กฎ | (กด) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้ (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้ (อัยการเบ็ดเสร็จ), พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). |
กฎหมาย | ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้ (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า…(พระราชกำหนดเก่า) |
กรมธรรม์ประกันภัย | น. ตราสารที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยเป็นหลักฐานการรับประกันภัย. |
ก่อร่างสร้างตัว | ก. ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน. |
ของหมั้น | น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น. |
ขึ้น ๑ | เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ |
จดทะเบียน | ก. ลงบันทึกข้อความไว้กับทางราชการเพื่อให้การใดเกิดผล บังคับกันได้ ได้รับการคุ้มครอง หรือเป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท จดทะเบียนเครื่องจักร. |
จดหมายเหตุ | น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
เซ็น ๓ | ก. ลงลายมือชื่อ, เซ็นชื่อ ก็ว่า, (ปาก) ซื้อโดยค้างชำระเงินและผู้ขายลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน เช่น เซ็นค่าก๋วยเตี๋ยวไว้ก่อน. |
ต้นขั้ว | น. ส่วนต้นของใบเสร็จ เช็ค สลากกินแบ่ง เป็นต้น ที่ติดอยู่ในเล่ม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน, หัวขั้ว ก็ว่า. |
ตราสิน | น. ถ้อยคำที่แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐานของทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหายจากการถูกปล้น, บางทีเขียนเป็น ตราสีน ก็มี เช่น ให้ทำฎีกาตราสีนแต่โดยสัจโดยจรีง (สามดวง ลักษณะโจร) |
ตั๋วเงินคลัง | น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการกู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. |
ถ้อยคำสำนวน | น. หนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น. |
ทะเบียน | น. บัญชีจดลักษณะจำนวนคน จำนวนสัตว์ หรือจำนวนสิ่งของ ตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับประชาชนพลเมือง. |
นิคม | น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. |
บน ๓ | คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น ถ้าถามหมีรับให้คาดบนไว้อย่าให้เอาเงีน (สามดวง). |
บัญชี | น. สมุดหรือกระดาษสำหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด บัญชีพัสดุ บัญชีพล บัญชีเรียกชื่อ. |
บันทึก | ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือถ่ายทำไว้เพื่อช่วยความจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงานการประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม |
บันทึก | น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นำมาจดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม. |
ใบตราส่ง | น. เอกสารซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อเป็นหลักฐานการรับขนของให้ตามข้อตกลง. |
ใบสำคัญคู่จ่าย | น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน |
ใบหุ้น | น. ใบสำคัญสำหรับหุ้นที่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ซื้อหุ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้น. |
ประวัติศาสตร์ | (ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด) น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน. |
เป็นจริงเป็นจัง | ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นลํ่าเป็นสัน. |
เป็นตัวเป็นตน | ว. จริงจัง, แน่นอน, ปรากฏชัด, เช่น มีผัวเป็นตัวเป็นตน, เป็นหลักฐาน. |
เป็นล่ำเป็นสัน | ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นจริงเป็นจัง. |
แปะโป้ง | ก. พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเพื่อเป็นหลักฐานเมื่อนำของไปจำนำ, (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ซื้อเชื่อ. |
พยาน | (พะยาน) น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้. |
พ่อพวงมาลัย | น. ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัวหรือทำการงานเป็นหลักฐาน. |
พิมพ์ลายนิ้วมือ | ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็นหลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง. |
พิมพ์ลายมือ | ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ติดอยู่เป็นหลักฐาน. |
มรณบัตร | (มอระนะบัด) น. หนังสือสำคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งออกให้เป็นหลักฐานการตายของบุคคล. |
ลงทะเบียน | ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อรายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อแสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑. |
สร้างฐานะ | ก. ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง. |
สัก ๓ | ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกจิ้มที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐานบนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น. |
สารธรรม | (สาระ-) น. ธรรมเป็นหลักฐาน, ธรรมที่มั่นคง. |
สารบรรณ | (สาระ-) น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน, เรียกงานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร ว่า งานสารบรรณ. |
หนังสือเดินทาง | น. หนังสือสำคัญประจำตัวซึ่งทางราชการของประเทศหนึ่ง ออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อเป็นหลักฐานในการเดินทางไปต่างประเทศ. |
หนังสือราชการ | น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ. |
หมั้น | สัญญาว่าจะสมรสกับหญิง โดยส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐาน เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง. |
หลักฐาน | น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคงอันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน |
อ้างอิง | ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. |
อ้างอิง | ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง. |
เอกสาร | (เอกกะ-) น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน. |
เอกสารสิทธิ | (เอกกะสานสิด) น. เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ. |