(Few results found for -จัดหมู่- automatically try *จัดหมู่*) |
| |
| Dewey Decimal Classification | การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Library classification | การจัดหมู่หนังสือ, Example: เดิมห้องสมุดส่วนใหญ่จัดเก็บหนังสือ ตามขนาดของหนังสือ ตามสีของปก หรือตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ ต่อมา ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือขึ้น โดยแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีพัฒนาการ ดังนี้ <p> <p>1. สมัยโบราณ <p><p> 1.1 ชาวอัสซีเรียน เชื่อกันว่า ชาวอัสซีเรียนเป็นพวกที่เริ่มวิธีการจัดหมู่อย่างเป็นแบบแผน ในสมัยพระเจ้าอัสซูบานิปาล มีการจัดกลุ่มแท่งดินเหนียวในห้องสมุดแห่งเมืองนิเนเวห์ออกเป็น 2 หมวดใหญ่แบ่งตามเนื้อเรื่อง คือ เรื่องราวทางโลก และ เรื่องราวทางสวรรค์ <p><p> 1.2 ชาวโรมัน ห้องสมุดในสมัยโรมัน มีการแบ่งแยกหนังสือตามประเภทของผู้เขียน เป็น 2 หมวด คือ หนังสือของพวกนักเขียนนอกศาสนา และหนังสือของพวกนักเขียนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือนักบวช <p><p> 1.3 ชาวอียิปต์ คัลลิมาคัส ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย จัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ กวีนิพนธ์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วาทศิลป์ และเบ็ดเตล็ด <p> 2 สมัยกลาง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก คิดระบบการจัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 3 ภาคได้แก่ <p><p> - ความรู้ภาคปฏิบัติ (Practical หรือ Ethical) ประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ <p><p> - ความรู้ในทางสร้างสรรค์ (Productive หรือ Creative) ประกอบด้วย วิชากวีนิพนธ์ และศิลปะ <p><p> - ความรู้ภาคทฤษฎี (Theoretical) ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเทววิทยา <p> 3. สมัยศตวรรษที่ 16 คอนราด เกสเนอร์ (Conrad Gesner) เขียนหนังสือชื่อ Bibliotheca Universalis ซึ่งเป็นบรรณานุกรมที่รวบรวมรายชื่อหนังสือภาษาลาติน กรีก และฮินดู จัดเรียงตามรายชื่อหนังสือตามลำดับหัวข้อวิชา โดยแบ่งออกเป็น 21 หัวข้อ <p> 4. สมัยศตวรรษที่ 17 เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ได้เขียนหนังสือชื่อ The Advancement of Learning ขึ้นในปี ค.ศ. 1605 โดยเบคอนมีความคิดว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีผลทำให้เกิดความรู้ขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความจำ (Memory) ทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 จินตนาการ (Imagination) ทำให้เกิดวิชาร้อยกรอง และ ส่วนที่ 3 เหตุผล (Reason) ทำให้เกิดวิชาปรัชญา <p> จากแนวความคิดนี้เอง ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอสัน (Thomas Jefferson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำมาจัดทำเป็นระบบจัดหมู่หนังสือในห้องสมุดส่วนตัว ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในยุคแรก <p> 5. สมัยศตวรรษที่ 18 กุสตาฟ บูรเนต์ (Gustave Brunet) ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือคู่มือการจัดหมู่หนังสือและห้องสมุดชื่อ Manuel du Libraire et d l' Amateur de Livres โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ เทววิทยา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี <p> 6. สมัยศตวรรษที่ 19-20 ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือเพื่อใช้ในห้องสมุดอย่างจริงจังหลายระบบ ได้แก่ <p><p> ค.ศ. 1876 ระบบทศนิยมดิวอี้ <p><p>ค.ศ. 1891 ระบบเอ็กแพนซีฟ <p><p>ค.ศ. 1901 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p><p>ค.ศ. 1905 ระบบทศนิยมสากล <p><p> ค.ศ. 1906 ระบบซับเจ็ค <p><p> ค.ศ. 1933 ระบบโคลอน <p><p> ค.ศ. 1935 ระบบบิบลิโอกราฟิค <p> ระบบการจัดหมู่ในระยะแรกมีแนวคิดในการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลตามแนวทฤษฎี จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical system) ต่อมาในศตวรรษที่ 20 แนวความคิดเปลี่ยนเป็นการคำนึงถึงหนังสือที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จึงเรียกว่า ระบบปฏิบัติ (Practical system) <p> บรรณานุกรม <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์. 2520. ประวัติการทำบัตรรายการและการจัดหมู่หนังสือ. เอกสารบรรณารักษศาสตร์ เล่ม 19. กรุงเทพฯ : แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. <p> Wynar, Bohdan S. 1985. Introduction to Cataloging and Classification. 7th ed. Littletob, Colo. : Libraries Unlimited. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Decimal classification | การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Dewey Decimal Classification | การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Classification, Library of Congress | ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน, การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, Example: ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classficiation - LC) หรือเรียกสั้นๆ ว่า LC หรือระบบ LCC เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> ในระยะแรกก่อตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1800 ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่นั้น คิดขึ้นโดยจอห์น เบคเลย์ (John Beckley) โดยจัดหนังสือตามขนาดหน้ายก หนังสือขนาดเดียวกันจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ <p> ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมื่อหนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง โดยนำระบบจัดหมู่หนังสือของ The Library Company of Philadelphia มาใช้ แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 18 หมวด เมื่อห้องสมุดไฟไหม้ จึงได้จัดซื้อหนังสือจำนวน 6, 487 เล่มจากห้องสมุดส่วนตัวของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน โดยคิดระบบตามที่ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน โดยแบ่งออกเป็น 44 หมวด <p> จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บรรณารักษ์ของหอสมุดในขณะนั้น คือ จอห์น รัสเซล ยัง (John Russell Young)คิดว่าระบบเดิมไม่เหมาะสม ควรคิดหาระบบใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงมอบหมายให้ เจมส์ แฮนสัน (James Hanson) และ ชาร์ลส์ มาร์แตล (Charles Martel) ศึกษาหาแนวทางที่จะสร้างระบบจัดหมู่หนังสือใหม่เพื่อใช้ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> การศึกษาอย่างจริงจังได้เริ่มเมื่อ เฮอร์เบิร์ต พุตนัม (Herbert Putnum) เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1899 และยังคงมอบหมายให้ แฮนสันและมาร์แตลรับศึกษาต่อไป โดยนำระบบ 3 ระบบ คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบเอ็กแพนซีฟ และระบบจัดหมู่หนังสือของเยอรมัน ชื่อ Halle Schema ของออตโต ฮาร์ตวิก (Otto Hartwig) พบว่า ระบบเอ็กแพนซีฟมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากการจัดหมวดหมู่กว้างขวางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทุกๆ หมวดตามต้องการ สัญลักษณ์ที่ใช้สามารถขยายได้ทั้งชนิดที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข เพราะเป็นสัญลักษณ์ผสม เหมาะกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก จึงได้จัดทำระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันขึ้นโดยยึดหลักการของระบบเอ็กแพนซีฟ <p> มีการจัดทำหมวด Z เป็นหมวดแรก เมื่อปี ค.ศ. 1902 <p> ลักษณะทั่วไปของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันเป็นระบบที่คิดขึ้นโดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาขาวิชาความรู้ที่มีอยู่จริงของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>2. สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิค โดยอักษรโรมันตัวใหญ่หนึ่งตัวแทนหมวดใหญ่และเพิ่มอักษรโรมันตัวใหญ่อีกหนึ่งหรือสองตัวแทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F และ Z) และแบ่งหมู่ย่อยต่อไปอีก โดยใช้เลขอารบิคจาก 1-9999 รวมทั้งขยายโดยใช้จุดทศนิยม <p>3. แผนการจัดหมวดหมู่จัดแบ่งวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <p>3.1 การแบ่งครั้งที่ 1 เป็นการแบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ (Main class) โดยใช้อักษรตัวเดียวโดดๆ A-Z ยกเว้น I, O, W, X, Y <p>A ความรู้ทั่วไป (General Works) <p>B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) <p>C ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary sciences of history) <p>D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : general and old world) <p>E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) <p>G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation) <p>H สังคมศาสตร์ (Social science) <p>J รัฐศาสตร์ (Political science) <p>K กฎหมาย (Law) <p>L การศึกษา (Education) <p>M ดนตรี (Music) <p>N ศิลปกรรม (Fine Arts) <p>P ภาษาและวรรณคดี (Languages and Literature) <p>Q วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p>R แพทยศาสตร์ (Medicines) <p>S เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p>T เทคโนโลยี (Technology) <p>U ยุทธศาสตร์ (Military science) <p>V นาวิกศาสตร์ (Naval science) <p>Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science) <p>3.2 การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งหมวดย่อย (subclass) ตามสาขาวิชา โดยใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ 2 ตัว ถึง 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ และใช้หลักการเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ยกเว้นหมวด Z จะไม่มีการแบ่งครั้งที่ 2 เช่น หมวด Q แบ่งออกเป็นหมวดย่อย 12 หมวดดังนี้คือ <p>Q วิทยาศาสตร์ (Science) <p> QA คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> QB ดาราศาสตร์ (Astronomy) <p> QC ฟิสิกส์ (Physics) <p> QD เคมี (Chemistry) <p> QE ธรณีวิทยา (Geology) <p> QH ธรรมชาติวิทยา (Natural History) <p> QK พฤกษศาสตร์ (Botany) <p> QL สัตววิทยา (Zoology) <p> QM กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) <p> QP สรีรวิทยา (Physiology) <p> QR จุลชีววิทยา (Microbiology) <p> ซึ่งยังคงแบ่งต่อไปได้อีก เมื่อต้องการขยายเลขหมู่เพิ่มในภายหลัง <p> 3.3 การแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งออกเป็น หมู่ (division) โดยใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1-9999 ประกอบตัวอักษรโรมัน ในแต่ละหมู่จะมีจำนวนการแบ่งเป็นหมู่ย่อยไม่เท่ากัน เช่น หมวด LA จะแบ่งเป็น LA1-LA 2397 หรือ หมวด HV จะแบ่งเป็น HV 1-HV 9920 เป็นต้น สามารถที่จะขยายเลขหมู่สำหรับวิชาการที่จะเพิ่มใหม่ การแบ่งครั้งที่ 3 มี 2 ลักษณะ คือ <p> 3.3.1 การแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ การนำเอาเลขทศนิยมมาขยายเลขย่อยในกลุ่มนั้น ให้ได้เลขหมู่เพิ่มขึ้นสำหรับเนื้อหาวิชาที่ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน <p> 3.3.2 การแบ่งโดยใช้เลขคัตเตอร์ คือ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขสำหรับการแบ่งย่อยเนื้อหาที่ละเอียดลงไปอีก เช่น การแบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographical name) และการแบ่งย่อยตามรายชื่อเนื้อหาวิชาเฉพาะ (special topics) และการแบ่งตามเลขคัตเตอร์สำรองที่ได้กำหนดไว้แล้ว <p> ตัวอย่าง HF 5438.5 HF เป็นหมวดย่อยของ H คือ สังคมศาสตร์ ซึ่ง HF เป็นหมู่ย่อย หมายถึง การค้า (Commerce) และแบ่งออกเป็นหมู่ คือ 5438 หมายถึง การขาย (Selling) จากนั้นแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ .5 หมายถึง การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) <p> ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี <p> DS เป็นเลขหมู่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย <p> 575 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการเมืองและการทูต <p> .5 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ A-Z <p> .J3 ประเทศญี่ปุ่น (Japan = .J3) <p> จะได้เลขหมู่เป็น DS 575.5.J3 ปัจจุบัน หนังสือคู่มือหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกันมีทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบออนไลน์ <p> บรรณานุกรม <p> Library of Congress. Library of Congress Classification Outline. 