Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
premises of the mission | สถานที่ของคณะผู้แทน คือ อาคารหรือส่วนของอาคารและที่ดินซึ่งอาคารตั้งอยู่ ซึ่งใช้เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนโดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์ รวมถึงที่อยู่ของหัวหน้าคณะผู้แทนด้วย [การทูต] |
inverse variation | การแปรผกผัน, การแปรผกผัน เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผกผันกับ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k ¹ 0 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
joint variation | การแปรผันเกี่ยวเนื่อง, เมื่อ x, y และ z แทนปริมาณใด ๆ x แปรผันเกี่ยวเนื่องกับ y และ z แทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k ¹ 0 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
direct variation | การแปรผันตรง, เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผันโดยตรงกับ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
standard deviation | ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช้วัดการกระจายของข้อมูล เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ s [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
absolute value | ค่าสัมบูรณ์, ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง a เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึงระยะจากจุดแทน 0 ถึงจุดแทน a บนเส้นจำนวน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
absolute value of a complex number [ modulus of a complex number ] | ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน, ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อนของ a + bi เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ | a + bi | หมายถึงระยะจากจุดกำเนิด (0, 0) ถึงจุด (a, b) มีค่าเท่ากับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
summation sign | เครื่องหมายรวมยอด, อักษรภาษากรีก เขียนแทนด้วย ∑ โดยทั่วไปหมายถึงผลบวกของตัวแปร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
determinant | ดีเทอร์มิแนนต์, ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกช์ใดหมายถึงจำนวนจริงที่มีค่าขึ้นอยู่กับเมทริกช์นั้น เช่น ดีเทอร์มิแนนต์ของเทตริกช์ A เขียนแทนด้วย det(A) คือ a1a4 - a2a3 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
transpose of a matrix | เมทริกซ์สลับเปลี่ยน, เมทริกซ์ที่ได้จากการเขียนเมทริกซ์ A ใหม่โดยนำสมาชิกในแถวที่ 1 ของ A ทั้งแถวมาเรียงกันเป็นหลักที่หนึ่งของเมทริกซ์ใหม่ และนำสมาชิกในแถวที่ 2 ของ A ทั้งแถวมาเรียงเป็นหลักที่สองของเมทริกซ์ใหม่และต่อ ๆ ไป เมทริกซ์ที่ได้เรียกว่าทรานสโพสของ A เขียนแทนด้วยสัญลัก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
percent | เปอร์เซ็นต์, ร้อยละ, อัตราส่วนโดยการเทียบจาก 100 เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ % [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cartesian product | ผลคูณคาร์ทีเซียน, ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A x B หมายถึงเซตของคู่อันดับ (a, b) ทั้งหมดโดยที่ a A และ b B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
relative complement [ difference of sets ] | ผลต่างระหว่างเซต, เซตที่ประกอบด้วยสมาชิก ของเซต A ซึ่งไม่อยู่ในเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A - B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cosine function | ฟังก์ชันโคไซน์, ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ cosine θ = x โดยที่ θ เป็นจำนวนจริง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sine function | ฟังก์ชันไซน์, ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง อาจนิยามโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ sine q = y โดยที่ q เป็นจำนวนจริงที่แทนด้วยความยาวของส่วนโค้งที่วัดจากจุด (1, 0) บนวงกลมหนึ่งหน่วย ไปตามส่วนโค้งของวงกลม(โดยคิดทิศทาง) และมี (x, y) เป็นจุดปลายของส่วนโค้งที่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
composite function | ฟังก์ชันประกอบ, ฟังก์ชันใหม่ที่สร้างขึ้นจาก 2 ฟังก์ชันเดิมคือ f และ g เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ g o f และ (g o f)(x) = g (f(x)) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
factorial n [ n factorial ] | แฟกทอเรียล n, ผลคูณของจำนวนเต็มตั้งแต่ 1 ถึง n เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ n! [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
zero matrix | เมทริกซ์ศูนย์, เมทริกซ์ที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 0 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
union (of sets) | ยูเนียน (ของเซต), ยูเนียนของเซต A และเซต B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกของเซต A หรือเซต B หรือของทั้งสองเซต เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
real plane | ระนาบจริง, ระนาบที่จุดใดจุดหนึ่งบนระนาบนั้น แทนด้วยคู่อันดับของจำนวนจริงเพียงคู่อันดับเดียว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
square root | รากที่สอง, รากที่สองของจำนวนจริง a เมื่อ a > 0 เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึงจำนวนที่ยกกำลังสองแล้วได้ a เช่น 2 และ -2 เป็นรากที่สองของ 4 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cube root (of a real number) | รากที่สาม (ของจำนวนจริง), รากที่สามของจำนวนจริง a เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึงจำนวนที่ยกกำลังสามแล้วได้ a เช่น = 2, = -3 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
square | รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส, กำลังสอง, 1. รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน 2. กำลังสองของจำนวนจริง x ใด ๆ หมายถึง x · x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ x2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
natural logarithms [ Napierian logarithms ] | ลอการิทึมฐาน e, ลอการิทึมที่ใช้ฐาน e โดยที่ e เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนจำนวนอตรรกยะจำนวนหนึ่งที่มีค่า 2.7182818 โดยประมาณ นิยมเขียนลอการิทึมฐาน e โดยไม่มีฐานกำกับ เช่น loge10 จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ In 10 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
null vector [ zero vector ] | เวกเตอร์ศูนย์, เวกเตอร์ที่มีขนาดเป็นศูนย์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
line segment | ส่วนของเส้นตรง, ส่วนที่ตัดออกมาจากเส้นตรง มีความยาวจำกัด ส่วนของเส้นตรง AB เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
subset | สับเซต, เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
intersection (of two sets) | อินเตอร์เซกชัน (ของเซต 2 เซต), อินเตอร์เซกชันของเซต A และเซต B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของทั้งเซต A และเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
intersection of events | อินเตอร์เซกชันของเหตุการณ์, อินเตอร์เซกซันของเหตุการณ์ E1 และ E2 คือเหตุการณ์ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ทั้งในเหตุการณ์ E1 และ E2 เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E1 E2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydroxyl group | หมู่ไฮดรอกซิล, หมู่อะตอมที่ประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจนกับไฮโดรเจนอย่างละหนึ่งอะตอม เขียนแทนด้วย -OH [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromotive force [ e.m.f. ] | แรงเคลื่อนไฟฟ้า (ร.ค.ฟ.), พลังงานที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าให้ต่อหนึ่งหน่วยประจุไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ผ่านแหล่งกำเนิดนั้น โดยทั่วไปแรงเคลื่อนไฟฟ้ามีค่าใกล้เคียงความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขณะที่วงจรเปิด ใช้ตัวย่อว่า e.m.f. แทนด้วยสัญลักษณ์ E มีหน่ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
standard score | คะแนนมาตรฐาน, ค่าที่บอกให้ทราบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้น ๆ กับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Zi [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
byte | ไบต์, หน่วยของข้อมูล ที่แทนด้วยตัวเลขฐานสองขนาด 8 บิต ใช้เก็บตัวอักขระ 1 ตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
digital signal | สัญญาณดิจิทัล, สัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องที่เรียกว่าดิสครีตสัญญาณดิจิทัลถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่านั้นโดยแสดงสถานะเป็น "0" และ "1" ซึ่งตรงกับรหัสตัวเลขฐานสอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bit | บิต, หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดซึ่งถูกแทนด้วยตัวเลขฐานสองในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ '0' และ '1' [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |