 - Not Implemented</strong><br /> เว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่รองรับรูปแบบ (Feature) ที่คุณต้องการ</li> <li> <strong>502 - Service Temporarily Overloaded</strong><br /> เซิร์ฟเวอร์นั้นมีผู้เข้ามาใช้งานมาก ให้ลองโหลดใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้</li> <li> <strong>503 - Service Unavailable</strong><br /> เซิร์ฟเวอร์นั้นมีผู้เข้ามาใช้งานมาก หรือเว็บไซต์นั้นอาจจะย้ายไปแล้ว หรือคุณไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตแล้ว</li> <li> <strong>Connection Refused by Host</strong><br /> อาจจะเกิดจากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งานเว็บไซต นั้นหรือใส่พาสเวิร์ดไม่ถูกต้อง</li></p> อ้างอิงจาก : </br> ครรชิต มาลัยวงศ์. (2543). พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.</br> คูคิน, แดน และ วัง, วอลเลซ. (2539). พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับอ่านสนุก (ชนินทร์ เชาวมิตร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | สังเค็ด | ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่าเป็นคำนาม หมายถึง ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่พระสงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด [ศัพท์พระราชพิธี] | เมรุพระบุพโพ | เมรุขนาดน้อย สำหรับถวายพระเพลิงพระบุพโพ (น้ำเหลือง) ส่วนใหญ่จะทำที่วัดมหาธาตุ ฯลฯ [ศัพท์พระราชพิธี] | พระบุพโพ | [ บุบโพ ] น. นํ้าหนอง, นํ้าเหลือง. (ป. ปุพฺพ) [ศัพท์พระราชพิธี] | Contractual Delivery Capacity | ความสามารถที่ผู้ขายรับรองว่าจะส่งก๊าซให้ได้ในแต่ละวันระบุเป็น % DCQ (Daily Contract Quantity) [ปิโตรเลี่ยม] | Appellation of origin | การระบุแหล่งกำเนิด [เศรษฐศาสตร์] | Absorbed dose | ปริมาณ (รังสี) ดูดกลืน, Absorbed dose, D<sub>T, R</sub> ปริมาณพลังงานที่วัตถุดูดกลืนไว้เมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็น เกรย์ ปกติจะระบุชนิดของวัตถุและชนิดของรังสี โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ดังนี้ D<sub>material, radiation</sub> เช่น D<sub>lung, alpha </sub>ยกเว้นรังสีแกมมาอาจไม่ต้องระบุชนิดของรังสี เช่น Dwater (ดู gray, Gy ประกอบ) [นิวเคลียร์] | Emergency action level | ระดับต้องปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน, อีเอแอล, เกณฑ์แสดงระดับปฏิบัติกรณีฉุกเฉินทางรังสี โดยกำหนดเป็นค่าเฉพาะเพื่อระบุระดับของเหตุการณ์ฉุกเฉินทางรังสี [นิวเคลียร์] | Equivalent ton | ตันสมมูล, หน่วยหรือมาตราที่ใช้ระบุแรงระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ โดยเทียบต่อหน่วยน้ำหนักของระเบิดทีเอ็นที 1 ตัน ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากัน (ดู TNT equivalent ประกอบ) [นิวเคลียร์] | Error message (Computer science) | ข้อความระบุความผิดพลาด (คอมพิวเตอร์) [คอมพิวเตอร์] | Residence time | เวลาคงอยู่, ระยะเวลาที่วัสดุกัมมันตรังสียังคงเหลืออยู่ในบรรยากาศภายหลังการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ มักระบุเป็น “ครึ่งเวลา(half-time)” เนื่องจากไม่อาจทราบระยะเวลาแท้จริงที่วัสดุกัมมันตรังสีนั้นจะหมดไปจากบรรยากาศ [นิวเคลียร์] | Selective Dissemination Information | บริการสารสนเทศคัดสรรเพื่อเผยแพร่ตามที่ผู้ใช้ระบุความต้องการ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | European Patent Applications | ระบบการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของสำนักงานสิทธิบัตรของทวีปยุโรปแห่งเดียว ที่สามารถให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศที่ระบุต่อไป [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Lethal dose | ปริมาณรังสีถึงตาย, แอลดี, ปริมาณรังสีขนาดหนึ่งซึ่งคาดว่าเมื่อได้รับแล้วเป็นเหตุทำให้เสียชีวิต เช่น หากระบุเป็น lethal dose 50/30 (LD 50/30) จะหมายถึงปริมาณรังสีขนาดหนึ่งซึ่งเมื่อประชากรได้รับเข้าไปแล้ว ทำให้เกิดการเสียชีวิตร้อยละ 50 ภายในเวลา 30 วัน โดยทั่วไป LD 50/30 สำหรับมนุษย์ เป็นการรับปริมาณรังสีในช่วง 4 – 5 ซีเวิร์ต ในระยะเวลาสั้นๆ [นิวเคลียร์] | error message | ข้อความระบุความผิดพลาด [คอมพิวเตอร์] | Irradiated food | อาหารฉายรังสี, อาหารที่ผ่านการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศจะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้ง ของผู้ผลิต และผู้ฉายรังสี วัน เดือน ปี ที่ฉายรังสี, Example: [นิวเคลียร์] | Neurosurigical procedures | ศัลยกรรมประสาท, ศัลยกรรมประสาท ใช้กับงานที่กล่างถึงวิธีหรือขั้นตอนของการดำเนินการผ่าตัดระบบประสาท หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ เป็นหัวเรื่องทางการแพทย์ที่ใช้ได้กับหัวเรื่องย่อยเฉพาะด้านในกลุ่ม E4 ยกเว้นบางคำที่ระบุคำสั่งห้ามใช้ [TU Subject Heading] | Radio frequency identification systems | ระบบระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ [TU Subject Heading] | Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] | Bangkok Plan of Action | แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต] | Communiqué | คำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต] | concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | dark suit | ชุดสากลสีเข้ม (สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม) " ใช้ในโอกาสไปร่วมงานทางการ เช่น งานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ การ เข้าพบบุคคลสำคัญ การไปร่วมงานสำคัญทางการที่มิได้มีการระบุใน บัตรเชิญหรือกำหนดการให้เป็นการแต่งกายแบบอื่น " [การทูต] | Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] | Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] | Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] | Final Act | กรรมสารสุดท้าย คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการ ประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการ ประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] | North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] | R.S.V.P. | โปรดตอบให้ผู้เชิญทราบด้วยว่าผู้ได้รับเชิญจะไป ร่วมงานหรือไม่ เป็นคำย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ว่า Répondez s'il vous plaît ซึ่งระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ แปลว่า โปรดตอบให้ผู้เชิญทราบด้วยว่าผู้ได้รับเชิญจะไปร่วมงานหรือไม่ [การทูต] | Regrets Only | เป็นคำที่ระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ได้รับเชิญจะไม่ไปร่วมจะต้องตอบให้ผู้เชิญทราบ หากสามารถไปร่วมได้ ไม่ต้องตอบ [การทูต] | To Remind | เป็นคำที่ระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ในกรณีที่ การเชิญนั้นผู้ได้รับเชิญได้ตอบรับการเชิญอย่างไม่เป็นทางการแล้ว การส่งบัตรเชิญโดยระบุคำว่า "To Remind" เป็นการส่งมาเตือนอีกครั้งหนึ่ง [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | irradiated food | อาหารฉายรังสี, คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใดจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศ จะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้ฉายรังสีและวันเดือนปีที่ฉายรังสี [พลังงาน] | specific gravity | ความถ่วงจำเพาะ, เป็นอัตราส่วนของน้ำหนักของเหลวเมื่อเทียบน้ำหนักที่ปริมาตรเดียวกัน แต่ปริมาณของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังนั้นการบอกค่าความถ่วงจำเพาะจึงต้องระบุอุณหภูมิ เช่นน้ำมัน ในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันนิยมใช้ค่าอนุพันธ์ความถ่วงจำเพาะในรูปของ API gravity [ปิโตรเลี่ยม] | Anonymous work | งานเขียนที่ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง, Example: <p>Anonymous work หมายถึง งานเขียนที่ไม่ระบุชื่อผู้แต่งไว้ในเล่ม และไม่สามารถค้นหาชื่อผู้แต่งได้จากตัวเล่มหรือจากแหล่งสืบค้นอื่นใด ดังนั้น ในการทำบัตรรายการหรือการทำบรรณานุกรมจะลงรายการที่ชื่อสิ่งพิมพ์เป็นรายการหลัก ตัวอย่างเช่น <p> ประมวลรัษฎากร ฉบับสมบูรณ์ ปี 2548. 2548. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร. <p> สงกรานต์สานใจไทย. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. <p> Thailand: a traveller’s companion. 2000. Singapore: Editions Didier Miller Pte. <p> Great sporting graphics. 1995. Rockport, Mass.: Rockport Pub. <p> สำหรับข้อความเกี่ยวกับชื่อผู้แต่งหรือผู้อื่นที่ไม่ได้รับผิดชอบในฐานะผู้แต่ง เช่น ผู้แปล ผู้รวบรวม บรรณาธิการ เป็นต้น ที่สืบค้นได้จากที่อื่น เมื่อนำมาใช้ลงรายการในบัตรหรือรายการบรรณานุกรม ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมเพื่อให้เห็นชัดเจน ดังตัวอย่าง <p> ประเพณีโบราณ / [ รวบรวมโดยลุงรัถ ] <p> ล่าข้ามโลก / [ แปลโดยพจน์ ] [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Free On Board | เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาะการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ [การค้าระหว่างประเทศ] | Durometer | เครื่องมือวัดความแข็งของยางและพลาสติกที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีหลายสเกลให้เลือกใช้งานขึ้นกับช่วงความแข็งของวัสดุ รูปทรงของเข็มกด แรงกด และขนาดของแป้นกดของเครื่องทดสอบ ได้แก่ A, B, C, D, DO, O, OO และ M แต่ละสเกลจะมีค่าตั้งแต่ 0-100 และระบุในหน่วยชอร์ (Shore scale) สำหรับยางนิยมวัดความแข็งในสเกลของชอร์ เอ (Shore A) วิธีการวัดความแข็งสามารถทำได้ตามมาตรฐาน ISO 7619-1, ASTM D2240 [เทคโนโลยียาง] | Potassium hydroxide number | จำนวนโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หมายถึง จำนวนกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่สมมูลย์พอดีกับอนุมูลของกรดทั้งหมดที่ รวมกับแอมโมเนียในน้ำยาง ที่มีปริมาณของแข็งทั้งหมด 100 กรัม นั่นคือ จำนวนโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวระบุปริมาณของสบู่แอมโมเนียมที่เกิดขึ้น ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของแบคทีเรียต่อสารที่ไม่ใช่เนื้อยาง ในขณะก่อนการใส่แอมโมเนียลงในน้ำยาง และเกิดขึ้นจากการไฮโดรไลซิสของโปรตีนในระหว่างการเก็บน้ำยาง ค่า KOH ที่สูงแสดงถึง ความเปลี่ยนแปลงมากและอาจบ่งชี้ว่าน้ำยางข้นมีอายุหลังการผลิตนานอีกด้วย [เทคโนโลยียาง] | Tensile tester | เป็นเครื่องมือวัดสมบัติความทนต่อแรงดึงของยางคงรูป ซึ่งสมบัติความทนต่อแรงดึงเป็นสมบัติเชิงกลพื้นฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมยาง ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นตัวกำหนดคุณภาพหรือสเปคของผลิตภัณฑ์ วิธีการวัด คือ จะให้แรงดึงกับชิ้นงานตัวอย่างจนกระทั่งชิ้นงานขาด วัดความทนต่อแรงดึงสูงสุด ณ จุดขาด (tensile strength) และสามารถระบุได้ว่าชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยยืดไปกี่ เปอร์เซ็นต์ (elongation at break) วิธีการวัดและชิ้นงานที่ใช้จะต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ISO 37 หรือ ASTM D412 [เทคโนโลยียาง] |
| จำนวนระบุทิศทาง | [jamnūan rabu thit thāng] (n, exp) EN: directed numbers | จังหวัดสระบุรี | [Jangwat Saraburī] (n, prop) EN: Saraburi province FR: province de Saraburi [ f ] | การเซ็นสลักหลังโดยระบุชื่อ | [kān sen salaklang dōi rabu cheū] (n, exp) EN: full endorsement | กระบุง | [krabung] (n) EN: bamboo basket ; closely wooven bamboo basket ; wicker basket ; grain basket with a square base FR: corbeille en bambou tressé [ f ] ; panier [ m ] ; boisseau de bambou [ m ] ; manne [ f ] | กระบุง | [krabung] (n) EN: former measure unit for grain FR: [ ancienne mesure de capacité ] ; picotin [ m ] | กระบุงโกย | [krabung kōi] (x) EN: ? FR: ? | ไม่ระบุ | [mai rabu] (v, exp) FR: non précisé ; non mentionné ; non spécifié | ไม่ระบุชื่อ | [mai rabu cheū] (adj) EN: anonymous FR: anonyme | ระบุ | [rabu] (v) EN: identify ; give the name ; specify ; mention ; name ; designate ; stipulate ; determine FR: mentionner ; nommer ; préciser ; spécifier | ระบุชัด | [rabu chat] (v, exp) EN: indicate | ระบุชื่อ | [rabu cheū] (v, exp) EN: mention by name ; specify ; name FR: nommer | ระบุวันที่ | [rabu wanthī] (v, exp) EN: date | ราคาไม่ระบุ | [rākhā mai rabu] (n, exp) FR: prix non communiqué [ m ] ; prix non mentionné [ m ] | สระบุรี | [Saraburī] (n, prop) EN: Saraburi FR: Saraburi |
| non-commissionable | (adj) [ ท่องเที่ยว, โรงแรม ] เป็นราคาที่ไม่สามารถให้ค่าตอบแทน (commission) ได้แล้ว เช่น การจองโรงแรมปกติอาจจะมีค่าตอบแทนให้แก่บริษัทท่องเที่ยวที่จองให้ลูกค้า แต่ถ้าราคามีการระบุว่า non-commissionable หมายความว่า บริษัทท่องเที่ยวนั้นๆ จะไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือส่วนลดใดๆ แล้วในกรณีนี้ | TL;DR | (phrase, slang) ย่อมาจาก too long; didn't read เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อระบุว่า ข้อความที่ตามมาจะเป็นการสรุปเนื้อหาสั้นๆ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาอ่านทั้งบทความ (ซึ่งมักจะต้องใช้เวลานาน) |
| an | (art) หนึ่ง (คำนำหน้าคำนามที่ออกเสียงสระและระบุว่าคำนามนั้นเป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ), Syn. one | an | (adj) หนึ่ง (คำนำหน้าคำนามที่ออกเสียงสระและระบุว่าคำนามนั้นเป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ), Syn. one | anonymous | (adj) นิรนาม, See also: ซึ่งไม่ระบุชื่อ, Syn. nameless, unsigned, unknown, Ant. named, signed | assign | (vt) กำหนด, See also: ระบุ, ตั้ง | appoint to | (phrv) กำหนด (เวลา) สำหรับ, See also: ระบุ เวลา เพื่อ | assign to | (phrv) ระบุว่าเป็นหรืออยู่ในช่วง, See also: ประกาศว่าเป็นของ | backdate | (vt) ลงวันที่หลังเช็คหรือเอกสารอื่น (ระบุวันก่อนวันจริง), See also: ลงวันที่ก่อนวันจริง หลังเช็คหรือเอกสารอื่น, Syn. antedate | basket | (n) ตะกร้า, See also: กระบุง, กระเช้า, กระจาด, Syn. hamper | bookplate | (n) ป้ายชื่อในหนังสือ (ระบุผู้เป็นเจ้าของหนังสือ) | Candlemas | (n) พิธีฉลองของชาวคริสต์ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ (จัดเพื่อระลึกพระแม่มารีและพระบุตรคือพระเยซู) | center out | (phrv) ระบุ (คำไม่เป็นทางการ), See also: เจาะจง, เลือก, Syn. centre out, single out | centre out | (phrv) ระบุ (คำไม่เป็นทางการ), See also: เจาะจง, เลือก, Syn. center out | disqualify for | (phrv) ตัดสิทธิ์ในเรื่อง, See also: ระบุว่าไม่เหมาะสมในเรื่อง | disqualify from | (phrv) ตัดสิทธิ์จาก, See also: ระบุว่าไม่เหมาะสมจาก | date | (vi) ระบุวันที่, See also: กำหนดวัน, ลงวันที่, Syn. date stamp, mark with a date | dated | (adj) ซึ่งลงวันที่ (หรือวันเดือนปี), See also: ซึ่งเขียนวันที่ หรือวันเดือนปี, ซึ่งระบุวันที่ หรือวันเดือนปี | death certificate | (n) มรณบัตร, See also: เอกสารทางราชการที่แพทย์ระบุสาเหตุของการตายไว้ | definable | (adj) ซึ่งกำหนดได้, See also: ซึ่งระบุได้ | define | (vt) กำหนด, See also: ระบุ, ทำให้ชัดเจน, Syn. identify, determine | demonstrative | (n) คำบ่งชี้, See also: คำสรรพนามที่ระบุว่าคน สัตว์ สิ่งของนั้นๆ แตกต่างจากสิ่งอื่น, Syn. determiner | describe | (vt) บรรยาย, See also: เล่า, พรรณนา, บอก, แถลง, ระบุ, Syn. express, harrate, report, quote | designate | (vt) กำหนด (มักใช้รูป passive voice), See also: อธิบาย, ระบุ, เลือก, Syn. detail, mark, indicate | determinable | (adj) ที่กำหนดได้, See also: ที่ระบุได้, Syn. definable | determine | (vt) กำหนด, See also: ระบุ, Syn. define, limit | enumeration | (n) การแจกแจง, See also: การระบุ, การจาระไน | Eurobond | (n) พันธบัตรในสกุลเงินต่างๆ ที่นำออกขายให้กับนักลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ได้ใช้สกุลเงินที่ระบุไว้ในพันธบัตร | faceless | (adj) ไร้ตัวตน, See also: ไร้เอกลักษณ์, ซึ่งไม่สามารถระบุตัว | identify | (vt) ระบุชื่อ, See also: ชี้ตัว, แสดงตัว, ชันสูตร, พิสูจน์, Syn. recognize | indicate | (vt) แสดง, See also: ให้สัญญาณของ, บ่งบอกถึง, ระบุ, Syn. show | lock in | (phrv) กำหนด, See also: ระบุให้มี | nominate to | (phrv) เสนอชื่อกับ, See also: ระบุชื่อต่อ | nominate | (vt) แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรับหน้าที่, See also: แต่งตั้ง, ระบุชื่อ, เลือกให้เป็น, Syn. choose, pick | par value | (n) ราคาที่ระบุไว้บนหน้าตั๋ว, See also: ราคาตามใบหุ้น, Syn. face value, original price | particularise | (vt) ทำให้เฉพาะเจาะจง, See also: ทำให้เป็นพิเศษ, เจาะจง, ระบุ, Syn. specify, indicate | particularize | (vt) ทำให้เฉพาะเจาะจง, See also: ทำให้เป็นพิเศษ, เจาะจง, ระบุ, Syn. specify, indicate | put one's finger on | (idm) ระบุสาเหตุหรือข้อบกพร่อง, Syn. lay on | Saraburi | (n) สระบุรี | Saraburi | (n) จังหวัดสระบุรี | schedule | (vt) ทำตารางเวลา, See also: ทำกำหนดการ, กำหนดรายการ, กำหนด, ระบุ | self-addressed | (adj) ซึ่งจ่าหน้าซองถึงตัวเอง, See also: ซึ่งระบุชื่อผู้ส่งเพื่อตอบจดหมาย, ซึ่งระบุผู้ส่งจดหมาย, ซึ่งส่งให้ตัวเอง | specify | (vt) กำหนด, See also: ระบุ, Syn. indicate, designate, cite | spotter | (n) ผู้ระบุเป้าหมายการยิงให้ทหารปืนใหญ่, See also: ผู้ระบุตำแหน่งของข้าศึก | stipulate | (vi) กำหนดเงื่อนไข, See also: ระบุเงื่อนไข, Syn. give terms, specify | stipulate | (vt) กำหนดเงื่อนไข, See also: ระบุเงื่อนไข, Syn. give terms, specify | stipulate for | (phrv) ระบุเงื่อนไข, See also: กำหนด, ระบุข้อตกลง | al | (suf) ระบุให้เป็นนามที่มาจากคำกริยา | ant | (suf) ระบุการเป็นบุคคล สิ่งของ หรือภาวะบางอย่าง | Trinitarianism | (n) ความเชื่อเรื่องพระบิดา พระบุตรและพระจิต (Trinity) | unidentified | (adj) ซึ่งไม่สามารถระบุได้, See also: ไม่สามารถแยกแยะได้, Syn. mysterious, Ant. identified | well-defined | (adj) ซึ่งระบุไว้ชัดเจน, See also: ซึ่งอธิบายหรือชี้แจงไว้ชัดเจน, ซึ่งให้ความหมายไว้ชัดเจน, Syn. clear, definite, distinct |