2011. [ Online ] Retrieve from: http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/. Accessed 20110516. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> กมลา รุ่งอุทัย. 2533. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 219-281. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. <p> อัมพร ทีขะระ. 2532. คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาััลัย. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Blood grouping and crossmatching | การจัดหมู่เลือดและการทดสอบการเข้ากันได้ [TU Subject Heading] | Classification system | ระบบจัดหมู่ของห้องสมุด, Example: การจัดหมู่ (Classification) หมายถึง กระบวนการที่รวมสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันก็จะอยู่ใกล้ๆ กัน สิ่งที่แตกต่างกันก็จะแยกออกจากกัน <p> ประเภทของการจัดหมู่ อาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภท คือ <p> 1. การจัดหมู่อย่างง่ายๆ หรือจัดตามลักษณะทั่วไป (Artificial Classification) ได้แก่ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ดูจากลักษณะภายนอกที่มองเห็น เช่น สี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น โดยเป็นการจัดหมู่ที่ไม่คำนึงถึงเนื้อหาหรือลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ <p> 2. การจัดหมู่ตามธรรมชาติ (Natural Classification) คือ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ออกเป็นหมวด เป็นหมู่ โดยพิจารณาเนื้อหา ลักษณะโครงสร้าง หรือส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ เช่น การจัดหมู่วิชาความรู้ (Classification of knowledge) หรือ Philosophical Classification <p> การจัดหมู่หนังสือ คือ กระบวนการในการจัดหมวดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง หรือตามรูปแบบคำประพันธ์ของหนังสือแต่ละเล่ม พร้อมกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาหรือรูปแบบคำประพันธ์ไว้ที่เล่มหนังสือ เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายแสดงแหล่งที่อยู่ของหนังสือ <p> วัตถุประสงค์ของการจัดหมู่หนังสือ คือ <p> 1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหนังสือเข้าชั้น <p> 2. เพื่อใช้จัดทำบรรณานุกรมตามหมวดหมู่วิชา <p> 3. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกหนังสือที่ตรงกับความต้องการ หรือสามารถเลือกหนังสือที่เกี่ยวข้องที่ต้องการได้ตนเอง ด้วยวิธีการง่ายๆ สะดวก และรวดเร็ว <p> 4. เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้บริการทางด้านบรรณานุกรมแก่ผู้ใช้ได้สะดวก <p> 5. เพื่อให้ทราบปริมาณของหนังสือในแต่ละสาขาวิชาว่ามีมากน้อยเพียงไร จะได้สั่งซื้อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ <p> การจัดหมู่หนังสือจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ก็ต้องใช้สัญลักษณ์ที่สั้น อ่านเข้าใจง่าย เป็นเครื่องหมายประจำหนังสือ เพื่อกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือบนชั้น และไม่ว่าห้องสมุดจะใช้การจัดหมู่หนังสือระบบใด เก็บหนังสือไว้ในระบบชั้นเปิด หรือระบบชั้นปิดก็ตาม เครื่องมือสำคัญสำหรับการค้นหาหนังสือก็คือ บัญชีรายชื่อหนังสือของห้องสมุด (Library Catalog) ซึ่งถือเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงพื้นฐานของห้องสมุดจะต้องทันสมัยและสมบูรณ์อยู่เสมอ <p> แนวคิดพื้นฐานของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> ระบบจัดหมู่หนังสือส่วนใหญ่ยึดถือหลักการจัดหมวดหมู่ตามเหตุผล หรือตามวิชาความรู้ คือ จัดแบ่งวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาลออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดใหญ่ (Class) ไปหาหมวดย่อย (Subclass) และแบ่งเป็นหมู่ย่อยๆ ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ตัวอย่าง การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นลำดับชั้น คือ แบ่งครั้งที่ 1 เป็น10 หมวดใหญ่ แบ่งครั้งที่ 2 เป็น 100 หมวดย่อย แบ่งครั้งที่ 3 เป็น 1000 หมู่ย่อย และแบ่งต่อไปเป็นทศนิยม ดังตัวอย่าง <p> การแบ่งครั้งที่ 1 600 เทคโนโลยี <p> การแบ่งครั้งที่ 2 620 วิศวกรรมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง <p> การแบ่งครั้งที่ 3 621 ฟิสิกส์ประยุกต์ <p> ทศนิยม 621.3 อิเล็กโทรแมกเนติกและสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง <p> 621.38 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิกและวิศวกรรมการสื่อสาร <p> 621.381 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิก <p> 621.3819 พัฒนาการเฉพาะด้าน <p> 621.38195 คอมพิวเตอร์ <p> การแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ต่างๆ ในแต่ละระบบ จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของวิชาความรู้ตามหมวดหมู่ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Notation (ดูเพิ่มเติมที่ Notation) <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่องมีกำเนิดขึ้นในราวปลายคริสตศตวรรษที่ 19 (ดูเพิ่มเติมที่ Library Classification) ระบบที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ระบบทศนิยมสากล และระบบไม่สู้แพร่หลายนัก ได้แก่ ระบบซับเจ็กท์ ระบบบลิส และระบบโคลอน <p> ประเภทของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> แบ่งตามประเภทของเนื้อหาของระบบจัดหมู่ แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ <p> 1. ระบบจัดหมู่หนังสือทั่วไป (General Classification) เป็นระบบจัดหมู่ที่ครอบคลุมวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาล ระบบจัดหมู่ประเภทนี้จะเว้นไว้สำหรับเติมวิชาความรู้ใหม่ๆ ไว้ เช่น ระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบจัดหมู่เฉพาะวิชา (Special Classification) เป็นระบบการจัดหมู่ที่ครอบคลุมเนื้อหาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ระบบจัดหมู่หนังสือเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของโซเฟีย เอช กลิดเดน ระบบจัดหมู่หนังสือด้านวิชาแพทย์ ของหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ระบบจัดหมู่หนังสือกฎหมายของ เจ.อาร์เธอ ชิลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย <p> แบ่งตามการสร้างแผนการจัดหมู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ <p> 1. ระบบจัดหมู่ที่เป็นแผนการจัดหมู่แบบครอบจักรวาล (Enumerative Classification) คือ กำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และเว้นที่ว่างไว้สำหรับเพิ่มเติมสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบแฟเซ็ท หรือฟาเซ็ท (Faceted Classification) เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน <p> บรรณานุกรม <p> ทองหยด ประทุมวงศ์. ระบบจัดหมู่ของห้องสมุด. วารสารวิทยบริการ 7, 1 (ก.ค. 2538) : 67-79 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Faceted Classification | ระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Faceted Classification | ระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Data, Ungrouped | ข้อมูลที่ไม่ได้จัดเป็นหมู่, ข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดหมู่, ข้อมูลที่ไม่ได้จัดกลุ่ม [การแพทย์] | Alpha-Numeric System for Classification of Recordings | ระบบการจัดหมู่ทรัพยากรประเภทสื่อบันทึกเสียง, Example: Alpha-Numeric System for Classification of Recordings หรือ ANSCR (อ่านว่า answer) เป็นระบบการจัดหมู่สื่อบันทึกเสียง เช่น เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง ประกอบด้วย 23 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวอักษร A-Z ในบางหมวดหมู่จะแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยใช้ตัวอักษร 2 ตัว ได้แก่ หมวด E หมวด G หมวด M และหมวด Z การจัดหมู่ในระบบ ANSCR แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นหมวดใหญ่ แสดงประเภทของสื่อบันทึกเสียง เช่น ใช้อักษร M แทนดนตรีตามสมัยนิยม ในการแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยจะใช้ตัวอักษร 2 ตัว เช่น ใช้ MJ สำหรับดนตรีแจ๊ส ส่วนที่ 2 เป็นตัวอักษร 3-4 ตัวแรกตามชื่อเรื่องของผลงาน ชื่อของนักแต่งเพลง นักแสดง ผู้เขียน ฯลฯ ส่วนที่ 3 ของเลขหมู่หนังสือ (Classification number) ประกอบด้วยอักษร 3 ตัวแรกของคำสำคัญในชื่อเรื่องของผลงานหรืออัลบั้ม หรือใช้ตัวเลข ถ้าผลงานนั้นเป็นที่รู้จักกันตามรูปแบบและผลงานที่ให้หมายเลข ส่วนที่ 4 ประกอบด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แสดงหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการแสดงในการบันทึกเสียง ตามด้วยตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายของตัวเลขที่ใช้บันทึกในเชิงพาณิชย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้<br> <br style="margin-left: 40px">ES <br style="margin-left: 40px">BEET <br style="margin-left: 40px">5 <br style="margin-left: 40px">O 98 <li>ES แสดงว่า ผลงานที่บันทึกเสียงนี้อยู่ในรูปแบบของวงออเคสตร้าหรือวงซิมโฟนี</li> <li>BEET เป็นผลงานที่แต่งโดย ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น (Ludwig Van Beethoven)</li> <li>เลข 5 คือ วงซิมโฟนีที่ 5</li> <li>O98 เป็นการแสดงที่ควบคุมวงดนตรีโดยยูจีน ออร์มานดี (Eugene Ormandy) และตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายเป็นตัวเลขการบันทึกของโคลัมเบีย คือ 98</li><br> ระบบ ANSCR นี้เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในห้องสมุดที่มีสื่อบันทึกเสียงจำนวนมาก สำหรับห้องสมุดที่มีทรัพยากรประเภทนี้จำนวนไม่มากนัก โดยทั่วไปมักจะใช้เลขทะเบียน (Accession number) หรือระบบการ จัดหมู่ (Classification system) ที่พัฒนาขึ้นเองในห้องสมุดสำหรับใช้จัดระบบทรัพยากรประเภทสื่อบันทึกเสียง<br> โครงสร้างแผนการจัดหมู่ของระบบ ANSCR มีดังนี้<br> A - Music Appreciation: History and Commentary <br> B - Operas<br> C - Choral Music<br> D - Vocal Music<br> E - Orchestral Music:<br> EA-General Orchestral, EB-Ballet, EC-Concertos, ES-Symphonies<br> F - Chamber Music<br> G - Solo Instrumental Music:<br> GG-Guitar, GO-Organ, GP-Piano, GS-Stringed Instruments<br> GV-Violin, GW-Wind Instruments, GX-Percussion Instruments<br> H - Band Music<br> J - Electronic Music<br> K - Musicals<br> L - Soundtrack Music: Movies and Television<br> M - Popular Music:<br> MA-Pop/Rock, MB-Blues, MC-Country, <br> MG-Gospel, MJ-Jazz, MN-New Age<br> P - National Folk and Ethnic Music<br> Q - International Folk and Ethnic Music<br> R - Holiday Music<br> S - Variety and Humor: Comic Monologues, Musical Satire, Radio Shows<br> T - Plays<br> U - Poetry<br> V - Prose<br> W - Documentaries<br> X - Instructional: Dictation, Languages, "How To..."<br> Y - Sound Effects<br> Z - Children's Recordings<br> ZI-Instructional, ZM-Music, ZS-Spoken<br> [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | combination | วิธีจัดหมู่, วิธีจัดหมู่ของสิ่งของ โดยไม่คำนึงถึงลำดับของสิ่งของในหมู่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | Broad classification | การจัดหมู่หนังสืออย่างกว้าง ๆ, Example: การจัดหมู่หนังสืออย่างกว้าง ๆ (Broad classification) หมายถึง การจัดหมู่หนังสือโดยเลือกหมวดหมู่ใหญ่อย่างกว้าง ๆ มากกว่าเลือกหมวดหมู่ย่อย และพยายามใช้หมวดหมู่ย่อยให้น้อยที่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ก) จัดหมวดหมู่เบื้องต้นสำหรับหนังสือที่ห้องสมุดพึ่งได้รับ เพื่อเตรียมไว้สำหรับจัดหมวดหมู่ละเอียดต่อไป ข) เพื่อใช้ในห้องสมุดขนาดเล็กที่มีหนังสือหมวดหมู่ต่าง ๆ เป็นจำนวนไม่มากนัก จึงไม่จำเป็นต้องจำแนกทรัพยากรสารสนเทศอย่างละเอียด เช่น การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ อาจใช้เลขหมู่ 641.5 แทนการใช้เลขหมู่ 641.5945 สำหรับตำราอาหารอิตาเลียน เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
| |
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |