backing store | หน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage |
backup storage | หน่วยเก็บสำรอง <คำแปล>หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store |
black box | กล่องดำหมายถึง แผงวงจรหรืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแยกออกมาต่างหาก โดยปกติผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่า วงจรนั้นทำงานอย่างไร เป็นต้นว่า การถอดรหัสสัญญาณ |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
capture | (แคพ'เชอะ) n. การจับได้, การยืดได้, สิ่งที่ถูกยึด, คนที่ถูกจับ, เชลย vt. จับได้, ยืดได้, เข้ายึดได้, ตีได้, ทำให้สนใจ, ทำให้หลงไหล, See also: capturer n. ดูcapture, Syn. take เก็บภาพจับภาพ ข้อมูล หมายถึง การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพทั้งหมด หรือ เฉพาะบางส่วนเอาไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช ใช้วิธีกดแป้น Command + Shift + 3 ภาพที่เกิดจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลชื่อ Picture 1, Picture 2.... เรียงไปตามลำดับ ส่วนพีซี ใช้วิธีกดแป้น Print Screen ภาพที่อยู่บนจอจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด clipboard เราอาจสั่งเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลได้โดยกำหนดชื่อให้เป็น ภาพ ๆ ไป แฟ้มเหล่านี้จะเรียกมาดูได้ในหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า PageMaker, Microsoft Word อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกเก็บเฉพาะบางส่วนของภาพที่ปรากฏบนจอ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
computer science | วิทยาการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานให้ตามความประสงค์ เป็นต้นว่า กระบวนการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (information) ฯ อนึ่ง ศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
con | (คอน) 1. { conned, conning, cons } v. ต่อต้าน, แย้ง, เรียนรู้, ศึกษา, ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง, จำไว้, นำเรือ, ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน, การโต้เถียง, ผู้คัดค้าน, ผู้ลงบัตรคัดค้าน, นักโทษ, วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น |
control code | รหัสควบคุมหมายถึง การกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์พิเศษ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้นว่า กำหนดให้การกดแป้น <RETURN> เป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่ เป็นต้น |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
cray research, inc. | <ชื่อบริษัท>สถาบันวิจัยเครย์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่สร้างคอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ยิ่งใหญ่บริษัทหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นขนาดที่เรียกกับว่า supercomputer ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกมีชื่อว่า Cray I ในปี ค.ศ.1977 คอมพิวเตอร์ขนาดนี้จะมีราคาสูงมาก และมักจะใช้กับงานใหญ่ ๆ เป็นต้นว่า การส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก เป็นต้น |
dde | (ดีดีอี) ย่อมาจาก dynamic data exchange คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
draw tool | เครื่องมือวาดภาพหมายถึง เครื่องมือต่าง ๆ ที่โปรแกรมวาดภาพ เป็นต้นว่า Paintbrush, Paint หรือ โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) เตรียมไว้ให้ใช้ในการวาดภาพ ใส่สี ฯ เช่น แปรง ดินสอ ยางลบ ฯ |
dynamic data exchange | การสับเปลี่ยนข้อมูลแบบพลวัตใช้ตัวย่อว่า DDE (อ่านว่า ดีดีอี) คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
esc key | (แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
escape key | แป้นหลีกเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (บนแป้นมักจะมี ESC) มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
file maintenance | การบำรุงรักษาแฟ้มข้อมูลหมายถึง การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลให้ทันสมัยและถูกต้อง อยู่เสมอ เป็นต้นว่า เพิ่ม/ลด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางประการ |
file name | ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้ |
file protection | การอารักขาแฟ้มข้อมูลหมายถึงวิธีการที่สร้างขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่มีได้รับอนุญาตเข้ามาดู หรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มนั้น ๆ ได้ เป็นต้นว่าการสร้างคำผ่าน (passwords) เป็นต้น |
