Nitrogen | ไนโตรเจน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Nitrogen fertilizer | ปู่ยไนโตรเจน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Nitrogen dioxide | ไนโตรเจนไดออกไซด์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Nitrogen oxide | ไนโตรเจนออกไซด์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Petroleum | สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ, สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีธาตุสองชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่คาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจมีหรือไม่มีธาตุอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วยก็ได้, Example: ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง และความร้อน ตลอดจนความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บไว้ แบ่งตามสถานะสำคัญทางธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ [ปิโตรเลี่ยม] |
Hydrocarbon | ส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียม, ส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ คือ คาร์บอน (C) และ ไฮโดรเจน (H) ในรูปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) นอกจากนี้ก็มีสารอื่นๆที่เป็นส่วนประกอบของปิโตรเลียม เช่น กำมะถัน (S) ไนโตรเจน (N) และอื่นๆ, Example: สารที่นอกเหนือจากไฮโดรคาร์บอนถือเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่เป็นที่ต้องการ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียมนั้น อาจอยู่ในสภาพของก๊าซ ของเหลว หรือของแข็ง ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับจำนวนและการจัดตัวของอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุล โดยทั่วไปโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนไม่เกิน 4 อะตอมจะมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้ามีคาร์บอนระหว่าง 5-19 อะตอม จะมีสถานะเป็นของเหลว และถ้ามีคาร์บอนตั้งแต่ 20 อะตอมขึ้นไป จะมีสถานะเป็นของแข็ง [ปิโตรเลี่ยม] |
Carbon-14 | คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5, 730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ดู Radiocarbon dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
ICRU sphere | ทรงกลมไอซีอาร์ยู, ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ทำจากวัสดุที่มีการตอบสนองต่อรังสีเทียบเท่ากับเนื้อเยื่อมนุษย์ โดยมีความหนาแน่น 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีองค์ประกอบของออกซิเจนร้อยละ 76.2 คาร์บอนร้อยละ 11.1 ไฮโดรเจนร้อยละ 10.1 และไนโตรเจนร้อยละ 2.6 เป็นทรงกลมที่ใช้อ้างอิงสำหรับการหาค่าปริมาณรังสีสมมูล [นิวเคลียร์] |
protein | โปรตีน, โปรตีน [ โปฺร- ] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein)., Example: <p>ลำดับเบสภายในดีเอ็นเอเป็นตัวกำหนดชนิดของโปรตีนที่สร้าง โดยลำดับเบสถอดรหัสเป็น messenger RNA (mRNA) โดยกระบวนการที่เรียกว่า transcription หลังจากนั้นลำดับเบสทีละ 3 เบสที่เรียงติดกันของ mRNA แปลรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละตัวกระบวนการนี้เรียกว่า translation ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) transfer RNA (RNA ที่มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อมาเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) หลังจากผ่านกระบวนการแปลรหัสได้โปรตีนที่เซลล์ต้องการ <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Atmospheric nitrogen oxides | ไนโตรเจน ออกไซด์ในบรรยากาศ [TU Subject Heading] |
Crops and nitrogen | พืชเศรษฐกิจกับไนโตรเจน [TU Subject Heading] |
Nitrogen | ไนโตรเจน [TU Subject Heading] |
Nitrogen content | ปริมาณไนโตรเจน [TU Subject Heading] |
Nitrogen cycle | วงจรไนโตรเจน [TU Subject Heading] |
Nitrogen dioxide | ไนโตรเจน ไดออกไซด์ [TU Subject Heading] |
Nitrogen oxides | ไนโตรเจน ออกไซด์ [TU Subject Heading] |
Nitrogen Fixation | การตรึงไนโตรเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Nitrogeneous BOD | บีโอดีไนโตรเจน, Example: ค่าออกซิเจนที่ต้องการใช้ในการออกซิไดส์ ไนโตรเจนให้เป็นไนเตรท [สิ่งแวดล้อม] |
Nitrogen Cycle | วัฏจักรไนโตรเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Carbon/Nitrogen Ratio | อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน, Example: อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจนในสาร อินทรีย์ ซึ่ง่ใช้ทำปุ๋ยหมัก อัตราส่วนที่ดีอยู่ระหว่าง C:N = 25:1 ถึง 50:1 หรือ 100:4 ถึง 100:2 [สิ่งแวดล้อม] |
Carbon-Nitrogen Ratio | อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน, Example: อัตราส่วนโดยน้ำหนักของคาร์บอนและไนโตรเจน ในรูปอินทรียวัตถุในดิน พืช จุลินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ คำนวณได้โดยใช้ร้อยละคาร์บอนอินทรีย์หารด้วยร้อยละของไนโตรเจนทั้งหมด [สิ่งแวดล้อม] |
Organic Nitrogen | อินทรีย์ไนโตรเจน, Example: ไนโตรเจนที่อยู่ในโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต เช่น โปรตีน อามีนส์ และกรดอะมิโน [สิ่งแวดล้อม] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Alpha Amino Nitrogen | อัลฟ่าอะมิโนไนโตรเจน [การแพทย์] |
Amide Nitrogen | อะมีดไนโตรเจน [การแพทย์] |
Amino Acid Nitrogen | กรดอะมิโนไนโตรเจน [การแพทย์] |
Amino Acids Nitrogen | อะมิโนแอซิดไนโตรเจน [การแพทย์] |
Blood Urea Nitrogen | ยูเรียไนโตรเจนในเลือด;ยูเรียไนโตรเจนในเลือด, สาร;ยูเรียไนโตรเจน;การคั่งของยูเรียในเลือด [การแพทย์] |
guanine | กวานีน, เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C5H5N5O มีอยู่ใน DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chitin | ไคทิน, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบคล้ายคาร์โบไฮเดรต แต่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบด้วย พบในเขาสัตว์ เปลือกหุ้มภายนอกของสัตว์จำพวกอาร์โทรพอดและผนังเซลล์ของเชื้อราบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cytosine | ไซโทซีน, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่ง มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C4H5N3O พบใน DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
peptide bond | พันธะเพปไทด์, พันธะที่ยึดระหว่างคาร์บอนของหมู่คาร์บอกซิลในกรดอะมิโนตัวหนึ่งกับไนโตรเจนของกรดอะมิโนอีกตัวหนึ่งในเพปไทด์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nitrogen cycle | วัฏจักรไนโตรเจน, กระบวนการเปลี่ยนไนโตรเจนในบรรยากาศลงสู่ดินและเกิดเป็นสารประกอบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และสัตว์และกลับคืนสู่บรรยากาศเป็นวัฏจักร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Haber process | กระบวนการฮาเบอร์, กระบวนการในอุตสาหกรรมการเตรียมแก๊สแอมโมเนีย จากปฏิกิริยารวมตัวระหว่างแก๊สไนโตรเจนกับแก๊สไฮโดรเจน โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาและสภาวะที่เหมาะสม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thymine | ไทมีน, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่งมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมี คือ C5H6N2O2 พบใน DNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nucleotide | นิวคลีโอไทด์, หน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิกที่ประกอบด้วยเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบน้ำตาลที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 5 อะตอม และหมู่ฟอสเฟตอีกหนึ่งหมู่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nitrogen | ไนโตรเจน, ธาตุในหมู่ V ของตาราง ธาตุ เลขอะตอม 7 สัญลักษณ์ N เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีในอากาศประมาณร้อยละ 78.03 โดยปริมาตร จุดหลอมเหลว -209.9°C จุดเดือด -195.67°C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
urea | ยูเรีย, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมี คือ NH2CONH2 เป็นของแข็งสีขาว มีจุดหลอมเหลว 130oC ละลายน้ำได้ดี ใช้ทำปุ๋ยไนโตรเจน ในร่างกายสัตว์ยูเรียเกิดขึ้นจากกรดอะมิโนที่เปลี่ยนแปลงไปในกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amino group | หมู่อะมิโน, กลุ่มของอะตอมซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนและไฮโดรเจน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amine | เอมีน, สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเกิดจากหมู่ไฮโดรคาร์บอนแทนที่ไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียเพียงหนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามอะตอมก็ได้ เช่น อะนิลีน C6H5NH2 ไดเมทิลอามีน(CH3)2NH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nodules | ปมรากถั่ว, ปมขนาดเล็กที่รากถั่ว เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mixed fertilizer | ปุ๋ยผสม, ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมแร่ธาตุอาหารหลักของพืชตามอัตราส่วนต่าง ๆ กัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nitrogen fixing bacteria | แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน, แบคทีเรียที่ใช้ไนโตรเจนจากบรรยากาศเพื่อการดำรงชีวิต โดยปกติอาศัยอยู๋ในปมรากพืชตระกูลถั่ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
atmosphere | บรรยากาศ, 1.อากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วยออกซิเจน 1 ใน 5 ส่วน ไนโตรเจน 4 ใน 5 ส่วนนอกจากนั้นยังมีแก๊สอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนเล็กน้อย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์อาร์กอน ซีนอน เป็นต้น บรรยากาศมีอยู่สูงขึ้นไปประมาณ 1, 500 กิโลเมตร ซึ่งจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง ตามลำดับ และมีอุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
single fertilizer | ปุ๋ยเดี่ยว, ปุ๋ยเคมีที่มีแร่ธาตุอาหารหลักเพียงอย่างเดียว เช่น ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต หรือปุ๋ยโพแทส เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Multiple-Breath Nitrogen Washout Technique | วิธีสูดหายใจหลายครั้งเพื่อไล่ก๊าซไนโตรเจน [การแพทย์] |