Cyclotron | ไซโคลทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไปคล้ายก้นหอย เมื่อได้ความเร็วที่ต้องการ อนุภาคจะถูกปล่อยให้ชนกับวัสดุที่ใช้เป็นเป้า เครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ใช้ในการวิจัยฟิสิกส์มูลฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ประดิษฐ์ คือ เออร์เนสต์ โอ. ลอว์เรนซ์ (Earnest O. Lawrence) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2482 [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Dry farming | การทำนาปรัง [TU Subject Heading] |
cyclotron | เครื่องไซโคลตรอน , เป็นเครื่องสำหรับเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คือ Earnest O. Lawrence ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2482 ในเครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไป เมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ก็จะถูกปล่อยให้ไปชนกับเป้าที่ต้องการ เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Single Photon Emission Computed Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายที่ต้องการตรวจ โดยการให้สารเภสัชรังสีแก่คนไข้ แล้วทำการตรวจวัดรังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากสารเภสัชรังสีนั้น ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า "กล้องถ่ายแกมมา (gamma camera)" ซึ่งมีทั้งแบบที่หมุนได้ และแบบอยู่กับที่รอบตัวคนไข้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะแปลข้อมูลที่ได้ออกมาให้เห็นเป็นภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสี โดยสร้างภาพตัดเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ทำให้สามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะได้ โดยดูการกระจายตัวของสารเภสัชรังสี แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถตรวจวัดได้ เทคนิคSPECT สามารถตรวจอวัยวะหรือระบบอวัยวะใดๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสารเภสัชรังสีที่ให้ เป็นวิธีที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของความผิดปกติ ทั้งทางกายภาพและทางสรีรวิทยาในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ซึ่งเป็นข้อดีทางเทคนิคนี้ จึงนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจ โรคลมบ้าหมู และโรคมะเร็ง ข้อได้เปรียบของเทคนิคนี้ ต่อ PET คือ ไม่ต้องใช้เครื่องไซโคลตรอนในการผลิตไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |
Calcium Radioisotopes | แคลเซียมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Cerium Radioisotopes | ซีเรียมกัมมันตรังสี, ซีเรียมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Chromium Radioisotopes | โครเมียมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Cobalt Radioisotopes | โคบอลต์ไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
ovary | รังไข่, อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย รังไข่ของสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมน ส่วนรังไข่ของพืชดอกมีออวุลอยู่ภายใน เมื่อเจริญเติบโตต่อไปรังไข่จะกลายเป็นผล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
X-rays | รังสีเอกซ์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นระหว่างรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีแกมมา รังสีเอกซ์เกิดขึ้นจากการยิงอิเล็กตรอน พลังงานจลน์สูงเข้าชนอะตอมของเป้าโลหะ แล้วอิเล็กตรอนจะมีความเร็วลดลงและคายพลังงานในรูปรังสีเอกซ์ การเกิดรังสีเอกซ์อีกวิธีหนึ่ง คือ อิเล็กตรอนพลั [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dry season rice | ข้าวนาปรัง, ดู off season rice [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
off season rice [ dry season rice ] | ข้าวนาปรัง, ข้าวที่ได้จากการปลูกนอกฤดูฝน โดยอาศัยการชลประทาน ปีหนึ่งอาจปลูกได้หลายครั้ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Gallium Radioisotopes | กาเลืยมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Iodine Radioisotopes | ไอโอดีนไอโซโทปรังสี, ไอโอดีนกัมมันตรังสี [การแพทย์] |
Iron Radioisotopes | เหล็กกัมมันตรังสี, เหล็กไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Mercury Radioisotopes | ปรอทไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |