ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อุปสมบท, -อุปสมบท- |
|
| อุปสมบท | (อุปะสมบด, อุบปะสมบด) ก. บวชเป็นภิกษุ. | อุปสมบทกรรม | (-บดทะกำ) น. การบวชเป็นภิกษุ. | กรานกฐิน | (-กะถิน) ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า . (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). | ขอนิสัย | ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่กุลบุตรในเวลาอุปสมบท). | ครบบวช | ว. ที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถือว่าอุปสมบทเป็นภิกษุได้. | คู่สวด | น. พระ ๒ รูปที่ทำหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือการกรานกฐินเป็นต้น. | โค่ง ๒ | น. คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบท ว่า เณรโค่ง. | ฉายา ๑ | ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. | ถุงตะเครียว, ถุงตะเคียว | น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้น เป็นตาโปร่ง มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท). | นิสัย | ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. | บรรพชา | (บันพะ-, บับพะ) น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท เป็น บรรพชาอุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. | เบญจวรรค | น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่วรรค ก ถึงวรรค ป คือพยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม, พระสงฆ์ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์เบญจวรรคหรือสงฆ์ปัญจวรรค ซึ่งสามารถทำสังฆกรรมบางอย่างได้เช่นรับกฐินหรืออุปสมบทพระภิกษุในถิ่นที่หาภิกษุได้ยาก. | โบสถ์ | น. สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคำว่า อุโบสถ). | -เปกข์ | น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. | วันทาสีมา | ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค). | ศาสนพิธี | น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา. | สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. | สอนนาค | ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง. | สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก | น. คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น. | สิกขมานา | น. สามเณรีที่มีอายุครบ ๑๘ ปี ก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณีจะต้องรักษาสิกขาบท ๖ ประการ เป็นเวลา ๒ ปี. | อันตรายิกธรรม | (-ยิกะทำ) น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. | อุโบสถ ๑ | (อุโบสด) น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมเช่นสวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์ | อุปสมบัน, อุปสัมบัน | (อุปะ-, อุบปะ-) น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. | อุปสัมปทาเปกข์, อุปสัมปทาเปกษ์ | (อุปะสำปะทาเปก, อุบปะสำปะทาเปก) น. “ผู้เพ่งอุปสมบท” คือ นาคที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วและจะขอบวชเป็นภิกษุต่อไป. |
| | initiation | (n) การเริ่มต้น, การอุปสมบท, การนำมาให้รู้จัก, การทำพิธีรับเข้า | ordain | (vi) บวช, บรรพชา, อุปสมบท, ดลบันดาล, ลิขิต | ordination | (n) การบวช, การบรรพชา, การอุปสมบท, การดลบันดาล, การแต่งตั้ง |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |