เนื้อความ | น. สาระของข้อความ. |
แปลตามเนื้อความ | ก. แปลเอาความ, แปลตามอรรถ หรือ แปลโดยอรรถ ก็ว่า. |
กระบวนความ | น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ. |
กำดัด | กำหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง (โคบุตร). |
ข้อ | เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ |
ข้อความ | น. เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อ ก็ว่า. |
ขุนศาล | น. ข้าราชการฝ่ายยุติธรรมตำแหน่งปลัดนั่งศาลหรือราชปลัดนั่งศาลต่าง ๆ ในราชธานี อาทิ กรมกลาโหมมีขุนประชาเสพราชปลัดนั่งศาลอาชญานอก กรมวังมีขุนอินอาญาปลัดนั่งศาลอาชญาวัง, ใช้เป็นสำนวนว่า ขุนโรงขุนศาล เช่น กฎให้แก่ขุนโรงขุนศาลผู้พิจารณาเนื้อความทุกหมู่ทุกกรมในกรุงนอกกรุงจงทั่ว (สามดวง), ขุนสาน หรือ ขุนสาร ก็ว่า. |
ความ | (คฺวาม) น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ |
จุณณียบท | (จุนนียะบด) น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. |
โดยอรรถ | ว. ตามเนื้อความ เช่น แปลภาษาบาลีโดยอรรถ. |
ทรง | ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ถือศีล ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ |
แทรก ๑ | เติมเข้าไปในระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ |
บรมัตถ์ | (บอระมัด) น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด |
ปรมัตถ์ | (ปะระมัด, ปอระมัด) น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด |
แปรญัตติ | ก. แก้ถ้อยคำหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับหลักการแล้ว. |
แปลโดยอรรถ | ก. แปลตามเนื้อความ, แปลตามอรรถ ก็ว่า. |
แปลตามอรรถ | ก. แปลตามเนื้อความ. |
พจนารถ | (พดจะนาด) น. เนื้อความของคำพูด. |
พยติเรก | ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน |
พิสดาร | (พิดสะดาน) ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้ |
ภาษา | โดยปริยายหมายความว่า สาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา. |
ราวความ | น. เนื้อความที่ต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้ยังต้องไปสืบสาวราวความให้ละเอียด. |
เรื่อง | เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง. |
วงเล็บ | น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. |
เสความ | ก. ทำเนื้อความให้เชือนแชหรือไถลไปเป็นเรื่องอื่น. |
อรรถ, อรรถ- | (อัด, อัดถะ-) น. เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คำที่ยังไม่ได้แปลความหมาย เช่น คำอรรถ. |
อรรถบท | (อัดถะบด) น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ. |
อัตถ-, อัตถ์, อัตถะ | น. เนื้อความ, ประโยชน์, ความต้องการ. |
อาขยาต | (-ขะหฺยาด) น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. |
อุปริมปริยาย | (-ปะริยาย) น. เนื้อความอันสูงสุด. |
เอกรรถประโยค | (เอกัดถะ-) น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว. |