กุ้งหัวโขน | ดู กุ้งมังกร. |
ข้าวหัวโขน | น. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก. |
โขน ๑ | น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน. |
โขน ๒ | น. ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า โขนเรือ |
โขน ๒ | เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขน ว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย (ลิลิตพยุหยาตรา) |
โขน ๒ | ไม้ประกับหัวท้ายส่วนสุดโค้งของรางระนาด ฆ้องวง หรือส่วนปลายสุดของซอด้วง. |
โขนง | (ขะโหฺนง) น. ขนง, คิ้ว. |
ถอดหัวโขน | ก. พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์. |
สวมหัวโขน | ก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ. |
หัวโขน ๑ | น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยายหมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน. |
หัวโขน ๒ | น. เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวโพดคั่วคลุกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเหนียว ว่า ข้าวโพดหัวโขน. |
หัวโขน ๑ | ดูใน หัว ๑. |
หัวโขน ๒ | ดูใน หัว ๑. |
หัวโขน ๓ | น. กุ้งมังกร. (ดู กุ้งมังกร ที่ กุ้ง ๑). |
ออกโขน | ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ออกโขน. |
ออกยักษ์ออกโขน | ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ. |
กระดาษเพลา | (-เพฺลา) น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ. |
กระแหนะ | กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า. |
กลางแปลง | ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง. |
กะโหลก | โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกโครงหัวโขน |
กุ้งมังกร | น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Panulirusวงศ์ Palinuridae หัวและอกโต ผิวเปลือกมีหนามมากและมีลายหลายสี, กุ้งหนามใหญ่ หรือ กุ้งหัวโขน ก็เรียก. |
กุญชรเกษม | น. ชื่อเพลงระบำสำหรับช้าง ใช้ในการแสดงโขนตอนพระคเณศเสียงา. |
เกริน | (เกฺริน) น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน. |
ขมวดยา | (ขะหฺมวด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า. |
เขน ๒ | น. เรียกตัวแสดงโขนพวกหนึ่งซึ่งเป็นพลรบ มีหน้าที่ออกเต้นในเวลายกทัพ ว่า พลเขน, เรียกอาการเต้นของพลเขน ว่า เต้นเขน. |
เข้าเครื่อง | ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ |
แขนะ | (ขะแหฺนะ) น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า. |
โขมดยา | (ขะโหฺมด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. |
ครอบ ๒ | ทำพิธีรับรองความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน). |
ครอบครู | น. พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป. |
จับลิงหัวค่ำ | น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อเรียกคนดู เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน. |
ชักรอก | น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ลอยขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก. |
ชุด ๓ | การแสดงที่ไม่จับเป็นเรื่องราว เช่น ชุดระบำรำฟ้อน ชุดเบิกโรง, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของโขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย |
เชิญเทวดา | ก. ตั้งเครื่องสักการบูชาและเครื่องสังเวย แล้วกล่าวคำต้อนรับและแสดงความปรารถนา เพื่อขอให้เทวดาช่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เชิญเทวดามาในพิธีไหว้ครูโขนละคร. |
เชิด | ท่าโขนท่าหนึ่ง. |
ตอน ๑ | น. ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ (ใช้แก่สิ่งที่มีความยาว) เช่น ถนนวิภาวดีรังสิตตอนที่ผ่านดอนเมืองรถติดมาก โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย. |
ตัวนาง | น. ผู้แสดงละครรำ ระบำ ลิเก โขน หรือละคร มีเครื่องแต่งตัวและใช้ลีลาท่ารำแบบหญิง. |
ตัวพระ | น. ผู้แสดงละครรำ ระบำ ลิเก โขน หรือละคร มีเครื่องแต่งตัวและใช้ลีลาท่ารำแบบชาย. |
ติเรือทั้งโกลน | ก. ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร, ติพล่อย ๆ ไปเสียก่อนที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร, มักใช้เข้าคู่กับ ติโขนยังไม่ได้แต่งตัว เป็น ติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ได้แต่งตัว. |
เต้นเขน | ก. อาการเต้นของพลรบที่เป็นมนุษย์ ยักษ์ และลิง ที่ออกเต้นเป็นจังหวะเข้ากับปี่พาทย์ในการเล่นโขนเมื่อเวลาเริ่มยกทัพ. |
เตียว ๑ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงเชิดนอกในการแสดงโขน. |
นอนโรง | ก. นอนค้างคืนล่วงหน้าที่โรงที่ใช้แสดง ก่อนกำหนดงาน (ใช้แก่โขนเป็นต้น) เช่น โขนนอนโรง ลิเกนอนโรง. |
นั่งราว | ว. เรียกวิธีการแสดงโขนอย่างหนึ่งซึ่งผู้แสดงแสดงบทของตนบนราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งพาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียง ว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก. |
บทพากย์ | น. คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น. |
บอกบท | ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก |
บันเทิงกาสร | น. ชื่อเพลงระบำสำหรับกาสร ใช้ในการแสดงโขน ตอนพาลีสอนน้อง. |
เบญจดุริยางค์ | น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑. |
ปรอด | (ปะหฺรอด) น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น บางชนิดสีออกดำ ทำรังรูปถ้วยตามต้นไม้ กินผลไม้และแมลง เช่น ปรอดสวน ( Pycnonotus blanfordiJerdon) ปรอดทอง [ P. atriceps (Temminck) ] ปรอดหัวโขน [ P. jocosus (Linn.) ], กรอด ก็เรียก, บางทีเขียนเป็น กระหรอด หรือ กะหรอด. |
พากย์ | ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนังใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือการแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. |
พากย์ | คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. |