access arm | ก้านเข้าถึง <คำแปล>หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยบันทึก มีลักษณะเป็นก้านที่ต่อกับหัวอ่าน/บันทึก (read / write head) ที่ใช้เจาะเข้าไปที่จานบันทึก เพื่ออ่านข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล หรือเพื่อบันทึกข้อมูลลงในจานบันทึก มีลักษณะคล้ายเข็มของเครื่องเล่นจานเสียง |
access time | ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ |
analog | (แอน' นะลอก) n. = analogue อะนาล็อก เชิงอุปมานหมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดในลักษณะต่อเนื่อง เช่น วัดความเร็วของรถยนต์จากการหมุนของวงล้อ ตรงข้ามกับ ดิจิตอล (digital) ซึ่งหมายถึง การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข นาฬิกามีใช้ทั้งสองแบบ ซึ่งจะบอกความแตกต่างระหว่างอะนาล็อกและดิจิตอลได้ชัดเจน กล่าวคือ แบบหนึ่งจะแสดงเวลาเป็นตัวเลข ส่วนอีกแบบหนึ่งใช้เข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวบอกเวลา เรียกว่าแบบอะนาล็อก คอมพิวเตอร์นั้นมีสองชนิด คือชนิดอะนาล็อกและชนิดดิจิตอล แต่คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนั้นจะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล "เสียง" เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอะนาล็อก เมื่อจะนำเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ จะต้องถูกนำไปเปลี่ยนเป็นดิจิตอลก่อน โดยให้ผ่านอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "โมเด็ม" ดู digital เปรียบเทียบ |
automated office | สำนักงานอัตโนมัติหมายถึงสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน เช่น การเก็บข้อมูล การพิมพ์เอกสาร ฯ บางทีใช้ office automation |
auxiliary memory | หน่วยความจำช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ |
auxiliary storage | หน่วยเก็บช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความหมายเหมือน auxiliary memory |
backing store | หน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage |
backup storage | หน่วยเก็บสำรอง <คำแปล>หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store |
base address | หมายถึง ตำแหน่งเริ่มต้นที่ใช้เพื่อการคำนวณหาเลขที่อยู่ (address) ในแหล่งเก็บข้อมูล จากเลขที่อยู่สัมพัทธ์ (relative address) |
bernouilli box | กล่องเบอร์นิวลีหมายถึง ระบบการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ไว้ในแถบบันทึกคาร์ทริดจ์ (cartridge) แถบบันทึกชนิดนี้ทำไว้ให้ถอดเก็บได้สะดวก นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสที่ ชื่อเบอร์นิวลี (Bernouilli) เป็นผู้คิดทำและ เป็นผู้คิดทฤษฎีเกี่ยวกับพลังการหมุนของแถบบันทึกชนิดนี้ |
binary digit | เลขโดดฐานสองเรียกย่อ ๆ ว่า bit หมายถึง ตำแหน่งหนึ่งในเลขฐานสอง ซึ่งเป็นได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ใช้แทนค่าต่าง ๆ บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในการเก็บค่า เรานำบิตมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7-8 บิต เพื่อใช้เป็นรหัสแทนตัวอักขระต่าง ๆ ดู bit ประกอบ |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
bubble memory | หน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้ |
cache | (แค?) { cached, caching, caches } n. ที่ซ่อน, ที่เก็บ, สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน, เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
cartridge | (คาร์'ทริจฺ) 1. n. กระสุนปืน, ลูกกระสุน, ลำกล้องดินระเบิด, ภาชนะใส่ของเหลวหรือแก๊ส, ที่ม้วนเทป 2. อาจเป็นได้ทั้งตลับเทปหรือกล่อง ใช้เก็บข้อมูล ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมใช้ บางทีใช้เป็นที่บรรจุเกมส์ต่าง ๆ เรียกว่า game cartridge ส่วน font cartridge หมายถึง ตลับที่ใช้เก็บแบบตัวอักษรสำหรับใส่ในเครื่องพิมพ์บางชนิด ถ้าใช้กับเครื่องพิมพ์หมายถึงที่ใส่หมึกสำหรับพิมพ์ เรียกว่า toner cartridge |
casette tape | ตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
characters per inch | จำนวนอักขระต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า CPI แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อนิ้ว เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึกว่า เนื้อเทป 1 นิ้ว จะเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักขระ |
chip | (ชิพ) 1. { chipped, chipping, chips } n. เศษไม้, เศษหิน, ชิ้น, แผ่นตัด, เศษ, เบี้ย, สิ่งเล็กสิ่งน้อย, สิ่งที่ไร้ค่าหรือมีค่าน้อย, ไม้ตอก, ก้อนมูลแห้ง, เงิน vt. ตัด, เลาะ, แกะ, แชะ, ขูด, สกัด, เจาะ, ทำปากแหว่ง, เฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ , พูดเหน็บแนม, พูดสอด, จิกให้ไข่แตก vi. แหว่ง, เป็นรอยร้า 2. n. หมายถึงวงจรรวม (integrated circuit) ทำหน้าที่ เหมือนสาร กึ่งตัวนำ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน มีชิปแบบวีแอลเอสไอ (VLSI หรือ Very large scale integrated circuit) ซึ่งจะมีทรานซิสเตอร์เป็นพัน ๆ ตัว แต่มีขนาดเล็กนิดเดียว ราคาถูกลงทุกวัน แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก ถ้าชิปใดมีทั้งหน่วยความจำ หน่วยคำนวณ และตรรกะ เราจะเรียกชิปนั้นว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (micro processor) ปัจจุบัน เราใช้ชิปกันมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เครื่องคิดเลข นาฬิกา เครื่องมือแพทย์ ฯ ดู microprocessor ประกอบ |
clipboard | คลิปบอร์ดกระดาษทดหมายถึง เนื้อที่ในหน่วยความจำที่กันไว้ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว มีใช้ทั้งในคอมพิวเตอร์แมคอินทอช และระบบวินโดว์ของพีซี เนื้อที่ที่กันเอาไว้ส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนกระดาษทด ที่หากใช้คำสั่ง cut หรือ copy (ใต้เมนู Edit) แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะนำข้อความหรือภาพที่ถูก cut หรือ copy นั้นไปเก็บไว้ที่นั่น ข้อความหรือภาพที่อยู่ในนั้น จะอยู่ในกระดาษทดหรือคลิปบอร์ดนี้จนกว่าจะมีข้อความหรือภาพใหม่ไปทับ เราสามารถนำข้อความหรือภาพที่อยู่บนกระดาษทดนี้ไปวางหรือ paste ลงในแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมใดก็ได้ ดู copy, cut, paste ประกอบ |
com- | 1. Pref. รวมกัน, ด้วยกัน, อย่างสมบูรณ์, Syn. co-, 2. คอม 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2 2. ใช้เป็นนามสกุล file type ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ executive program หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
command.com | คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้) |
compuserve | คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ |
computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
copy disk | คัดลอกทั้งแผ่นเป็นคำสั่งในระบบวินโดว์ ที่สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในแผ่นต้นแบบ ไปลงในอีกแผ่นหนึ่งซึ่งต้องมีขนาดเท่าแผ่นต้นแบบทุกประการ การคัดลอกด้วยคำสั่งนี้ จะเลือกเฉพาะบางแฟ้มข้อมูลไม่ได้ นอกจากนั้น เมื่อคัดลอกมาแล้ว จะลบแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมทิ้งไปให้ด้วย (เฉพาะแผ่นที่เก็บข้อมูลที่คัดลอกมาเท่านั้น) |
dasd | (แดสดี) ย่อมาจาก direct access storage device (แปลว่า อุปกรณ์หน่วยเก็บแบบเข้าถึงโดยตรง) หมายถึงสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง (direct access) หรือทันที ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ในส่วนใด เช่น จานบันทึก (disk) ดู direct access ประกอบ |
data bank | คลังข้อมูลหมายถึง ที่หรือแหล่งเก็บข้อมูล หรือแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะอยู่กับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตร อาจเป็นคลังข้อมูลในเรื่องของ ผลผลิต เนื้อที่การเกษตร รายละเอียดเกี่ยวกับกสิกร สัตว์ที่ใช้ในการเกษตร สินค้าเกษตร ฯลฯ เป็นต้น |
data field | เขตข้อมูลหมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละเรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" (record) |
data retrieval | การค้นคืนข้อมูลหมายถึง กระบวนการในการเรียกหา หรือนำข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลหรือสื่อเก็บข้อมูล กลับมาแสดงบนจอภาพหรือเครื่องปลายทาง (terminal) |
decentralized data proces | การประมวลผลข้อมูลแบบแยกจากศูนย์หมายถึงการประมวลผลข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยงานแต่ละหน่วย ต่างฝ่ายต่างประมวลผลไปได้เองโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากกัน |
direct access storage dev | อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ |
disk | (ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn. disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น |
disk cache | หน่วยความจำแคชบนจานหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะกันไว้เก็บข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ โดยคัดออกจากจานบันทึกไปเก็บไว้ โปรแกรมบางโปรแกรมจะจัดแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำไปให้ บางโปรแกรมจะแบ่งเนื้อที่ในฮาร์ดิสก์ให้ เช่น เมื่อเราทำสำเนาจากแผ่นจานบันทึก |
disk pack | ชุดจานชุดจานบันทึกจานบันทึกที่ใช้กับเมนเฟรมมักจะมาเป็นชุด ๆ ละ 5-10 แผ่น มีแกนยึดให้ติดกันอยู่ตรงกลาง ชนิด (ที่เป็นแผ่นเดียวก็มี เรียกว่า disk cartridge) จานนี้ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมาก โดยปกติ จานบันทึกแต่ละชุดจะบรรจุข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ยกเว้นจานแรกและจานสุดท้าย |
diskette | แผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ |
drum | (ดรัม) { drummed, drumming, drums } n. กลอง, เสียงกลอง, เยื่อแก้วหู vt., vi. ตีกลอง, เคาะจังหวะ. ดรัม <คำอ่าน>หมายถึงสื่อเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก การบันทึกข้อความลงเก็บ จะต้องบันทึกลงบนผิวดรัม ผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) จึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่าเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) แต่ยังช้ากว่าจานแม่เหล็ก (magnetic disk) โดยปกติจะต้องเรียกเต็ม ๆ ว่า magnetic drum |
ds/dd | (ดีเอส /ดีดี) ย่อมาจาก double-sided/double density (แปลว่า บันทึกสองหน้าและจุสองเท่า) ใช้บอกคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลของจานบันทึกว่า สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้าและมีความจุเป็นสองเท่า |
dumb terminal | เครื่องปลายทางใบ้เครื่องปลายทางธรรมดาหมายถึง เครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ชนิดธรรมดา ดูเผิน ๆ จะเหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว จะมีแต่แป้นพิมพ์และจอภาพ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) ที่อื่น เครื่องปลายทางชนิดนี้ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูล หน่วยความจำ หรือตัวประมวลผล ฉะนั้นจะเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอะไรไม่ได้เลยดู intelligent terminal หรือ smart terminal เปรียบเทียบ |
dynamic allocation | การจัดสรรแบบพลวัตหมายถึง การสั่งให้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำของเครื่อง ในขณะเดียวกับที่กำลังปฏิบัติงานของโปรแกรมอื่นอยู่ |
eeprom | (อีอีพร็อม) ย่อมาจาก electronically erasable programmable read only memory (แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมและลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้า) เป็นชิป (chip) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามชื่อ ใช้เป็นหน่วยความจำ หากต้องการแก้ไข จะต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าลบ แล้วบันทึกของใหม่ลงไป หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า |
electronically erasable p | electronically erasable programmable read only memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมและลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้าใช้ตัวย่อว่า EEPROM (อ่านว่าอีอีพร็อม หรือบางทีอ่านว่า อีพร็อมก็ได้) เป็นชิป (chip) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามชื่อ ใช้เป็นหน่วยความจำ หากต้องการแก้ไข จะต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าลบ แล้วบันทึกของใหม่ลงไป หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า |
eprom | (อีพร็อม) ย่อมาจาก erasable programmable read-only memory แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมได้และลบได้ หมายความถึงชิป (chip) ชนิดหนึ่งใช้เก็บข้อมูลหรือลบทิ้งได้ แต่การเก็บหรือการลบข้อมูลในนั้นต้องใช้แสงอุลตราไวโอเล็ต (ultraviolet) เท่านั้น หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า ดู EEPROM และ PROM ประกอบ |
erasable storage | หน่วยเก็บที่ลบได้ <คำแปล>หมายถึง สื่อเก็บข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าได้ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือ จานบันทึก (diskette) เมื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่าจะถูกลบออกไปเอง ส่วนบัตร (card) เป็นหน่วยเก็บที่ลบไม่ได้ หมายความว่า ใช้ได้ครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง |
external memory | หน่วยความจำภายนอกหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage |
external storage | หมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external memory, secondary memory และ auxiliary storage |
field | (ฟีลดฺ) { fielded, fielding, fields } n. ทุ่ง, ทุ่งนา, ทุ่งกว้าง, เขตเหมืองแร่, สนาม, อาณาจักร, ขอบเขต, พื้น, ลาน vt. เก็บได้ลูก (บอล) , จับลูกได้ vi. เป็นคนรับลูกในการเล่น (บาสเก็ตบอล, คริคเก๊ต), Syn. area หมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละ เรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้ หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" record |
file conversion | การแปลงสภาพแฟ้มหมายถึง การแปลงรูปแบบ (format) การเก็บข้อมูลจาก แบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้นำไปใช้กับโปรแกรม ต่างชนิดกันได้ เช่น ถ้าต้องการจะใช้โปรแกรม Word Perfect เรียกแฟ้มข้อมูลที่พิมพ์เก็บไว้โดยใช้โปรแกรม WordStar มาดูบนจอภาพ ก็จะต้องมีการแปลงสภาพแฟ้มจากแฟ้ม ข้อมูลของ Word Perfect เป็น WordStar ก่อน ดู import ประกอบ |
filter | (ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง, กระดาษกรอง, สารที่ใช้กรอง, บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก, กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See also: filterer n., Syn. strainer, sieve, sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ format การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี ASCII |
fixed storage | หน่วยเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนไม่ได้หมายถึงสื่อที่เก็บข้อมูลครั้งหนึ่งแล้ว นำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หมายความว่า จะนำมาลบแล้วบันทึกใหม่อย่างจานบันทึกหรือแถบบันทึกไม่ได้ เมื่อนำมาบันทึกใหม่ไม่ได้ ส่วนมากจึงมักใช้บันทึกแฟ้มข้อมูลที่อ่านได้อย่างเดียว (read only) บางทีหมายถึงรอม (ROM) |
flexible disk | หมายถึง แผ่นบันทึกที่ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่เรียกว่า floppy disk เป็นจานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ |