american standard code fo | รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการสับเปลี่ยนสารสนเทศ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า แอสกี (ASCII) เป็นรหัสมาตรฐานแบบหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ เรียกว่า "รหัส แอสกี " |
ascii | คำย่อ American Standard code For Information Interchange, รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศนี้ เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่ใช้เลขฐานสอง รหัสแอสกี, รหัสมาตรฐาน ใช้แทนอักขระด้วย 7 บิต (ถ้ารวม parity check ด้วยจะเป็น 8 บิต) |
ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล |
binary code | รหัสฐานสองหมายถึง การใช้รหัสเลขฐานสองแทนตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักขระ พิเศษต่าง ๆ โดยใช้เพียงเลข 0 และ 1 รหัสที่นิยมใช้กันอยู่มีหลายรหัสเช่น เอ็บซีดิก (EBCDIC) , แอสกี (ASCII) , บีซีดี (BCD) คอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทจะเลือกใช้รหัสหนึ่งในการแทนข้อมูล |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
digit bit | บิตเลขเป็นกลุ่มของบิต ที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และตัวอักขระพิเศษต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต สี่บิตแรกเรียกบิตโซน (zone bit) สี่บิตหลังเรียกบิตเลข (digit bit) รหัสแอสกี (ASCII) ประกอบด้วย 7 บิต สามบิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลขมีความหมายเหมือน numeric bit |
ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
encoder | ตัวเข้ารหัสหมายถึง เครื่องปลายทาง (terminal) แต่ละตัวที่มีตัวเข้ารหัสคอยแปลงรหัสที่เรากดเป็นรหัสแอสกี (ASCII) หรือเอ็บซีดิก (EBCDIC) |
eot | (อีโอที) 1. ย่อมาจาก end of tape marker (เครื่องหมายสิ้นสุดแถบบันทึก) หมายถึง จุดสิ้นสุดไว้ที่ปลายแถบบันทึกหรือเทป (tape) เพื่อบอกว่าไม่สามารถบันทึกต่อจากจุดนี้ได้ เมื่ออ่านหรือบันทึกลงถึงจุดนี้แล้วเทปจะหยุดทันทีไม่อ่านหรือบันทึกต่อ ส่วนมากจะทำเป็นช่วงสะท้อนแสงยาวประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งหัวอ่านและบันทึกของเทปจะสัมผัสได้ด้วยไฟฟ้ามีความหมายเหมือน end of reel หรือ EOR2. ย่อมาจาก end of text ในรหัสแอสกี (ASCII) ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล มีความหมายว่า จบข้อความแล้ว ไม่มีอีกต่อไป |
extended ascii | รหัสแอสกีแบบขยายเดิมรหัสแอสกีจะมีสัญลักษณ์ 128 ตัวอักขระ แต่ต่อมาได้เพิ่มเป็น 255 ตัวอักขระ ชุดตัวอักขระ 255 ตัวนี้ที่เรียกว่ารหัสแอสกีขยาย ซึ่งจะเพิ่มรหัสสำหรับภาษาต่างประเทศ สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ และภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ วิธีใช้ ก็เพียงแต่กดแป้น ALT พร้อมกับเลขตั้งแต่ 51-255 กำหนดแบบอักษร (font) ที่เป็นภาพ เช่น Wingdings ก็จะได้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ถ้ากดแป้น ALT กับรหัส 255 จะได้สัญลักษณ์เป็นภาพสัญลักษณ์วินโดว์ |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
filter | (ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง, กระดาษกรอง, สารที่ใช้กรอง, บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก, กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See also: filterer n., Syn. strainer, sieve, sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ format การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี ASCII |
nondocument file | แฟ้มแอสกีเป็นลักษณะของแฟ้มข้อมูลแบบหนึ่ง มีใช้เฉพาะในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) บางทีเรียกว่าแฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้วดู document file เปรียบเทียบ |
rich text format | รูปแบบการเก็บข้อมูลเป็นแอสกีใช้ตัวย่อว่า rtf (อ่านว่า อาร์ทีเอฟ) เป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลที่เป็นเอกสาร (text) ในรหัสแอสกี (ASCII) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) หลายโปรแกรมจะเรียกข้อมูลที่เก็บในรูปแบบนี้มาอ่านได้ใช้การได้ แต่ต้องกำหนดแบบตัวอักษรให้ก่อน มักใช้นามสกุล (file name) ว่า .RTF |
rtf | อาร์ทีเอฟ <คำอ่าน>ย่อมาจาก rich text format เป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลที่เป็นเอกสาร (text) ในรหัสแอสกี (ASCII) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) หลายโปรแกรมจะเรียกข้อมูลที่เก็บในรูปแบบนี้มาอ่านได้ใช้การได้ แต่ต้องกำหนดแบบตัวอักษรให้ก่อน มักใช้นามสกุล (file name) ว่า .RTF |
txt | ทีเอกซ์ทีย่อมาจากคำว่า text มักใช้เป็นนามสกุลของแฟ้มข้อมูลที่เป็นแฟ้มเอกสาร ใช้รหัสแอสกี (ASCII) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบดอสหรือวินโดว์ เช่น LETTER . TXT ก็เท่ากับเป็นการบอกว่า แฟ้มนี้เป็นแฟ้มเอกสาร นอกจากนามสกุลนี้แล้ว อีกนามสกุลหนึ่งที่นิยมใช้เป็นนามสกุลแฟ้มเอกสาร คือ .DOC (ย่อมาจาก document) |
zone bit | บิตโซนเป็นกลุ่มของบิตที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และเครื่องหมายพิเศษ ต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัส เอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต สี่บิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลข (digit bit) รหัสแอสกี (ASCII) ประกอบด้วย 7 บิต สามบิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียก บิตเลข รหัสบีซีดี (BCD) ประกอบด้วย 6 บิต สองบิตแรกเรียก บิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลขดู EBCDIC, ASCII, BCD ประกอบ |