ระเรื่อย | ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย, เสมอ, ไม่ขาด, ไม่หยุด, ไม่พัก. |
เรื่อย, เรื่อย ๆ | ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ |
เรื่อย, เรื่อย ๆ | เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมาเรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ. |
เรื่อยเจื้อย | ว. อาการที่พูดยืดยาว แต่มีสาระน้อย, เลื้อยเจื้อย ก็ว่า. |
เรื่อยเฉื่อย | ว. เอื่อย ๆ, ตามสบาย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่รีบร้อน, เช่น เขาเป็นคนเรื่อยเฉื่อย. |
เรื่อยเปื่อย | ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดินเรื่อยเปื่อย. |
เรื้อย | ก. ล่ามไว้ด้วยเส้นเชือกยาว. |
กบเลือกนาย | น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ. |
กรม ๑ | (กฺรม) ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ |
กรรมวิธี | (กำมะวิที) น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้น อันดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม. |
กรอม ๒ | (กฺรอม) ว. ระทม, เจ็บชํ้าอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรอมใจ. |
กร่อม ๑, กร่อม ๆ | ว. ช้า ๆ เงื่อง ๆ แต่ทำเรื่อยไป (มักใช้แก่การเดิน พายเรือ หรือลุยนํ้า) เช่น เดินกร่อม ๆ กรำฝนฟ้า พายเรือกร่อม ๆ. |
กระแส | น. นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น |
กร่าง ๑ | ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย. |
กรุ่น | (กฺรุ่น) ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น |
กรุ่ม | โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน (นิ. เดือน) |
กะเตง ๆ | ว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไปอย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่. |
กะเร่กะร่อน | ก. เร่ร่อนเรื่อยไป, ไม่อยู่ประจำที่. |
กั้ง ๒ | ก. กั้น เช่น นา ๑๖๐๐ กินเมืองเจียดเบื้ออหักรองตลุ่มกั้งกแอทาชาต (สามดวง), ดุจจันทราทิตยมณฑล เกือบกั้งเบื้องบน บุรีระเรื่อยฉายา (อนิรุทธ์). |
เก | ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ. |
โกรก | (โกฺรก) ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกนํ้า, เทให้ไหลลงไป เช่น เอานํ้าโกรกหัว |
โกรก | พัดอยู่เรื่อย ๆ เช่น ลมโกรก. |
ขนาบ | โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา (ประพาสมลายู). |
ไขลาน | ก. สั่ง, บอกให้ทำ, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้นไม่ทำ |
ครวญคราง | ก. ครางเรื่อย ๆ ไป. |
คราง ๑ | (คฺราง) ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง |
คลายคล้าย, คล้ายคล้าย | ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา (ลอ) |
ความเร่ง | น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. |
ความหน่วง | น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. |
เงินหมุน | น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่. |
จ้อ | ว. อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ. |
เจื้อย | ว. เรื่อยไปไม่มีติดขัด เช่น เทศน์เจื้อย พูดเจื้อย แล่นเจื้อย. |
เจื้อยแจ้ว | ว. มีเสียงไพเราะทอดยาวติดต่อเรื่อยไปไม่ขาดระยะ. |
ฉะเฉื่อย | ว. เฉื่อย, ช้า, เรื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน. |
ฉิว | ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว เดินฉิว |
ฉุย | อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ควันฉุย |
เฉื่อย ๑, เฉื่อย ๆ | ว. เรื่อย ๆ, ช้า ๆ, เช่น ลมเฉื่อย ลมพัดเฉื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน, อืดอาด, เช่น คนเฉื่อย ทำงานเฉื่อย ๆ. |
ชวย | ก. พัดอ่อน ๆ, พัดเรื่อย ๆ, (ใช้แก่ลม), เช่น รศรวยชวยชราบชู้ ชายใด (กาพย์ห่อโคลง). |
ชีพจรลงเท้า | ก. อยู่ไม่เป็นที่, ท่องเที่ยวเดินทางไปเรื่อย ๆ, เดิมใช้ว่า เทพจรลงเท้า. |
เชื่อหน้า | ก. เชื่อในความซื่อสัตย์หรือความสามารถ เช่น ไม่มีใครเชื่อหน้าเขา เพราะชอบยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้คืน นักกีฬาคนนี้แข่งแพ้อยู่เรื่อยจนไม่มีใครเชื่อหน้า. |
เซซัง | เที่ยวไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีจุดหมายไร้ที่พึ่ง เช่น นางจันทร์เทวีอุ้มพระสังข์เที่ยวเซซังไปในป่า. |
แซะ ๑ | ก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้วช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม เช่น แซะขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทำงานอยู่เรื่อย. |
ไซ้ ๑ | ก. กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากยํ้า ๆ ขนหรือหาอาหาร, ซุกซอนไปเรื่อย ๆ เช่น เด็กไซ้อกแม่หานมกิน. |
ด้น | เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงทีสลับกันไปเรื่อย ๆ, ด้นปล่อย ก็เรียก |
ด้นปล่อย | ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงทีสลับกันไปเรื่อย ๆ, ด้น ก็เรียก. |
ดินพอกหางหมู | น. งานหรือหนี้สินเป็นต้นที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องลำบากหรือยุ่งยากเดือดร้อน. |
ดุ่ย, ดุ่ย ๆ | ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น ไปดุ่ย ๆ ทำดุ่ย ๆ ไปอย่างนั้นเอง. |
เดาสวด | ก. พูดเดาไปเรื่อย ๆ อย่างรู้บ้างไม่รู้บ้าง. |
เดินคาถา | ก. ว่าคาถาในเทศน์มหาชาติเรื่อยไป. |
เดินเรื่อง | ก. เริ่มกล่าวเนื้อเรื่องเรื่อยไป |