hard lock | (ฮาร์ดล็อค) หมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์บางอย่างเข้ากับตัวเครื่อง เพื่อมิให้ใช้เครื่องได้ในกิจกรรมบางประการ เป็นต้นว่า การทำงานกับซอฟต์แวร์บางตัวเป็นต้น |
indicator | (อิน' ดิเคเทอะ) n. ดรรชนี, เครื่องชี้นำ, สิ่งชี้นำ, Syn. pointer, guide, sign หมายถึง อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้บอกสภาพบางประการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า มีไฟแดงขึ้นที่หน่วยขับจานบันทึก disk drive เพื่อบอกว่าอุปกรณ์ส่วนนี้กำลังทำงาน หรืออาจเป็นสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโผล่ขึ้นบนจอภาพในระหว่างการกระทำการ execution เช่น มีสัญลักษณ์แสดงว่า ข้อมูลล้นหน่วยความจำ overflow เป็นต้น |
international organizatio | ISO <คำย่อ>องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานใช้ตัวย่อว่า ISO (อ่านว่า ไอเอสโอ) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้นว่า ภาษาปาสกาล, ภาษา Prolog |
iso | International Organization for Standardizationองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานใช้ตัวย่อว่า ISO (อ่านว่า ไอเอสโอ) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้นว่า ภาษาปาสกาล, ภาษา Prolog |
liveware | หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า1. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (computer engineer) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการบำรุงรักษาตัวเครื่อง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนตัวเครื่อง (hardware) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) คือ ผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล3. นักเขียนชุดคำสั่งหรือผู้ทำโปรแกรม (programmer) คือผู้ที่จะเขียนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม4. ผู้ควบคุมเครื่อง (operator) คือผู้ที่จะบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ด้วยการกดปุ่มบนแผงหน้าปัด ให้ทำงานตามคำสั่ง5. ผู้เตรียมข้อมูล (data entry operator) หมายถึงผู้ที่นำข้อมูลลงในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แถบบันทึก จานบันทึกมีความหมายเหมือน peopleware |
magnetic tape | แถบบันทึกแม่เหล็กหมายถึง แถบที่ทำด้วยพลาสติกฉาบออกไซด์ของโลหะ มีลักษณะคล้ายเทปหรือแถบบันทึกเสียง ม้วนอยู่บนวงล้อ มีหลายขนาด เป็นต้นว่า ขนาดยาว 2, 400 ฟุต 1, 200 ฟุต และ 600 ฟุต ตัวเทปกว้าง ? นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 800-1, 600 ตัวอักษรต่อความยาวของเนื้อเทป 1 นิ้ว เทปหรือแถบบันทึกนี้สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล คอมพิวเตอร์จะมีเครื่องมือที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลลงในเทป เรียกว่า หน่วยขับเทป (tape drive) เราสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ลงทับบนข้อมูลเก่าได้เหมือนการบันทึกเพลง ข้อมูลเดิมจะหายไปโดยอัตโนมัติ ข้อเสียของเทปก็คือ การค้นหาข้อมูลทำได้ช้า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเทปเสมอ ถ้าข้อมูลอยู่ปลายเทป ก็จะเสียเวลานาน การค้นหาแบบนี้เรียกว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (sequential access) ซึ่งตรงข้ามกับการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access) ของจานบันทึก |
manipulate | (มะนิพ'พิวเลท) vt. จัดการ, จับต้อง, ใช้, ยักย้าย, เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม. จัดดำเนินการหมายถึง การปรับข้อมูล เป็นต้นว่า ลบ เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม เพื่อหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ฯ, See also: manipulatable adj. manipulative adj. manipulatelyadv. manipulateness n. |
manual feed | ป้อนด้วยมือหมายถึง การทำด้วยมือแทนการสั่งให้ทำงานอัตโนมัติ เป็นต้นว่า การส่งกระดาษเข้าไปในเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ทีละแผ่นด้วยมือ แทนที่จะให้เครื่องพิมพ์ดึงกระดาษเองจากถาดใส่กระดาษ (tray) โดยปกติ จะใช้วิธีนี้ เมื่อต้องสั่งพิมพ์งานที่ไม่ใช้กระดาษขนาดมาตรฐาน เช่น ซองจดหมายฯ |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
microsoft | ไมโครซอฟต์เป็นชื่อบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่บริษัทหนึ่ง ตั้งอยู่ในเมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริ กา ผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายมากได้แก่ โปรแกรมระบบดอส (MS-DOS) , วินโดว์ (MS WINDOWS) และยังมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับเครื่องพีซี และแมคอินทอชอีกหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า Microsoft Office, WORD, EXCEL ฯลฯ |
oa | (โอเอ) ย่อมาจาก office automation แปลว่า การอัตโนมัติสำนักงาน, สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
off-line | นอกสายไม่เชื่อมตรงถ้าใช้กับเครื่องปลายทาง (terminal) หมายความว่า ไม่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์อื่นใดเลย ถ้าใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์ ก็หมายความว่าไม่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เช่นกัน ดู on line เปรียบเทียบ |
office automation | การอัตโนมัติสำนักงานใช้ตัวย่อว่า OA (อ่านว่า โอเอ) หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่อวคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
on-line | เชื่อมตรงในสายหมายถึง การเชื่อมอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง (terminal) เข้า กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ผ่านทางสายเคเบิลหรือด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม เพื่อให้มีการทำงานร่วมกัน เป็นต้นว่า เครื่องถอนเงินด่วน (ATM) จะต้อง "เชื่อมตรง" กับคอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ธนาคารสำนักงานใหญ่ จึงสามารถประมวลผลให้ได้ว่า บัญชีของเรามีเงินเท่าใด ถอนแล้วเหลือเงินอีกเท่าใด ดู off line เปรียบเทียบ |
output buffer | บัฟเฟอร์ส่งออกในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ (พิมพ์ตามไม่ทัน) เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด อันที่จริง บัฟเฟอร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
output device | อุปกรณ์ส่งออกอุปกรณ์แสดงผลหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล การแสดงนั้นอาจแสดงผ่านทางอุปกรณ์ได้หลายชนิด เป็นต้นว่า จอภาพ เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์ รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก ดู input device เปรียบเทียบ |
page layout | การกำหนดหน้าหมายถึง การออกแบบหน้ากระดาษ โดยกำหนดจัดเรียงข้อความและภาพประกอบในแต่ละหน้าให้แลดูสวยงาม เริ่มตั้งแต่กำหนดขอบหน้ากระดาษ (margin) จำนวนบรรทัด การแบ่งคอลัมน์ ฯ วิธีการดังกล่าวอาจใช้โปรแกรมประเภทงานพิมพ์ตั้งโต๊ะช่วยก็ได้ เป็นต้นว่า PageMaker, Ventura Publisher, QuarkXpress เพราะมีคำสั่งเฉพาะในเรื่องการจัดหน้าแบบต่าง ๆ การโปรยอักษรรอบภาพ รวมทั้งการดึงเอาภาพ กราฟ ตารางจัดการ ฯ จากโปรแกรมอื่นมาแทรกใส่ให้สะดุดตา การลด/ขยายขนาดของภาพให้เหมาะกับเนื้อที่ได้ ดู desktop publishing ประกอบ |
pages per minute | ใช้ตัวย่อว่า ppm. (อ่านว่า พีพีเอ็ม) เป็นหน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ (ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์) หมายถึง จำนวนหน้าที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ได้ใน 1 นาที อย่างไรก็ตาม การที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า การพิมพ์ที่ใช้ตัวอักษรธรรมดา หรือตัวอักษรพิเศษ เป็นการพิมพ์ภาพสีเดียว หรือภาพหลายสี ฯ เครื่องพิมพ์บางชนิด วัดความเร็วในการพิมพ์เป็นบรรทัดต่อนาที (lines per minute) ก็มี |
point of sale system | ระบบ ณ จุดขายใช้ตัวย่อว่า POS (อ่านว่า พีโอเอส) ในวงการคอมพิวเตอร์ จะหมายถึง การขายทั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในราคาขายปลีก ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หมายรวมทั้งอุปกรณ์ ต่าง ๆ ด้วยเป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ (scanner) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode reader) ฯลฯ |
polymorphism | (พอลลีมอร'ฟิสซึม) n. ภาวะที่มีหลายรูปแบบ, See also: polymorphistic adj. โพลิมอฟิซึม <คำอ่าน>ในโปรแกรมเชิงวัตถุ object-oriented programming หมายถึง การใช้ชื่อเหมือนกันให้หมายถึงกระบวนการคนละอันในเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน เป็นต้นว่า คำว่า "แสดงผล" display อาจใช้หมายถึงการแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นกราฟ เป็นภาพ เป็นตารางจัดการ เป็นภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง ฯ รวมทั้งการแสดงบนจอภาพ บนกระดาษ วิธีการเช่นนี้ ใช้กันในเรื่องของโปรแกรมเชิงวัตถุ |
