กระอ้อมกระแอ้ม | ว. อ้อมแอ้ม, ไม่ฉะฉาน, ไม่ชัดเจน, ไม่เต็มปาก, (ใช้แก่กริยาพูด). |
ตะวันอ้อมข้าว | น. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว, ที่เรียกเช่นนั้น เพราะเชื่อว่าตะวันเลี่ยงไม่ให้ความร้อนเผารวงข้าวที่กำลังสุก และเวลาเก็บเกี่ยวก็ไม่ร้อนมากนัก. |
นางอ้อม | น. คร่าวเสาเพนียด. |
ผ้าอ้อม | น. ท่อนผ้าสำหรับปูให้เด็กนอนในเบาะ. |
ผีตากผ้าอ้อม | น. แสงแดดที่สะท้อนกลับมาสว่างในเวลาจวนพลบในบางคราว. |
อ่อม | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว แต่ใส่มะระ มักใช้แกงกับปลาดุก เรียกว่า แกงอ่อมมะระ หรือ แกงอ่อมมะระปลาดุก. |
อ้อม | ก. โอบรอบ, ตีวงโค้ง, เช่น อ้อมวงเวียน, ล้อม, ห่อหุ้ม, ในคำว่า ผ้าอ้อม. |
อ้อม | ว. ตรงข้ามกับ ตรง เช่น ทางตรง–ทางอ้อม โดยตรง–โดยอ้อม, ตรงข้ามกับ ลัด เช่น ลัดเกร็ด–อ้อมเกร็ด. |
อ้อม | น. วงรอบ เช่น อ้อมแขน อ้อมกอด, โดยปริยายหมายถึงความคุ้มครองอุปการะ ในคำว่า อ้อมอก, ขนาดของของกลม เช่นเสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้แขนทั้ง ๒ ข้างอ้อม เช่น เสา ๒ อ้อม ต้นไม้ ๔ อ้อม. |
อ้อมกอด | น. วงแขนที่โอบรัดไว้ เช่น สามีโอบภรรยาไว้ในอ้อมกอด. |
อ้อมแขน | น. วงแขนที่โอบไว้ เช่น แม่โอบลูกไว้ในอ้อมแขน. |
อ้อมค้อม | ว. วกวน, ลดเลี้ยว, ไม่ตรงไปตรงมา, (ใช้แก่กริยาพูด). |
อ้อมแอ้ม, อ้อมแอ้ม ๆ, อ้อม ๆ แอ้ม ๆ | ว. ไม่ฉะฉาน, ไม่ชัดเจน, ไม่เต็มปาก, (ใช้แก่กริยาพูด). |
โอบอ้อมอารี | ก. แสดงนํ้าใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น. |
กล้อมแกล้ม | พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป |
กะล่อมกะแล่ม | พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป |
คุง | ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุ้ง ก็ว่า. |
ชะวุ้ง | ว. วุ้ง, เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร (กุมารคำฉันท์). |
ดัง ๓, ดั่ง | ว. เช่น, อย่าง, ราวกับ, คล้าย, เหมือน, เช่น ได้ดังใจ, ถนัดดั่งไม้ร้อยอ้อม ท่าวท้าวทับทรวง (ลอ). |
โดยปริยาย | ว. โดยอ้อม, โดยความหมายเปรียบเทียบ, โดยขยายความหมายออกไป, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า กระโดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน. |
ตรง, ตรง ๆ | เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ |
ตะเบ็งมาน | น. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวจากด้านหลังไขว้ขึ้นมาด้านหน้า แล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะแบงมาน ก็ว่า. |
ตะแบงมาน | น. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวจากด้านหลังไขว้ขึ้นมาด้านหน้า แล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า. |
เต็มปาก | ว. ใช้ประกอบกริยาพูดหรือกล่าว หมายความว่า พูดได้สนิทปาก, พูดได้อย่างไม่กระดากปาก ไม่อ้อมแอ้ม, บางทีก็ใช้ว่า เต็มปากเต็มคอ หรือ เต็มปากเต็มคำ. |
น้ำใสใจคอ | น. น้ำใจที่แท้จริง (มักใช้ในทางดี) เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใสใจคอโอบอ้อมอารี. |
นิปริยาย | (นิปะริยาย) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง, ตรงข้ามกับ ปริยาย คือ อย่างอ้อม. |
แนะ | ก. ชี้แนวทางหรือวิธีการให้รู้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น แนะให้ไปหาหมอ แนะให้รู้เป็นนัย ๆ. |
ปริยาย | การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง |
ปริยาย | (ปะริ-) ว. อ้อม |
ผ้า | น. สิ่งที่ทำด้วยเยื่อใย เช่น ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ โดยวิธีทอหรืออัดให้เป็นผืน, มักเรียกตามลักษณะของสิ่งที่ทำ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ หรือตามลักษณะที่ใช้ เช่น ผ้ากราบ ผ้าอาบ ผ้าอ้อม. |
ผ้าสาลู | น. ผ้าขาวบางเนื้อละเอียด, ในปัจจุบันอนุโลมเรียกผ้าขาวบางเนื้อนุ่ม มักใช้ทำเป็นผ้าอ้อม ว่า ผ้าสาลู ด้วย. |
เผื่อแผ่ | ก. เจือจาน, ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความโอบอ้อมอารี เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใจ มีอะไรก็เผื่อแผ่เพื่อนฝูงเสมอ, แผ่เผื่อ ก็ว่า. |
แผ่เผื่อ | ก. ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความโอบอ้อมอารี, เผื่อแผ่ ก็ว่า. |
โผง | โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม (ใช้ในลักษณะอาการที่นึกจะพูดก็พูดออกมาตรง ๆ ไม่เกรงใจ), โผงผาง ก็ว่า. |
โผงผาง | ว. ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ, ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม, โผง ก็ว่า. |
พยานแวดล้อมกรณี | น. พยานหลักฐานทางอ้อมที่อนุมานมาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นโดยตรง. |
พูดเป็นนัย | ก. พูดอ้อม ๆ โดยไม่บอกเรื่องราวตรง ๆ. |
เฟ็ด | เล็ด เช่น พระพรุณรายเรื่อฟ้า เฟ็ดโพยม (ทวาทศมาส), ลวงแส้งเฟ็ดไพ่อ้อม เอาชัย (ยวนพ่าย). |
แมงแงว | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Streptocephalidae ขนาดยาว ๑.๘ เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายไรน้ำเค็ม ลำตัวใส มีถุงไข่ที่ท้อง ๑ ถุง ไข่จม กินสาหร่าย พบตามแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนเขตภูเขาในจังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู หนองคาย นำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงอ่อมหรือห่อหมก ตามธรรมชาติเป็นอาหารของสัตว์น้ำ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont. ซึ่งมีหางสีแดงเข้ม, แมงหางแดง แมงอ่อนช้อย หรือ ไรน้ำจืด ก็เรียก. |
รัดประคน | น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัวถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กูบมิให้โยกเลื่อน. |
ลดเลี้ยว | ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า. |
เลีย | เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด |
เลี้ยวลด | ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า. |
วกวน | ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ. |
วง | ก. ล้อมรอบ, ทำเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอเขียนเป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์. |
วงแขน | น. อ้อมแขน เช่น โอบไว้ในวงแขน ได้ถ้วยรางวัลมา กอดไว้ในวงแขนไม่ยอมวาง. |
วิ่งเปี้ยว | น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตีฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ. |
สมมูลเคมี | น. จำนวนเลขที่บ่งแสดงนํ้าหนักของสารที่ทำปฏิกิริยาโดยทางตรงหรือทางอ้อมได้พอดีกับ ๑.๐๐๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุไฮโดรเจน หรือกับ ๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุออกซิเจน. |
ส่าย ๑ | ก. แกว่งไปมา เช่น ส่ายผ้าอ้อมในน้ำ, ย้ายไปมา เช่น ส่ายหัว ส่ายสะโพก ว่าวส่าย. |
สาลู | น. ผ้าขาวเนื้อบางละเอียด, ในปัจจุบันอนุโลม เรียกผ้าขาวบางเนื้อนุ่ม มักใช้ทำเป็นผ้าอ้อม ว่า ผ้าสาลู ด้วย. |