กระแบะ ๑ | น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, โบราณใช้ว่า กระแบ่. |
กระแบะ ๒, กระแบะมือ | น. ขนาดเล็ก เช่น มีที่ดินอยู่กระแบะมือเดียว. |
กระแบะ ๓ | น. ลักษณนามใช้เรียกฝาเรือนทรงไทยที่แยกออกได้เป็นส่วน ๆ. |
คอแบะ | น. ปกเสื้อชนิดที่มีสาบตอนบนแบะออก ส่วนที่แบะออกและส่วนที่เป็นปกจะเป็นแบบใดก็ได้. |
แฉะแบะ | ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แบะแฉะ ก็ว่า. |
บานตะเกียง, บานตะโก้, บานตะไท, บานเบอะ, บานเบิก, บานเบียง, บานแบะ | ว. มากมาย. |
แบะ | ก. แบออก เช่น แบะหนังสือ, ทำให้อ้า เช่น แบะทุเรียน. |
แบะ | ว. อ้า, ที่เปิดกว้างออกไป, เช่น ถูกฟันหัวแบะ |
แบะ | มีลักษณะกางออกหรือถ่างออก เช่น ล้อแบะ. |
แบะแฉะ | ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แฉะแบะ ก็ว่า. |
แบะท่า | ก. ทำท่าเปิดโอกาสให้, แสดงท่าทางให้รู้, เช่น เจ้าของที่ดินแบะท่าว่าถ้าเพิ่มราคาให้อีกเล็กน้อย ก็จะขาย. |
แบะปาก | ก. แสยะปากทำอาการรังเกียจเป็นต้น. |
แบะอก | ก. เปิดอกเสื้อแสดงท่าว่าเป็นนักเลงหรือไม่สุภาพ. |
แบะอก | ว. เรียกลักษณะการใส่เสื้อไม่กลัดกระดุมว่า ใส่เสื้อแบะอก. |
ปากแบะ | น. ปากที่มีริมฝีปากล่างยื่นห้อยออกมามาก. |
กระแบ่ | น. กระแบะ เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย (ม. คำหลวง กุมาร). |
กาง ๑ | ก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก เช่น กางหนังสือ. |
กาง ๑ | ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง. |
ขัดตะหมาด | ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด. |
ขัดสมาธิ | (ขัดสะหฺมาด) ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกัน เรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. |
คอกะลาสี | น. ปกเสื้อแบบกะลาสี ด้านหน้ารูปแหลมแบะออก ด้านหลังเป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยม. |
คอเสื้อ | น. ส่วนของเสื้อที่ชิดคอหรือที่คว้านให้เป็นวงเพื่อสวมหัวได้, ส่วนประกอบของคอเสื้อ มีแบบต่าง ๆ เช่น คอตั้ง คอแบะ. |
คอฮาวาย | น. ปกเสื้อชนิดปลายแหลม สาบแบะออกตอนบนให้รับกับปก. |
เฉื่อยชา | ว. อืดอาด, ไม่รีบร้อน, แฉะแบะ. |
แฉละ | (ฉะแหฺละ) ก. เลาะเนื้อออกจากกระดูก, แล่แล้วแบะออก, เฉือนเป็นชิ้น ๆ, เชือด, ตัดแยกออกเป็นส่วน ๆ, ชำแหละ ก็ใช้. |
ชำแหละ | (-แหฺละ) ก. เลาะเนื้อออกจากกระดูก, แล่แล้วแบะออก, เฉือนเป็นชิ้น ๆ, เชือด, ตัดแยกออกเป็นส่วน ๆ, เช่น ชำแหละเนื้อสุกร ชำแหละศพ. |
ชุดสากล | น. เครื่องแต่งกายของผู้ชาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น. |
ตาก ๒ | ว. ห่าง, แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน. |
นั่งขัดสมาธิ | (-สะหฺมาด) ก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น ให้ปลายเท้าสอดไขว้อยู่ใต้หัวเข่า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด. |
แบ้ | ว. แบะ, ไปล่, แปล้, เฉไปข้างหลัง เช่น ควายเขาแบ้. |
ปก ๑ | แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก. |
ปากฉลาม, ปากช้าง | น. รูปบาดแผลหรือรอยผ้าขาดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบะออกอย่างปากปลาฉลามหรือปากช้าง. |
ไปล่ | (ไปฺล่) ว. ผาย, แบะ, เช่น ชามปากไปล่, แปล้, เลยไป, เช่น ผมไปล่. |
ผาย | แบะออก, แยกออก. |
ยิ้มแสยะ | ก. ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่าจะทำร้าย. |
แย่ | ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. |
แยงแย่ | ว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืนแบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่. |
แยะ | ก. แยก, แบะออก, แตกออก. |
แสยะ | (สะแหฺยะ) ก. อาการของปากที่แบะออก แสดงให้รู้ว่า เกลียด เกลียดกลัว เยาะเย้ย หรือ ดูแคลน. |
อ้า ๑ | ก. เปิด, แยกออก, แบะออก, เช่น ปากอ้า |
อ้า ๑ | ทำให้เปิด, ทำให้แยกออก, ทำให้แบะออก, เช่น อ้าปาก. |
อ้าซ่า | ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขาอ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า. |