จาตุมหาราช | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า (ดู ฉกามาพจร ประกอบ) |
จาตุมหาราช | เรียกหัวหน้าเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า. (ป., ส.). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ธงมหาราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงมหาราชใหญ่ | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง. |
มหาราช | น. คำซึ่งมหาชนถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ |
มหาราช | ชื่อธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เรียกว่า ธงมหาราช |
มหาราช | ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๑ ของมหาชาติ. |
มหาราชลีลา | น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา. |
วันปิยมหาราช | น. วันที่ระลึกเนื่องในวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม. |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กมณฑลาภิเษก | (กะมนทะ-) น. หม้อนํ้าสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก (ม. คำหลวง มหาราช). |
กมณฑโลทก | (กะมนทะ-) น. นํ้าในหม้อ เช่น ชำระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรพินธุ์ | (กอระ-) น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรรณยุคล | (กันนะ-) น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรลุมพาง | (กฺระ-) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรในใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง (ม. คำหลวง มหาราช). |
กระคาย | ก. ระคาย เช่น บุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน (ม. ฉันท์ มหาราช). |
กระทรวง ๑ | (-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก). |
กระไทชาย | น. กระทาชาย, คนผู้ชาย, เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช). |
กระเวนกระวน | ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กริตย- | (กฺริดตะยะ-) ก. ทำ เช่น พระบาทสญไชยก็ชำระกริตยภิษิตสรรพางค์ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรี ๑ | (กะรี) น. ช้าง เช่น ถัดนั้นพลนิกรพวกกรี (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรุน | (กฺรุน) ก. ตัด, ทำลาย, เช่น จะกรุนจะกราดสงคราม (ม. ฉันท์ มหาราช). |
กะกร้าว | ว. กร้าว, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง (ม. คำหลวง มหาราช). |
กัณฐี | (กันถี) น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น (ม. คำหลวง มหาราช). |
กัลเว้า | (กันเว้า) ว. พูดอ่อนหวาน, พูดเอาใจ, เช่น ก็มีพระราชโองการอนนกัลเว้า (ม. คำหลวง มหาราช). |
กามภพ | น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. |
กุรุพินท์ | น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น จงแต่งเขนต่างขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กุเวร | (-เวน) น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศอุดร, ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. |
โกมล ๒ | น. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล (ม. คำหลวง มหาราช). |
ขวัดขวิด | (ขฺวัดขฺวิด) ก. กวัดไกว เช่น เท้ากวัดขวัดขวิดคือควัน (ม. ฉันท์ มหาราช). |
ขะแถก | ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี (ม. คำหลวง มหาราช). |
ขัด ๔ | ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก (ม. ร่ายยาว มหาราช). |
คลิด | (คฺลิด) ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด (ม. คำหลวง มหาราช). |
คายัน | ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน (ม. คำหลวง มหาราช). |
คุณนาม | (คุนนะ-) น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช |
เคน ๑ | น. เครื่องเป่า เช่น ปยวปี่แก้วเคนผสาร (ม. คำหลวง มหาราช). |
เคน ๒ | ก. ประเคน เช่น สิ่งสินเวนเคน (ม. คำหลวง มหาราช). |
เครื่องเล่น | น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทำนองตลกขบขันหรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช. |
จตุโลกบาล | (-โลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จัตุโลกบาล | (จัดตุโลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. |
จำบัง ๒ | ก. กำบังกาย, หายตัวไป, เช่น โจนจำบับจำบัง (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำบับ | ก. จับ เช่น โจนจำบับจำบัง (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำเบศ | ความหมายอย่างเดียวกับ จำบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จำเบศจำบัง (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำรูญ | ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำแล่น | ก. ให้แล่น เช่น ตีด้วยเชือกเขาแขง ไม้ท้าวแทงจำแล่นแล (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำหัน ๒ | โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำหาย ๒ | ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า (ม. คำหลวง มหาราช). |
จินดามณี | ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. |
ฉกามาพจร, ฉกามาวจร | (ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน) น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. |