| almanac | (ออล' มะแนค) n. ปฏิทินประจำปีชนิดพิสดารที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ระบุไว้ด้วยรวมทั้งสถิติข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ, ปฎิทินประจำปี, ปฏิทินดาราศาสตร์ประจำปี, Syn. calendar | anonym | (แอน' โนนิม) n. ชื่อแฝง, ชื่อปลอม, คนที่ไม่แจ้งชื่อ, ผู้เขียนที่แฝงนาม, สิ่งตีพิมพ์ที่ไม่ระบุชื่อผู้เขียน, Syn. pseudonym | anonymous | (อะนอม' นิเมิส) adj. ไม่ระบุชื่อ, ปิดบังชื่อ. -anonymity, anonymousness n., Syn. nameless, Ant. signed | antivirus | ป้องกันไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ช่วยป้องกัน ตรวจหา และกำจัดไวรัสก่อนที่ไวรัสนั้นจะเข้ามาทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะสามารถระบุชื่อไวรัสได้ด้วยดู virus ประกอบ | assign | (อะไซนฺ') vt. กำหนด, มอบหมาย, นัด, ระบุ, จัดให้, มอบหมายให้, อ้างว่า, โอนสิทธิให้แก่. -vi. โอนทรัพย์สิน. -assigner, assignor n., Syn. designate, appoint, attribute | date | (เดท) { dated, dating, dates } n. วันที่, วันเดือนปี, วันนัด, การนัด, ผู้ถูกนัดหมาย (เพศตรงข้าม) , อายุ, ยุคสมัย v. ระบุวันที่, เป็นของยุคสมัย, นัดหมาย, ล้าสมัย, ออกไปพบตามนัด, ผลอินผลัม, date palm (ดู), See also: datable adj. ดูdate dateable adj. ดูdate data | describe | (ดิสไครบ์') vt. พรรณนา, บรรยาย, อ่าน, บอก, แถลง, ระบุ, วาด, ทำแผนภูมิ., See also: describable adj. ดูdescribe describer n. ดูdescribe, Syn. relate | designate | (เดซ'ซิเนท) vt. กะ, กำหนด, ระบุ, เรียกว่า, ตั้งชื่อ, ตั้ง. adj. ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือเลือกให้เป็น, See also: designative adj. ดูdesignate designatory adj. ดูdesignate designator n. ดูdesignate, Syn. name, select | designation | (เดซซิกเน'เชิน) n. การตั้ง, การระบุ, ชื่อ, ตำแหน่ง, การตั้งชื่อ, การเลือกตั้ง, See also: designed adj., Syn. nomination | enumerable | (อินิว'เมอระเบิล) adj. ซึ่งนับได้, ซึ่งยกตัวอย่างได้, ซึ่งระบุได้, ซึ่งจาระไนได้ | enumerate | (อินิว'มะเรท) vt. นับ, ยกตัวอย่าง, ระบุ, ยกขึ้นมากล่าว, จาระไน., See also: enumeration n. ดูenumerate enumerative adj. ดูenumerate enumerator n. ดูenumerate, Syn. tally | error code | รหัสระบุความผิดพลาดหมายถึง รหัสที่มีกำหนดไว้ เพื่อบ่งบอกข้อผิดพลาดต่าง ๆ ว่าเป็นข้อผิดพลาดจากสาเหตุใด เช่น ศัพท์ที่ใช้ในชุดคำสั่งภาษานั้น ๆ ตัวแปลภาษาไม่รู้จัก (bad command) หรือไวยากรณ์ผิด (syntax error) เป็นต้น | error messsage | ข้อความระบุความผิดพลาดหมายถึงข้อความที่เตือนบนจอภาพเพื่อบอกให้รู้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้นมีอะไรผิด อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ใช้ใช้คำสั่งผิด หรือทำผิดขั้นตอน สำหรับเครื่องแมคอินทอช ถ้าเป็นความผิดรุนแรง อาจเห็นเป็นลูกระเบิดบนจอภาพ ในกรณีที่เป็นเช่นนี้ จะต้องเริ่มต้นใหม่หมด | finger | (ฟิง'เกอะ) n. นิ้วมือ, ความยาวเป็นนิ้วมือ (ประมาณ4 นิ้ว) , ความกว้างของนิ้วมือ (เป็นหน่วยวัด) , สิ่งที่คล้ายนิ้วมือ, ส่วนที่ยื่นออกของเครื่องจักร. -Phr. (put one's finger on ระบุ, ชี้บ่ง) vt. แตะด้วยนิ้ว, เล่น (ดนตรี) ด้วยนิ้ว. vt. ใช้นิ้วมือเล่น. คำศัพท์ย่อย: | incognito | (อินคอก' นิโท) adj., adv. ไม่ระบุนาม, ไม่เปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม. -n. ผู้ไม่เปิดเผยชื่อเสียง, การไม่เปิดเผยชื่อเสียง, นามแฝง | legged | (เลก'กิด) adj. มีขา, มีจำนวนหรือชนิดของขาที่ระบุไว้ | letter of credit | n. หนังสือจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง ให้จ่ายเงินในจำนวนที่ระบุไว้แก่บุคคลที่ระบุไว้ | masterhead | (มาส'เทอะเฮด) n. หัวเสา, ส่วนสูงสุดของเสา, ข้อความระบุชื่อผู้พิมพ์ เจ้าของและกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ , ป้ายชื่อ. vt. ชักขึ้น. adj. สู่ยอดเขา | namable | (เน'มะเบิล) adj. ระบุชื่อได้, เปิดเผยชื่อได้ | name | (เนม) n. ชื่อ, นาม vt. ตั้งชื่อ, ระบุชื่อ | nameable | (เน'มะเบิล) adj. ระบุชื่อได้, เปิดเผยชื่อได้ | nominate | (นิม'มิเนท) vt. เสนอชื่อเพื่อให้เลือกตั้ง, แต่งตั้ง, ตั้งชื่อ, ระบุชื่อ. adj. เกี่ยวกับชื่อเฉพาะ., See also: nominator n., Syn. name | nominative | (นอม'มะเนทิฟว) adj. เกี่ยวกับการเสนอชื่อเข้ารับเลือกตั้ง, ระบุชื่อ. n. ประธานของประโยค, กรรตุการก | non system disk | จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลระบบหมายถึง จานบันทึกที่ไม่สามารถนำมาใช้ ในการเริ่มเครื่องใหม่ (boot) ได้ ทั้งนี้ เพราะเมื่อจัดระบบการเก็บข้อมูล (format) ไม่ได้สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลระบบมาด้วย แฟ้มข้อมูลระบบมี 3 แฟ้ม คือ Ibmbio.Com (Io.Sys) , Ibmdos.Com (Msdos.Sys) และ Command.Com สองแฟ้มแรกจะซ่อนอยู่ (hidden file) มองไม่เห็นบนจอภาพ จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลระบบทั้งสามนี้ เมื่อนำมาเริ่มเครื่องใหม่ จะมีข้อความระบุความผิดพลาดบนจอภาพ ว่า เป็น non-system disk และจะมีคำสั่งว่าให้กดแป้นใด ๆ ก็ได้เพื่อคอมพิวเตอร์จะได้ไปหาแฟ้มระบบนี้ในหน่วยบันทึกอื่นต่อไป | page | (เพจ) n. หน้าหนังสือ, ใบ, เด็กรับใช้ที่เป็นผู้ชาย, คนหนุ่มที่ได้รับการฝึกให้เป็นอัศวิน, มหาดเล็กของราชสำนัก vt. เรียกชื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้มา, ระบุหน้า. vi. เป็นเด็กรับใช้เป็น, พลิกหน้า คนรับใช้, See also: pagehood n. pageship n. | particularise | (พาร์ทิค'คิวละไลซ) vt. ทำให้เป็นลักษณะเฉพาะ, ระบุ, แจ้งละเอียด, แยกรายละเอียด, เจาะจง, กวดขัน., See also: particularisation n. particularization n. particulariser n. particularizer n | particularize | (พาร์ทิค'คิวละไลซ) vt. ทำให้เป็นลักษณะเฉพาะ, ระบุ, แจ้งละเอียด, แยกรายละเอียด, เจาะจง, กวดขัน., See also: particularisation n. particularization n. particulariser n. particularizer n | post | (โพสทฺ) n. เสา, หลัก, ตำแหน่ง, หน้าที่, ที่มั่น, การไปรษณีย์, ไปรษณียภัณฑ์, เที่ยวเมล์, ที่ทำการไปรษณีย์, vt. ปิดประกาศ, ประกาศ, ประจาน, จัดกำลัง, แต่งตั้งให้ประจำตำแหน่ง vt. ใส่จดหมายลงในตู้ไปรษณีย์, ส่งจดหมาย, ย้าย, แจ้ง. vi. ขี่ม้าเร็ว, เดินทางอย่างรวดเร็ว. adv. รีบเร่ง, โดยทางไปรษณีย์, โพสต์ <คำอ่าน>ย่อมาจาก power-on self-test เป็นแบตเตอรี่ตัวหนึ่งในพีซี ที่จะทำหน้าที่ทันทีที่เมื่อมีการเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการตรวจสอบขั้นต้นให้ว่า อุปกรณ์ ทุกชิ้นทำงานได้ตามปกติหรือไม่ หากมีส่วนใดไม่ปกติ ก็จะแสดงข้อความระบุความ ผิดพลาด (error message) ให้บนจอภาพ และจะรอจนกว่าจะมีการสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีการแก้ไข เสร็จแล้วจึงจะทำงานต่อ | random file | แฟ้มสุ่มหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บระเบียน (record) กระจายออกไปในเนื้อที่จัดเก็บบนสื่อต่าง ๆ (medium) โดยไม่เรียงไปตามลำดับก่อนหลังอย่างแฟ้มลำดับ (sequential file) ตำแหน่งของระเบียนมักจะขึ้นอยู่กับเขตหลัก (key field) เขตหลักนี้จะขึ้นกับฟังก์ชันแบบแฮช (hashing function) เพื่อระบุตำแหน่งที่แน่นอนในที่จัดเก็บมีความหมายเหมือน direct fileดู random access ประกอบ | receipt | (รีซีท') n. ใบเสร็จรับเงิน, ใบเสร็จรับของ vt., vi. ระบุว่าได้รับ, ออกใบเสร็จรับของหรือเงิน, ประทับตรารับเงิน, See also: receipts n., pl. จำนวนหรือปริมาณที่ได้รับ, การได้รับ, สิ่งที่ได้รับ, รายรับ, Syn. reception | recount | (รีเคานทฺ') vt., n. (การ) นับอีก, นับใหม่, คำนวณใหม่, คิดใหม่, บรรยาย, สาธยาย, เล่า, ระบุ | self-addressed | adj. ระบุชื่อที่อยู่ของผู้ส่ง (บนซองจดหมายที่ แนบไปด้วย) | specialise | (สเพช'เชิลไลซ) vi., vt. เป็นผู้เชี่ยวชาญ, ศึกษาเป็นพิเศษ, ปรับให้เข้าสภาวะบางอย่าง, ระบุ, กำหนดขอบเขต., See also: specialisation n. specialization n., Syn. concentrate on, major in | specialize | (สเพช'เชิลไลซ) vi., vt. เป็นผู้เชี่ยวชาญ, ศึกษาเป็นพิเศษ, ปรับให้เข้าสภาวะบางอย่าง, ระบุ, กำหนดขอบเขต., See also: specialisation n. specialization n., Syn. concentrate on, major in | specifiable | (สเพส'ซะไฟ'อะเบิล) adj. กำหนดได้แน่นอน, ระบุได้แน่นอน, เจาะจงได้ | specific | (สพิซิฟ'ฟิค) adj. โดยเฉพาะ, เจาะจง, พิเศษ, จำเพาะ, ตามชนิด, ระบุ, กำหนด, (ฟิสิกส์) เปรียบเทียบ. n. สิ่งที่เจาะจง, ยาสำหรับโรคเฉพาะ, น้ำหนักพิกัด, เกณฑ์., See also: specifically adv. specificity n., Syn. definite, particular | specify | (สเพส'ซิไฟ) vt., vi. กำหนด, ระบุ, ระบุรายละเอียด, อธิบายอย่างละเอียด, ระบุชื่อ., See also: specificative adj. specifier n., Syn. particularize, detail, name | stipulate | (สทิพ'พิวเลท) vi. ระบุ, กำหนด, วางเงื่อนไข. vt. ระบุ, กำหนด, สัญญา, รับรอง, นัดหมาย. -stipulable adj., See also: stipulator n. stipulatory adj., Syn. require | stipulation | (สทิพพิวเล'เชิน) n. การระบุ, การกำหนด, เงื่อนไข, เงื่อนบังคับ, สัญญา, ข้อตกลง, ข้อกำหนด, Syn. provision, condition | tag | (แทก) n. หัวหุ้มปลายเชือกผูกรองเท้า, หูหลังรองเท้า, แผ่นกลม, โลหะกลม, ป้ายติดราคา, สายโยง, สายคาด, ชายหรือปลายหางของสิ่งหนึ่ง ๆ , สิ่งต่อท้าย, บทลูกคู่, ฉายา, การเล่นไล่จับของเด็ก vt. ติดป้ายบอกราคา, ติดแผ่นกลม, ติดกระจุก, ต่อ, ติดตาม, ต่อท้าย, ทำให้รวมกัน, ประมาณ, ไล่หลัง, ป้ายระบุหมายถึงรหัสที่ใส่ในแฟ้มข้อมูล หรือใช้ในเรื่องของโครงสร้างข้อมูล (data structure) ที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่า จะต้องมีการตีความเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ นิยมใช้ป้ายระบุนี้ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน คำสั่งในภาษา HTML ก็นิยมให้ใช้ป้ายระบุนี้ดู HTML ประกอบ | tagged image file format | รูปแบบแฟ้มภาพพร้อมป้ายระบุเป็นวิธีการเก็บภาพแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ เน้นเรื่องระดับสีของสีเทา ภาพเหล่านี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .tiff ใช้เนื้อที่มากกว่าการเก็บภาพประเภทอื่น (การเก็บภาพประเภทอื่นนั้น นอกจากที่ใช้นามสกุลนี้ ก็มี .bmp , .jpg เป็นต้น) | tiff | (ทิฟ) n. การทะเลาะกันเล็กน้อย, การมีปากเสียงกันเล็กน้อย, อารมณ์เล็กน้อย, การจิบเครื่องดื่ม. vi. ทะเลาะกันเล็กน้อย, จิบเครื่องดื่ม ทิฟย่อมาจาก tagged image file (แปลว่า รูปแบบแฟ้มภาพพร้อมป้ายระบุ) เป็นรูปแบบของการเก็บภาพแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ เน้นในเรื่องระดับสีของสีเทา ภาพเหล่านี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .tiff ใช้เนื้อที่มากกว่าการเก็บภาพประเภทอื่น (การเก็บภาพประเภทอื่นนั้น นอกจากที่ใช้นามสกุลนี้ ก็มี .bmp , .jpg เป็นต้น) | vintage | (วิน'ทิจฺ) n. เหล้าองุ่น, การกลั่นเหล้าองุ่น, การเก็บเหล้าองุ่น, ระยะเวลาการเก็บเหล้าองุ่น, กระบวนการทำเหล้าองุ่น, ผลิตภัณฑ์ในรุ่นเดียวกัน, บุคคลรุ่นเดียวกัน. adj. เกี่ยวกับเหล้าองุ่นหรือการทำเหล้าองุ่น, เป็นเหล้าองุ่นรุ่นที่ระบุไว้, เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นหนึ่ง ๆ | well-defined | (เวล'ดิไฟนดฺ) adj. ระบุไว้ชัดเจน, อธิบายหรือชี้แจงไว้ชัดเจน, ให้ความหมายว่าชัดเจน |
| anonymous | (adj) ไม่ระบุชื่อ | basket | (n) ตะกร้า, กระจาด, กระเช้า, กระบุง, เข่ง | date | (vt) ลงวันที่, กำหนดวันที่, ระบุวันที่, นัดหมาย, ล้าสมัย | designate | (vt) กะ, เรียกขาน, ระบุ, ตั้งชื่อ, บ่งชี้, กำหนด | designation | (n) การแต่งตั้ง, ชื่อ, ตำแหน่ง, การตั้ง, การเรียกขาน, การระบุ | designedly | (adv) โดยวางแผนไว้แล้ว, โดยเจตนา, โดยระบุไว้แล้ว | enumeration | (n) การแจกแจง, การจาระไน, การนับ, การระบุ | incognito | (adv) ไม่เผยตัว, ไม่ระบุนาม | nameless | (adj) ไม่มีชื่อ, ไม่ระบุชื่อ, นิรนาม | nominate | (vt) ตั้งชื่อ, แต่งตั้ง, ระบุชื่อ, เสนอชื่อ | particularize | (vt) ชี้เฉพาะ, กล่าวโดยละเอียด, เจาะจง, ระบุ | rehearsal | (n) การแจ้ง, การซ้อม, การระบุ, การเล่า, การท่อง | rehearse | (vt) แจ้งรายการ, ซ้อม, ระบุ, เล่า, ท่อง, ฝึกซ้อม | specialize | (vt) ศึกษาเฉพาะสาขา, มีความชำนาญเป็นพิเศษ, ระบุ | specify | (vt) บ่ง, เจาะจง, ระบุ, กำหนด | stipulate | (vi) วางเงื่อนไข, ตกลงกัน, กำหนด, ระบุ | stipulation | (n) ข้อกำหนด, การวางเงื่อนไข, การระบุ, ข้อตกลง |
| cbd | (abbrev) ย่อมาจาก "central business district" มักใช้ในการประชาสัมพันธ์สถานที่เพื่อระบุว่า อยู่ในเมือง เช่น "Bangkok CBD" เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ หรือรับสมัครงาน ฯลฯ | consignee | [คันไซ้นี่] (n) ผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้า หากระบุในใบตราส่งจะอยู่ในช่องที่ 2 อ้านซ้ายริมบน ซึ่งมีเรียงกัน 3 ช่องเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด คือ ช่อง 1 Shipper คือ ผู้ส่งสินค้าซึ่งจะเป็นใครก็ได้ ช่อง 2 Consignee คือ ผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้า จะระบุต้นทาง หรือปลายทางก็ได้ตามบริบทแวดล้อม ช่อง 3 คือ Notify Party คือ ผู้รับแจ้งเมื่อมีการส่งสินค้าออกไปจากต้นทางแล้ว | finantify | [ไฟเนินทิไฟ] (vt) ระบุการเงิน | Free Carrier ( FCA ) | การเสนอราคา ที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดสินค้าส่งมอบให้กับผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง(เช่น บรรดาบริษัท shipping ต่างๆ) ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้เพราะฉะนั้นในการเสนอราคา ผู้ขายก็จะเสนอราคาขาย ที่บวกค่าส่งมอบสินค้าในเบื้องต้นลงไปด้วย | hierarchy of genres | [ไฮ-รา-คี-ออฟ-เจ็น-เรส] (n) การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ เป็นทฤษฎีการจัดประเภทของศิลปะ (genre) ตามระดับความสำคัญที่ระบุไว้เช่นในการจัดของสมาคมศิลปะแห่งฟลอเรนซ์ และในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอังเดร เฟลิเบียงแห่งสถาบันศิลปะฝรั่งเศสที่ลำดับเป็นห้าลำดับ: ภาพประวัติศาสตร์และศาสนา, ภาพเหมือน, ภาพชีวิตประจำวัน, ภาพภูมิทัศน์ และภาพนิ่ง (Source: visual-arts-cork.com) | RUN OF THE HOUSE | [しゅつにゅう] (n) ที่พักที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นประเภทใด แต่จะเป็นห้องว่างในอาคารนั้นๆ | track | (n) สิ่งที่ระบุตำแหน่งของภาพวีดีโอหรือเสียง | ้however described | ไม่ว่าจะระบุเช่นไรก็ตาม |
| 下記 | [かき, kaki] ดังต่อไปนี้ ระบุไว้ด้านล่าง ระบุไว้ตอนท้าย | 信用状 | [しんようじょう, shinyoujou] (n) หนังสือจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง ให้จ่ายเงินในจำนวนที่ระบุไว้แก่บุคคลที่ระบุไว้ | 御中 | [おんちゅう, onchuu] คำต่อท้ายชื่อหน่วยงาน ในการจ่าหน้า ในกรณีที่ไม่ระบุชื่อบุคคล |
| 明示 | [めいじ, meiji] TH: การระบุหรือชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้ง EN: specification (vs) | 指定 | [してい, shitei] TH: ระบุ EN: designation (vs) | 指定 | [してい, shitei] TH: การระบุคุณสมบัติเฉพาะ EN: specification | 識別 | [しきべつ, shikibetsu] TH: การระบุลักษณะเฉพาะ EN: identification |
| fallen | (vi) |fällt, fiel, ist gefallen, mit Ortsangabe| ตก, หล่น (ส่วนใหญ่ระบุสถานที่เกิดเหตุด้วย) เช่น In diesem Jahr ist noch kein Schnee gefallen. ปีนี้ยังไม่มีหิมะตกเลย , Er ist von dem Baum gefallen. เขาตกลงมาจากต้นไม้ต้นนี้, See also: hinfallen | England | (uniq) |คำนามเฉพาะ ถูกใช้ไม่ระบุ Artikel| ประเทศอังกฤษ, See also: Related: englisch | hinfallen | (vi) |fällt hin, fiel hin, ist hingefallen, ohne Ortsangabe| หกล้มลงไปบนพื้นหรือลื่นล้ม (ไม่ต้องระบุสถานที่) เช่น Die Straße war spiegelglatt! Ich bin mehrmals hingefallen. ถนนลื่นมาก ฉันหกล้มไปหลายรอบเลย, See also: fallen | Vereinbarung | (n) |die, pl. Vereinbarungen| ข้อตกลง, ข้อกำหนด, การระบุ, การกำหนด, เงื่อนไข, เงื่อนบังคับ, สัญญา, Syn. Abmachung |
| Noël | |m, ปกติใช้โดยไม่มีการระบุเพศ| วันคริสต์มาส เช่น 1. Noël est le 25 décembre. คริสมาสต์คือวันที่ 25 ธันวาคม 2. Bon Noël! หรือ Joyeux Noël! สุขสันต์วันคริสต์มาส Image: | à | (prep) ที่ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Nous sommes allés à Paris. พวกเราไปปารีสกันมา | à | (prep) ใน (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Notre fils vit à Paris. ลูกชายของเราอาศัยอยู่ในปารีส | dans | (prep) ใน (บุพบทระบุสถานที่ บ่งชัดว่าอยู่ 'ใน' กว่า à) เช่น Nous soomes descendus dans un petit hôtel qui se trouve dans une rue tranquille. | en | (prep) ที่ (บุพบทระบุสถานที่ ส่วนใหญ่ตามด้วยชื่อประเทศ) เช่น Je viens assez souvent en France. ผมไปฝรั่งเศสค่อนข้างบ่อย | en | (prep) ใน (บุพบทระบุสถานที่ ส่วนใหญ่ตามด้วยชื่อประเทศ) เช่น Mon fils habite en France depuis des années. ลูกชายของฉันอยู่ที่ฝรั่งเศสมาหลายปี | de | (prep) จาก (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Sa fiancée est de Valence, elle est du Midi. | loin de | (prep) ไกลจาก (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Notre hôtel n'est pas loin de Notre-Dame. โรงแรมของพวกเราอยู่ไม่ไกลจากนอทรดาม | près de | (prep) ใกล้กับ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Il est donc près du Quartier Latin. | devant | (prep) ข้างหน้า (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Devant l'hôtel, il y a un grand parking. ที่หน้าโรงแรมมีที่จอดรถใหญ่ | derrière | (prep) ข้างหลัง (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Derrière l'hôtel se trouve un petit jardin. ข้างหลังโรงแรมมีสวนเล็กๆ หนึ่งสวน | autour de | (prep) รอบๆ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Autour du jardin, il y a un vieux mur. รอบๆสวนมีกำแพงเก่าอยู่ | contre | (prep) ติดกับ, อิงกับ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Le jardinier a posé une échelle contre le mur. คนทำสวนวางบันไดลิงอิงกับกำแพง | au milieu de | (prep) ตรงกลาง, ใจกลาง (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Au milieu du jardin, il y a une fontaine. ตรงกลางของสวนมีน้ำพุ | en face de | (prep) ตรงข้ามกับ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น En face de l'hôtel se trouve une banque. มีธนาคารหนึ่งแห่งอยู่ตรงข้ามกับโรงแรม | à côté de | (prep) ข้างๆ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น A côté de l'hôtel, il y a des magasins. ข้างๆ โรงแรมมีร้านขายเสื้อผ้าหลายร้าน | du côté de | (prep) ใกล้กับ (บุพบทระบุสถานที่) เช่น Du côté de la gare, il y a beaucoup de cafés. ใกล้ๆกับโรงแรมมีร้านกาแฟมากมาย | RIB | (n, abbrev) (relevé d'identité bancaire) ใบแสดงรายละเอียดเกี่ยวับบัญชีธนาคาร มีระบุหมายเลขบัญชี ชื่อผู้เปิดบัญชี หมายเลขสาขา เป็นต้น เช่น Vous recevrez un fax de confirmation d’ouverture avec un RIB (Relevé d’Identité Bancaire)., Depuis les années 1970, c'est le R.I.B. (Relevé d'Identité Bancaire) qui a été utilisé pour traiter les opérations bancaires domestiques. |
| be supposed to | น่าจะ, ควรจะ, เป็นการแสดงความคาดหวังของผู้พูดต่อประธานในประโยคว่าน่าจะทำกริยาที่ระบุไว้ | je-ne-sais-pas-quoi | (n) สิ่งที่ระบุไม่ได้, สิ่งที่บอกชื่อไม่ได้, อะไรบางอย่าง, See also: quelque chose que l'on ne peut identifier |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |