Search result for

call number

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -call number-, *call number*
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
call number(n) เลขเรียกหนังสือในห้องสมุด, See also: หมายเลขที่แสดงตำแหน่งที่เก็บของหนังสือในห้องสมุด

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
call numbern. หมายเลขหิ้งหนังสือ

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Call numberเลขเรียกหนังสือ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Call numberเลขเรียกหนังสือ, เลขเรียกหนังสือ, Example: หมายถึง รหัส หรือ สัญลักษณ์ที่บรรณารักษ์กำหนดขึ้นสำหรับระบุถึงหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง หรือวัสดุห้องสมุดแต่ละชิ้น เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดใช้เป็นจุดเข้าถึงวัสดุของห้องสมุด ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนบ้านเลขที่ หรือตำแหน่งของหนังสือแต่ละชื่อเรื่องที่มีอยู่ในห้องสมุดนั่นเอง เมื่อต้องการหาหนังสือชื่อเรื่องนั้น โดยสืบค้นจากบัตรรายการ หรือสืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุด ได้ทราบถึงเลขเรียกหนังสือ จึงใช้เลขเรียกหนังสือนั้น หาหนังสือที่ต้องการว่าอยู่ที่ชั้นหนังสือใดของห้องสมุด นอกจากนี้ ใช้ในการสื่อสารกับบรรณารักษ์ในงานบริการจ่ายรับหนังสือ บริการตอบคำถาม ฯลฯ และให้บรรณารักษ์ใช้ประโยชน์ในการจัดหา การให้บริการ การจัดเก็บ และการสำรวจวัสดุห้องสมุด เนื่องจากใช้เลขเรียกหนังสือเป็นการอ้างถึงหนังสือแต่ละชื่อเรื่องนั่นเอง <p>เลขเรียกหนังสือ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ เลขหมู่ และเลขผู้แต่ง <p>1. เลขหมู่ (Classification number) เป็นรหัสหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ได้มาจากระบบการจัดหมวดหมู่ เช่น ระบบการจัดหมวดหมู่ทศนิยมของดิวอี้ หรือระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือเป็นระบบการจัดหมวดหมู่ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นใช้เอง <p> ตัวอย่าง H (ระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน) หมายถึง เนื้อหาในสาขาสังคมศาสตร์ <p> 025.433 (ระบบการจัดหมวดหมู่ทศนิยมของดิวอี้) หมายถึง เลขที่ใช้แทนเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> วพ หมายถึง รหัสเพื่อใช้แทนประเภทของหนังสือที่เป็นวิทยานิพนธ์ <p> สวทช. สก. 8 หมายถึง รหัสและเลขที่ใช้หนังสือที่ออกโดยสำนักงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเภทหนังสือทั่วไป <p> 2. เลขผู้แต่ง (Author number) หรือเลขหนังสือ (Book number) เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น แทนชื่อเต็มของผู้แต่งหรือรายการหลักในการลงรายการหนังสือ มักใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรผสมกับตัวเลข โดยใช้อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง หรือชื่อสกุลของผู้แต่ง (กรณีที่เป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ) ที่เป็นรายการหลัก ผสมกับตัวเลขที่กำหนดให้สำหรับผู้แต่งแต่ละคนตามคู่มือสำหรับกำหนดเลขประจำผู้แต่ง <p> ตัวอย่าง 025.433 อ555ค <p> เลขเรียกหนังสือนี้ มาจากหนังสือชื่อ "คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน" เขียนโดย อัมพร ทีขะระ จึงได้เลขหมู่เป็น 025.433 ส่วน อ555 คือ หมายเลขผู้แต่งสำหรับ อัมพร ส่วน ค หมายถึง อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง คือ คู่มือ <p> การกำหนดเลขผู้แต่ง ช่วยให้หนังสือแต่ละเล่มมีเลขเรียกหนังสือที่ไม่ซ้ำกัน กรณีที่หนังสือมีเนื้อหาเหมือนกันหรือคล้ายกัน และมีการกำหนดเลขหมู่ออกมาเหมือนกัน จากตัวอย่าง ข้างต้น ถ้าห้องสมุดมีการจัดซื้อหนังสือเกี่ยวกับการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เข้ามาโดยผู้แต่งที่เขียนหลายๆ คน เลขผู้แต่งจะเป็นตัวแสดงให้เห็นความแตกต่างของผู้เขียนแต่ละคน <p> ตัวอย่าง ห้องสมุดมีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดยมีการกำหนดชื่อเรื่องที่เหมือนกัน หรือคล้ายกัน ได้แก่ <p> การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย กมลา รุ่งอุทัย จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 ก138 <p> การจัดหมู่หนังสือระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย บุญถาวร หงสกุล จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 บ455 <p> การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย ระเบียบ สุภวิรี จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 ร235 <p> คู่มือการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย วิลัย อัคคอิชยา จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 ว716 <p> คู่มือการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย อัมพร ทีขะระ จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 อ555 <p> ดังนั้น เมื่อเรียงเลขเรียกหนังสือ จะเห็นความแตกต่างของเลขผู้แต่ง ภายใต้เลขหมู่หนังสือเดียวกัน <p> 025.433 ก138 <p> 025.433 บ455 <p> 025.433 ร235 <p> 025.433 ว716 <p> 025.433 อ555 <p> 3. สัญลักษณ์อื่นๆ ที่ประกอบอยู่ในเลขเรียกหนังสือ <p> 3.1 อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง กรณีที่ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่ใช้ชื่อเรื่องต่างกัน กรณี จะมีเลขหมู่ เหมือนกัน เลขผู้แต่ง เหมือนกัน จะทำให้เกิดความซ้ำของเลขเรียกหนังสือได้ จึงได้มีการกำหนดให้ใช้อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องใส่ไว้หลังเลขผู้แต่ง <p> ตัวอย่าง <p> โฆษณาไทยสมัยแรก โดย เอนก นาวิกมูล เลขหมู่ คือ 659.1 เลขผู้แต่ง คือ อ893 <p> โฆษณาคลาสลิค โดย เอนก นาวิกมูล เลขหมู่คือ 659.1 เลขผู้แต่ง คือ อ 893 <p> โฆษณาไทย โดย เอนก นาวิกมูล เลขหมู่ คือ 659.1 เลขผู้แต่ง คือ อ893 <p> 659.1 ในระบบการจัดหมู่ทศนิยมดิวอี้ หมายถึง การโฆษณา แต่เผอิญ เอนก นาวิกมูล แต่งหนังสือโดยใช้ชื่อว่า โฆษณา ขึ้นต้นอยู่หลายเรื่อง ถ้าจะให้เลขเรียกหนังสือ เป็น 659.1 อ893ฆ ก็จะซ้ำกันทั้งหมด ทั้งๆ ที่เป็นคนละชื่อเรื่องกัน จึงใส่ตัวอักษรอีกตัวหนึ่งเพื่อให้เกิดความแตกต่าง เช่น <p> 659.1 อ893ฆ โฆษณาไทยสมัยแรก <p> 659.1 อ893ฆค โฆษณาคลาสลิค <p> 659.1 อ893ฆษ โฆษณาไทย <p> 3.2 กำหนดสัญลักษณ์แทนประเภทของหนังสือ ส่วนมากใส่ไว้เหนือเลขหมู่ เช่น หมวดหนังสืออ้างอิง ใช้ตัว อ (คือ อ้างอิง สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย) และ R หรือ Ref (คือ Reference สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ) <p> อ 495.913 สำหรับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ใช้เลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ <p> อ PL4185 สำหรับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ใช้เลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> 3.3 สัญลักษณ์ระบุแทนปีที่พิมพ์ของหนังสือ ในกรณีที่หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน และผู้แต่งคนเดียวกัน จัดพิมพ์ออกจำหน่ายมากกว่า 1 ครั้ง มักจะใส่ปีที่พิมพ์เพื่อให้ความแตกต่างและให้ทราบว่าเล่มใดมีความทันสมัยมากกว่ากัน โดยใส่ถัดจากเลขผู้แต่ง <p> ตัวอย่าง <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2498 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2498 <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2502 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2502 <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2512 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2512 <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2523 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2523 <p> 3.4 การกำหนดสัญลักษณ์บอกจำนวนซ้ำ กรณีที่ห้องสมุดมีหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียว ปีพิมพ์เดียวกัน มากกว่า ๑ ฉบับ จะมีการกำหนดลำดับของจำนวนหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เป็น ฉ หมายถึง ฉบับ (สำหรับหนังสือภาษาไทย) และ C หมายถึง Copy (สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ) เช่น <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2523 มีจำนวน ๕ ฉบับ มีเลขหมู่ เป็น <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.1 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.2 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.3 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.4 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.5 <p> 3.5 สัญลักษณ์บอกลำดับเล่มที่ของหนังสือ กรณีที่เป็นหนังสือชุด หรือมีหลายเล่มจบ ใช้อักษร ล. (หมายถึง เล่มที่ สำหรับหนังสือภาษาไทย) และ ใช้ v. (หมายถึง volume สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ) และกำหนดตัวเลขบอกลำดับที่เล่มของหนังสือไว้ถัดจากเลขผู้แต่ง หรือเลขปีที่พิมพ์ <p> สารานุกรมไทย ของ อุทัย สินธุสาร <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 1 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 2 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 3 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 4 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 5 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 6 <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110313-CallNumber.JPG" width="640" higth="200" alt="Call number"> <p> ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือที่มีทั้งเลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน สัญลักษณ์อื่นๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นเลขเรียกหนังสือเฉพาะคอลเลคชั่น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Call number one.หมายเลขโทรหนึ่ง In the Name of the Father (1993)
Yes. Last week, on the night we tried to abduct the subject called Number 26, a boy who was in an accident on an old city highway was brought to the lab.ใช่ ในอาทิตย์สุดท้ายเราจะพยายาม พาตัวเป้าหมายที่เรียกว่าหมายเลข 26 Akira (1988)
Those numbers on Stephanie Chan's postcard are actually a call number for a book.ตัวเลขพวกนั้นบนไปรษนียบัตรของสเตฟานี่ เป้นตัวเลขรหัสหนังสือ RED (2010)
Call numbers start with letters.ตัวเลขขึ้นต้นด้วยตัวอักษร RED (2010)
Oh, it's a call number.อ๋อ มันเป็นเลขหมาย Everybody Hates Hitler (2013)

Japanese-English: EDICT Dictionary
コールナンバー[ko-runanba-] (n) call number [Add to Longdo]
請求記号[せいきゅうきごう, seikyuukigou] (n) call number (e.g. of a book in a library) [Add to Longdo]

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top