Search result for

national bibliography

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -national bibliography-, *national bibliography*
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
National bibliographyบรรณานุกรมแห่งชาติ, Example: หมายถึง บรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมทั้งบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าสิ่งพิมพ์นั้นจะตีพิมพ์ในประเทศใด แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตหรือสื่อสำหรับบันทึกความรู้ก้าวหน้าไปมาก ขอบเขตของการรวบรวมสิ่งพิมพ์ในบรรณานุกรมแห่งชาติขยายขอบเขตของสื่อบันทึกความรู้ออกตามไปด้วย <p>การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหน้าที่หนึ่งของหอสมุดแห่งชาติแต่ละประเทศ การจัดหาสิ่งพิมพ์หรือวัสดุเพื่อนำมาจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ทำได้โดย <p>1. การขอความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ในการส่งสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ มาให้ แต่เนื่องจากสิ่งพิมพ์อาจจะมีการผลิตโดยมิได้ผ่านสำนักพิมพ์ อาจจะเป็นกระบวนการที่ทำให้หอสมุดแห่งชาติไม่สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ในส่วนนี้ได้ หอสมุดแห่งชาติต้องมีการติดตามสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่นๆ อย่างใกล้ชิด <p>2. จัดหาตัวแทนให้ทำหน้าที่รวบรวมหนังสือและวัสดุที่ออกใหม่โดยสำนักพิมพ์ทั้งหมดในประเทศและที่ออกโดยส่วนราชการและโดยเอกชน <p>3. ออกกฎหมายกำหนดให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์หรือผู้ผลิตส่งสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่นๆ มาให้หอสมุดแห่งชาติเพื่อจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ <p>หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน เป็นตัวอย่างของหอสมุดแห่งชาติในการรวบรวมสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ (United States Copyright Office) ที่จะต้องส่งสิ่งพิมพ์อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับให้กับหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ส่งผลให้กลายเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยการจัดเก็บหนังสือที่ผลิตใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถึงจำนวน 126 ล้านรายการ [ 1 ] และด้วยระบบการจัดทำ Cataloging ของหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ที่มีความสมบูรณ์ในกระบวนการจัดทำรายการบรรณานุกรมของหนังสือ กล่าวคือ สำนักพิมพ์จะต้องส่งแบบฟอร์มการลงรายการบรรณานุกรม (CIP Data Application form) พร้อมเอกสารฉบับเต็มมายังหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ซี่งเจ้าหน้าที่ของงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศกำหนดการลงรายการบรรณานุกรม พร้อมส่งกลับไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อจัดพิมพ์ข้อมูลบรรณานุกรมดังกล่าวลงในหน้าหลังหน้าปกใน (Verso) ซึ่งรูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ก็จะถูกส่งออกไปยังห้องสมุด และร้านค้าหนังสือทั่วโลก แต่กระบวนการกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์จนกว่าสำนักพิมพ์ จะส่งหนังสือกลับมายังงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเติมข้อมูล ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น จำนวนหน้า ขนาดและตรวจสอบความถูกต้องจากการพิมพ์ของสำนักพิมพ์อีกครั้ง หลังจากการตรวจสอบ รูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้จะถูกเผยแพร่อีกครั้ง จากกระบวนการดังกล่าวนี้เอง ทำให้หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน สามารถจัดเก็บหนังสือทุกเล่มที่ผลิตในประเทศ และเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ อย่างครบถ้วน <p>หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ ด้วยกรอบของวิธีการ 2 แนวทาง [ 2 ] กล่าวคือ กฎหมายการพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับหอสมุดแห่งชาติในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ของ ประเทศ และการแบ่งปันรายการบรรณานุกรมระหว่างห้องสมุดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย ก็คือ การกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ซึ่งมีกระบวนการที่ไม่ต่างจากหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกันเท่าใดนัก นับตั้งแต่สำนักพิมพ์ส่งงานที่จะพิมพ์พร้อมเลข ISBN ที่ได้รับมาจากตัวแทนออกเลข ISBN จนถึงส่งมาให้หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลียจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำ CIP คือ การส่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเข้าหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย <p>ส่วนหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (The British Library) [ 3, 4 ]ทำหน้าที่ในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตในสหราชอาณาจักรและสาธารณ รัฐไอแลนด์ และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ โดยสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอแลนด์จะต้องส่งสิ่งพิมพ์แก่ The Legal Deposit Office ของ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (Copyright acts) โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2493 สำหรับสื่อตีพิมพ์ และ ปี พ.ศ. 2546 สำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ “The Legal Deposit Libraries Shared Cataloging Programme : LDLSCP” ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันในการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ และการแบ่งปันข้อมูลระหว่างห้องสมุด เฉพาะเดือน เม.ย. พ.ศ. 2546 ถึง เดือน มี.ค. พ.ศ. 2547 ทำให้มีจำนวนข้อมูลบรรณานุกรม 87, 764 รายการ โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีจำนวนรายการข้อมูลเพิ่มขึ้น 50, 000 รายการ <p>ขณะที่ สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือที่จัดพิมพ์หนังสือใหม่ [ 5 ]ซึ่งต้องการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ (Cataloguing-in-Publication - CIP) รวมถึงห้องสมุดที่ต้องการข้อมูลหนังสือใหม่เพื่อแจ้งไปยังผู้ใช้บริการในรูป แบบของ Alert servicees จะต้องติดต่อขอรับบริการข้อมูล CIP ที่ Bibliographic Data Services Limited - BDSL ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ CIP ซึ่งมีมาตรฐานตามที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษกำหนด ด้วยการติดต่อตรงไปยัง BDSL หรือติดต่อผ่านไปที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ทั้งนี้ข้อมูล CIP ที่ได้อาจใช้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม จนกว่าหอสมุดแห่งชาติอังกฤษจะได้รับตัวเล่มจากสำนักพิมพ์ จึงจะมีการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบ ถ้วน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่ถาวรต่อไป <p>หอสมุดแห่งชาติของไทย เริ่มจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 โดยร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และสามารถรวบรวมบรรณานุกรมแห่งชาติเป็นรูปเล่มเพียงเล่มเดียวสำหรับ พ.ศ. 2502 งานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประสบอุปสรรค เนื่องจากจุดอ่อนของพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2474 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2485 มีการกำหนดให้ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาส่งสิ่งพิมพ์ให้แก่หอสมุดแห่งชาติจำนวน 2 ฉบับ ภายใน 7 วันนับแต่มีการพิมพ์ ผู้ฝ่าฝืนถูกปรับไม่เกิน 12 บาท แต่ไม่มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานราชการที่ผลิตสิ่งพิมพ์ หอสมุดแห่งชาติได้รับสิ่งพิมพ์ของหน่วยราชการไว้ไม่ถึงครึ่ง และผู้พิมพ์จำหน่ายพอใจที่จะถูกปรับมากกว่าจะส่งให้แก่หอสมุดแห่งชาติ <p>หอสมุดแห่งชาติได้เริ่มกลับมาดำเนินงานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติอย่างจริงจัง อีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำ [ 6 ] ได้แก่ เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำหรับกำหนดเลขประจำหนังสือตามมาตรฐานสากล (International Standard Book Number - ISBN) ด้วยความร่วมมือกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ส่งเสริมให้มีการบันทึกข้อมูลแบบ MARC เป็นต้น <p>รายการบรรณานุกรมแห่งชาติของไทย http://www.nlt.go.th/th_tnb.htm <p>รายการอ้างอิง: <p>[ 1 ] United States Copyright Office. [ ออนไลน์ ] http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Copyright_Office. Accessed: 20100628 : 00.07. <p>[ 2 ] Haddad, Peter. 1999. National bibliography in Australia: moving into the next millennium. [ ออนไลน์ ] http://archive.ifla.org/IV/ifla65/papers/016-123e.htm. Accessed: 20100629 : 09.50. <p>[ 3 ] Bibliographic Data Services Limited. [ ออนไลน์ ]. http://www.bibliographicdata.co.uk. Accessed: 20100629 : 17.30. <p>[ 4 ]Nielsen UK ISBN Agency. [ ออนไลน์ ] http://www.isbn.nielsenbook.co.uk/controller.php?page=121. Accessed: 20100629 : 14.25. <p>[ 5 ]The British National Bibliography. [ ออนไลน์ ] http://www.bl.uk/bibliographic/natbib.html. Accessed: 20100629 : 13:00. <p>[ 6 ] สุนทรี หังสสูต. การควบคุมทางบรรณานุกรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2523. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

Japanese-English: EDICT Dictionary
国際書誌[こくさいしょし, kokusaishoshi] (n) international bibliography [Add to Longdo]
全国書誌[ぜんこくしょし, zenkokushoshi] (n) national bibliography [Add to Longdo]

Japanese-English: COMPDICT Dictionary
国際書誌[こくさいしょし, kokusaishoshi] international bibliography [Add to Longdo]
全国書誌[ぜんこくしょし, zenkokushoshi] national bibliography [Add to Longdo]

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top