กินเปล่า | (-เปฺล่า) ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. |
กินเปล่า | (-เปฺล่า) น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน ว่า เงินกินเปล่า. |
กินเปล่า | (-เปฺล่า) ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า. |
เขาเปล้า | ดู เปล้า ๒. |
เงินกินเปล่า | น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน. |
จับเสือมือเปล่า | ก. แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน. |
ตัวเปล่า | ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลำพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. |
ตัวเปล่าเล่าเปลือย | ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. |
ที่ดินมือเปล่า | น. ที่ดินซึ่งผู้ครอบครองยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน. |
น้ำแข็งเปล่า | น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ใส่น้ำหรือน้ำชา. |
ปากเปล่า | ก. ว่าโดยไม่ดูตัวหนังสือ เช่น เทศน์ปากเปล่า, เรียกวิธีสอบโดยใช้วาจาแทนการเขียนคำตอบ ว่า สอบปากเปล่า. |
เปล่า | (เปฺล่า) ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ |
เปล่า | เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น |
เปล่า | ไม่มีข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. |
เปล่า | (เปฺล่า) ก. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว. |
เปล่าดาย | ว. เปล่าทีเดียว. |
เปล่า ๆ ปลี้ ๆ | (-ปฺลี้) ว. ไม่มีหลักฐาน เช่น มาโทษกันเปล่า ๆ ปลี้ ๆ. |
เปล่าเปลี่ยว | (-เปฺลี่ยว) ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่. |
เปล้า ๑ | (เปฺล้า) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Croton วงศ์ Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ ( C. roxburghiiN.P. Balakr.) เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย ( C. stellatopi losusH. Ohba) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ทำยาได้. |
เปล้า ๒ | (เปฺล้า) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียว แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันที่หน้าอกและช่วงไหล่ ซึ่งอาจมีสีม่วง นํ้าตาล เขียว ชมพู หรือเหลือง ทำรังเป็นรูปถ้วยง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ตามกิ่งก้านของต้นไม้ หากินเป็นฝูง กินผลไม้ เช่น เปล้าขาเหลือง [ Treron phoenicoptera (Latham) ] เปล้าคอสีม่วง [ T. vernans (Linn.) ], เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า. |
เปล้าขลิบทอง | ดู กะอวม. |
มือเปล่า | น. มือที่ไม่ได้ถืออาวุธ เช่น สู้มือเปล่า, มือที่ไม่ได้ถือของติดไปด้วย เช่น มามือเปล่า, ไม่ได้ลงทุน เช่น จับเสือมือเปล่า. |
ว่างเปล่า | ว. ไม่มีอะไรเลย เช่น โต๊ะตัวนี้ว่างเปล่าไม่มีของวางอยู่เลย. |
สอบปากเปล่า | ก. สอบโดยวิธีซักถามให้ตอบด้วยวาจา. |
สูญเปล่า | ว. หมดสิ้นไปโดยไร้ประโยชน์ เช่น ลงทุนครั้งนี้สูญเปล่าจริง ๆ นอกจากไม่ได้กำไรแล้วยังขาดทุนอีกด้วย. |
เสียเปล่า | ก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า. |
เสียเปล่า | ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็นลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสียเปล่า แต่ไม่รู้จักคิด. |
กระแบ่ | น. กระแบะ เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย (ม. คำหลวง กุมาร). |
กลอนด้น | น. กลอนที่ว่าปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส. |
กะอวม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Acronychia pedunculata (L.) Miq. ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก สีเขียวอ่อนหรือสีนวล กินได้, กระเบื้องถ้วย เปล้าขลิบทอง ไพรสามกอ หรือ มะงัน ก็เรียก. |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
ค่าหน้าดิน | น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน. |
คาราเต้ | น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี. |
เงียบเหงา | ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง |
จุลชีพ, จุลชีวัน, จุลชีวิน, จุลินทรีย์ | น. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ส่วนมากมีเซลล์เดียว. |
จุลทรรศน์ | น. กล้องขยายดูของเล็กที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า. |
เจ้า ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือเอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคำ นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่นจะไปด้วยหรือเปล่า. |
ฉ่อย | น. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่. |
ชระงม | (ชะระ-) ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น (ม. คำหลวง มหาราช). |
ด้น | ว่ากลอนปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส เรียกว่า ด้นกลอน. |
ด้น | น. เรียกกลอนที่ว่าปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส ว่า กลอนด้น |
ด้นกลอน | ก. ว่ากลอนปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส. |
ดาย | ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย (จารึกสยาม) |
ดาวเคราะห์ | น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๘ ดวง คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) มองจากโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์. |
ต้มยำ | น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือในกะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็ม อาจใส่นํ้าพริกเผา. |
ต้มยำกะทิ | น. ชื่อแกงต้มยำที่ใส่กะทิแทนนํ้าเปล่า. |
ตายน้อย | ว. เกือบตาย เช่น สิ้นแผ่นดินปิ่นเกล้ามาเปล่าอก น้ำตาตกตายน้อยลงร้อยหน (นิราศพระประธมของสุนทรภู่). |
ทัศนวิสัย | น. ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร. |
เนปจูน | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะอยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔, ๕๒๙ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘, ๔๐๐ กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗, ๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. |
ประหว่า | ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน (สมุทรโฆษ). |