เป็น ๑ | ก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย. |
กระชุก ๓ | น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง. |
กระเชอ | อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด. |
กระทาย | เครื่องตวง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ ๒ กระทาย เป็น ๑ กระบุง มีอัตราเท่ากับครึ่งถัง หรือ ๑๐ ลิตร. ก. กระทกของเอากากออก. |
กรุณา | (กะรุนา) น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา |
กล่อม ๑ | (กฺล่อม) น. ชื่อมาตราชั่งของไทยโบราณ ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กล่อม ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า. |
กล่ำ ๑ | (กฺลํ่า) น. ชื่อมาตราชั่งของโทยโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. |
กสิณ | (กะสิน) น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งที่กำหนดอารมณ์โดยอาศัยธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), วรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียวคราม) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), อากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในการกำหนดอารมณ์ให้เหมาะกับจริตของผู้ที่จะเจริญกรรมฐาน. |
กอบ | ชื่อมาตราตวง ๔ กอบ เป็น ๑ ทะนาน. |
กามภพ | น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. |
เกวียน | ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน. |
ขอยืม | ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า. |
เข้าคู่ | ก. เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่ |
เข้าตอง | ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ ตอง. |
เข้าเศียร | ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบพวกเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ เศียร. |
คาถา ๑ | ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
เคยยะ | น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
จักรราศี | น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจำของดวงอาทิตย์ซึ่งดูเสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้ ๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทางโหราศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. |
ฉมวก | (ฉะหฺมวก) น. เครื่องมือแทงปลาเป็นต้น มีง่ามเป็น ๑, ๓ หรือ ๕ ขา ที่ปลายขาทำเป็นเงี่ยง มีด้ามยาว. |
ชั่ง | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง |
ชั่ง | ชื่อมาตราวัดน้ำหนักตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑, ๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีนมีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. |
ชาดก | (ชา-ดก) น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุ-ศาสน์. (ป., ส. ชาตก). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
เซนติเกรด | (-เกฺรด) น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซนติเกรด, ปัจจุบันใช้ องศาเซลเซียส, อักษรย่อว่า ซ. |
เซลเซียส | น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กำหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐ ºซ.) และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐ ºซ.), อักษรย่อว่า ซ. |
โซ่ลาน | น. โซ่เหล็กกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร หนา ๐.๕ มิลลิเมตร ไม่ยืดหรือหดในทุกอุณหภูมิ มี ๒ ขนาด คือ ยาว ๔๐ เมตร และ ๕๐ เมตร ทั้ง ๒ ขนาด แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ข้อต่อกัน ใช้วัดที่ดิน. |
ตะลอง | น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน. |
ตะล่อม ๒ | น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง. |
ทวาทศมณฑล | ชื่อมาตราวัดจักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑลหนึ่ง. |
ทศางค์ | (ทะสาง) น. มาตราวัดนํ้าฝนเท่ากับ ๑๐ สตางค์ เป็น ๑ ทศางค์, และ ๑๐ ทศางค์ เป็น ๑ นิ้ว. |
ทะนาน | ชื่อหน่วยในมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, ชื่อหน่วยในมาตราตวงของไทยโบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ. |
ทับหลังลัคน์ | ก. เรียกลักษณะที่พระเคราะห์ที่อยู่ในเรือนวินาศหรือเป็น ๑๒ กับลัคนา ว่า พระเคราะห์ทับหลังลัคน์. |
นักษัตร ๒ | (นักสัด) น. ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด–หนู ฉลู–วัว ขาล–เสือ เถาะ–กระต่าย มะโรง–งูใหญ่ มะเส็ง–งูเล็ก มะเมีย–ม้า มะแม–แพะ วอก–ลิง ระกา–ไก่ จอ–หมา กุน–หมู. |
นิกขะ | ชื่อมาตรานํ้าหนักของเงินอินเดีย ๕ สุวัณณะ เป็น ๑ นิกขะ. |
นิ้ว | มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ |
นิ้ว | มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕๔ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต. |
บท ๑, บท- ๑ | กำหนดคำประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท |
บั้น ๒ | น. ชื่อมาตราตวงข้าวเปลือก มีอัตรา ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน. |
บัล | น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐ บัล เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. |
เบี้ย ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังโค้งนูน ด้านท้องแบน ช่องเปลือกยาวและแคบ เป็นลำราง ตามขอบทั้ง ๒ ข้างเป็นรอยหยัก เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนมี ๒ ชนิด ได้แก่ ชนิด Cypraea moneta Linn. เรียก เบี้ยจั่นหรือเบี้ยจักจั่น ชนิด C. annulus Linn. เรียก เบี้ยแก้วหรือเบี้ยนาง มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ คำว่า เบี้ย จึงเป็นคำเรียกแทนเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ. |
ปละ ๑ | (ปะละ) น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐๐ ปละ เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. |
ปัตถะ | (ปัดถะ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). |
ปีสุริยคติ | น. ช่วงเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ ๑ รอบ, เท่ากับ ๓๖๕ วัน ๕ ชั่วโมง ๕๑ นาที ๔๐.๕ วินาที แบ่งเป็น ๑๒ เดือน. |
ฟายมือ | น. ชื่อมาตราตวง ๘ ฟายมือ เป็น ๑ ทะนาน. |
ภาระ ๒, ภารา ๑ | น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
มหายุค | ๑, ๐๐๐ มหายุค หรือ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหมเมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิง และปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. |
มาสก | (มา-สก) น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. |
มือ ๑ | ลักษณนามบอกจำนวนนับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ). |
มุทิตา | น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น, เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. |
เมตตา | น. ความรักและเอ็นดู, ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข, เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. |