pos | (พีโอเอส) ย่อมาจาก point of sale (ณ จุดขาย) ในวงการคอมพิวเตอร์ จะหมายถึง การขายทั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในราคาขายปลีก ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หมายรวมทั้งอุปกรณ์ ต่าง ๆ ด้วยเป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ (scanner) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (bar code reader) |
ppm | (พีพีเอ็ม) ย่อมาจาก pages per minute เป็นหน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ (ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์) หมายถึง จำนวนหน้าที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ได้ใน 1 นาที อย่างไรก็ตาม การที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า การพิมพ์ที่ใช้ตัวอักษรธรรมดา หรือตัวอักษรพิเศษ เป็นการพิมพ์ภาพสีเดียว หรือภาพหลายสี ฯ เครื่องพิมพ์บางชนิด วัดความเร็วในการพิมพ์เป็นบรรทัดต่อนาที (lines per minute) ก็มีดู lpm เปรียบเทียบprecedence : การทำก่อนในทางคณิตศาสตร์ หมายถึง การดำเนินการที่ทำก่อนอย่างอื่น เช่น ในนิพจน์ใดที่เครื่องหมาย + - * (คูณ) / (หาร) และวงเล็บ () ก็ต้องทำในวงเล็บก่อน แล้วมาทำ * และ / หลังจากนั้นจึงจะทำ + และ - เช่นนี้ เรียกว่า วงเล็บเป็นลำดับก่อน |
preprocssor | ตัวประมวลผลก่อนเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ให้จัดการเตรียมข้อมูลไว้สำหรับการประมวลผลขั้นต่อไป เป็นต้นว่า จัดรูปแบบไว้ก่อน หรือคำนวณไว้ให้ขั้นตอนหนึ่งก่อน เป็นต้น |
presentation graphics | ภาพเพื่อการนำเสนอหมายถึง ซอฟต์แวร์ประเภทที่มุ่งไปในด้านการนำเสนอผลงานที่ชวนให้ประทับใจ โดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้ประกอบการบรรยาย หรืองานประชาสัมพันธ์ เป็นต้นว่า จะต้องสามารถแปลงตัวเลขใน ตารางจัดการ เป็นผังงาน กราฟ ฯ แล้วสามารถนำข้อความ ภาพ และเสียง หรือที่เรียกว่า สื่อหลายแบบ (multimedia) มาจัดเสนอในรูปแบบที่จะดึงดูดใจให้ดูน่าเชื่อถือ กับทั้งอาจจัดทำเป็น สไลด์ หรือแสดงบนจอภาพแล้วถ่ายทอดออกทางเครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector) ได้ นับเป็นการแสดงถึงเทคโนโลยีชั้นสูงอย่างหนึ่ง โปรแกรมที่ใช้กันมาก ก็มี Freelance, HiJack ฯ |
primary storage | หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storageดู secondary storage เปรียบเทียบprint : พิมพ์หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ หรือแผ่นใส ฯ กับใช้เป็นรายการคำสั่งในโปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรม ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการดังกล่าว ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาอีกหลายคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เป็นต้นว่า พิมพ์กี่ชุด พิมพ์หน้าไหนบ้าง ขยายหรือย่อขนาดกี่เปอร์เซ็นต์ ฯ รวมทั้งเป็นคำสั่งในโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษาด้วย |
proportional pitch | ช่องไฟปรับสัดส่วนหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์สามารถกำหนดให้ตัวอักขระแต่ละตัวใช้เนื้อที่ตามสัดส่วน เป็นต้นว่า ตัว i ย่อมจะไม่ใช้เนื้อที่มากเท่ากับตัว m หรือตัว w |
random access | การเข้าถึงโดยสุ่มการเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้โดยสุ่มหมายความว่าเข้าถึงได้ทุก ๆ จุดได้โดยทันทีทันใด เป็นต้นว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เก็บในจานบันทึก ซึ่งจะใช้เวลาเท่ากันหมดไม่ว่าเก็บไว้ที่จุดไหน ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบบันทึกหรือเทป ถ้าข้อมูลที่ต้องการอยู่ตอนปลาย ก็จะต้องรอให้เทปเดินหน้าไปจนถึงจุดนั้นเสียก่อน การเข้าถึงข้อมูลโดยวิธีนี้ จะมีหัวอ่าน/บันทึก (read head) ต่อกับก้านโลหะที่เคลื่อนเข้า/ออกได้ เหนือจานที่หมุนรอบแกนอีกทีหนึ่ง เปรียบเทียบ) ถ้าเปรียบกับการฟังเพลงจากจานเสียงและเทป จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าเป็นเทปหรือแถบบันทึก หากจะฟังเพลงที่อยู่ในลำดับท้าย ๆ ก็จะต้องรอให้เทปหมุนผ่านเพลงในลำดับแรก ๆ ไปก่อน แต่ถ้าเป็นจานเสียง เราต้องการฟังเพลงใด ก็สั่งได้ทันทีดู sequential access เปรียบเทียบ |
rpm | อาร์พีเอ็ม <คำอ่าน>ย่อมาจาก revolutions per minute หมายถึงจำนวนครั้งที่หมุนรอบตัวเองต่อนาที ใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการหมุนของอุปกรณ์บางอย่าง เป็นต้นว่า จานบันทึก |
satellite computer | คอมพิวเตอร์บริวารหมายถึงคอมพิวเตอร์เครื่องเล็ก ที่ใช้สนับสนุนเครื่องใหญ่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้นว่า กำหนดให้ตรวจสอบข้อมูลที่ส่งผ่านทางสถานีปลายทาง (terminal) ให้ถูกต้องก่อนที่จะส่งเข้าไปประมวลผลในเครื่องใหญ่ต่อไป |