เก็ง | ก. กะ, คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ, เช่น เก็งหมัด เก็งข้อสอบ. |
เก็งกำไร | ก. หวังหากำไรด้วยการเสี่ยง. |
เก่ง | ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคำนวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง ลืมเก่ง. |
เก่งกาจ | ก. กล้าหาญไม่กลัวอะไร. |
เก่งแต่ปาก | ว. ดีแต่พูด ทำไม่ได้, ไม่เก่งจริง. |
เก้ง | น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ. |
เก๋ง | น. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน |
เก๋ง | เครื่องบังมีฝาและหลังคาแบนสำหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง. |
เก๋งพั้ง | น. เรือสำปั้นขนาดใหญ่มีเก๋งกลางลำ เช่น เรือเก๋งพั้งทั้งสอง สำรองเสร็จ (นิ. ลอนดอน). |
เก้งก้าง | ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางดูเกะกะไม่เรียบร้อย. |
โก้งเก้ง | ว. มีลักษณะหรือท่าทางสูงโย่งเย่ง. |
เขย่งเก็งกอย | ก. กระโดดตีนเดียว. |
เขย่งเก็งกอย | น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง. |
ตัวเก็ง | น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. |
ติดเก้ง | ก. อาการสมจรของสุนัขซึ่งกำลังติดกัน, ติดเต้ง หรือ ติดเป้ง ก็ว่า. |
รถเก๋ง | น. รถยนต์ที่มีหลังคาเครื่องบังแดดบังฝน มีทั้งชนิดติดตายตัวและเปิดปิดได้ ปรกตินั่งได้ไม่เกิน ๗ คน. |
อีเก้ง | ดู เก้ง. |
กระดกกระดนโด่ | ก. ตั้งอยู่อย่างไม่เรียบร้อย, ท่าทางเก้งก้างไม่เรียบร้อย. |
กลีบเดียวกระเทียมโทน | น. ตัวคนเดียวแต่เก่งกล้าสามารถ, มักใช้เข้าคู่กับ หัวเดียวกระเทียมลีบ เป็น หัวเดียวกระเทียมลีบ กลีบเดียวกระเทียมโทน. |
กวางจุก | ดู เก้ง. |
กว้าน ๒ | รวบรวมซื้อจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจำนวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้ กว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร. |
กะทิ ๑ | ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่เก่งหรือดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ. |
กะเร่อกะร่า | ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า. |
ก๋า ๑ | ว. อาการที่ทำท่าว่าเก่ง เช่น ยืนก๋า เต้นก๋า. |
ก่าน | เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กุ้งเต้น ๒ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Talitridae และ Hyalidae ลักษณะคล้ายกุ้งลำตัวขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัว ใหญ่กว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่สุดท้ายสั้นแข็งใช้สำหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ ที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย เช่น ชนิด Orchestia floresianaWeber . |
กุนซือ | น. ที่ปรึกษา เช่น พรรคนี้มีกุนซือเก่ง ๆ หลายคน ใครนะเป็นกุนซือให้นายกยุบสภา. |
เก๋า ๒ | แน่, เก่งกล้าไม่กลัวใคร, เช่น ใครเก๋าออกมาสู้กันหน่อย. |
แก่นแก้ว | ว. ยิ่งในทางที่เลว, เก่งในทางซุกซนหรือในทางไม่สู้ดี. |
แกล้ว | (แกฺล้ว) ว. กล้า, องอาจ, เก่ง, ว่องไว. |
ไกร ๒ | กล้า, เก่ง. |
ขวาง ๆ รี ๆ | ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, รี ๆ ขวาง ๆ ก็ว่า. |
ขี้ตีน | น. ฝุ่นละอองที่ติดมากับเท้า, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ต่ำค่าที่สุด เช่น เก่งแค่นี้ไม่ได้ขี้ตีนเขาหรอก. |
เขี้ยวเล็บ | น. กำลัง, อำนาจ, ความเก่ง, เช่น ถอดเขี้ยวเล็บ หมดเขี้ยวเล็บ กองทัพต้องมีเขี้ยวเล็บ. |
แข็ง | แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทำงานแข็ง วิ่งแข็ง |
ความรู้ | ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ เช่น ผู้ชายคนนี้เก่ง แต่ไม่มีความรู้เรื่องผู้หญิง. |
คอทองแดง | ว. ที่ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ. |
คอเป็นเอ็น | ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น (คาวี). |
จัง | ว. ยิ่งนัก เช่น เก่งจัง ร้อนจัง ของสิ่งนี้ถูกจัง |
ฉกาจ, ฉกาจฉกรรจ์ | (ฉะกาด, ฉะกาดฉะกัน) ว. เก่งกาจ, ดุร้าย, กล้าแข็ง. |
ฉิบหาย | ว. มาก เช่น เก่งฉิบหาย. |
โฉ่งฉ่าง | ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยาโฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง. |
ชะมัด | ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า. |
ช่าง ๒ | ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะโน้มไปในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่างเก่งจริง ๆ. |
ชำเนียร ๒ | ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชำเนียรในศิลป์ (สรรพสิทธิ์). |
ชีระ ๒ | ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว. |
เชียร ๒ | ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า (แช่งนํ้า). |
เซียน | โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนการพนัน เซียนกล้วยไม้. |
ดี ๒ | สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ถูกต้อง เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี. |
ดูหมิ่น, ดูหมิ่นถิ่นแคลน | ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูด หรือเขียน เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า. |