ตีตัวออกหาก | ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, เอาใจออกหาก ก็ว่า. |
ออกหาก | ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก. |
เอาใจออกหาก | ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, ตีตัวออกหาก ก็ว่า. |
กระด้างกระเดื่อง | ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย. |
กระสือ ๑ | น. ผีชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก ออกหากินในเวลากลางคืน เห็นเป็นแสงเรือง ๆ ในที่มืด, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย |
ขายชาติ | ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อทำลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า. |
เขียว ๓ | น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ (<i> Chrysopelea ornata</i> Shaw) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเรียวยาว อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง (<i> Trimeresurus albolabris</i> Gray) ในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย. |
เขียวหางไหม้ | น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาลซึ่งมีทั้งสีน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลไหม้ ทุกชนิดออกหากินเวลากลางคืน มักมีนิสัยดุ มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ท้องเขียว (<i> Trimeresurus</i> <i> popeorum</i> Smith) ปาล์ม (<i> T. wiroti</i> Trutnau). |
คอแดง | น. ชื่องูลายสาบขนาดเล็กชนิด <i> Rhabdophis subminiatus</i> Schlegel ในวงศ์ Colubridae ตัวยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สีเขียวหรือเทา คอสีแดง ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อน, หมู่ ก็เรียก. |
โจทเจ้า | เอาใจออกหาก. |
ตะลาน ๑ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด <i> Ptyas korros</i> (Schlegel) ในวงศ์ Colubridae ตาโต ลำตัวสีน้ำตาลปลอด มีลายเล็กน้อยเห็นไม่ชัด นิสัยว่องไวปราดเปรียว ออกหากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน ไม่มีพิษ, สิงตาโต หรือ ตาลาน ก็เรียก. |
ตีจาก | ก. ทำตัวออกหาก, แยกตัวออกไป, ทอดทิ้ง, หนีไป, เลิกคบกัน. |
ตีห่าง | ก. ตีตัวออกหาก, ไม่คบหาสมาคมด้วยเหมือนเดิม. |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ <i> Gekko gecko</i> (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน (<i> Ptychozoon lionatum</i> Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
แปรพักตร์ | ก. เอาใจออกหาก, ไม่ซื่อตรง. |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด <i>Boiga multomaculata</i> (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
แมวเซา ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด <i>Daboia russellii</i> (Shaw) ในวงศ์ Viperidae หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ตัวอ้วนสั้นสีนํ้าตาลอมเทา มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มขอบดำ เขี้ยวพิษยาว เมื่อถูกรบกวนมักทำเสียงขู่ฟู่ยาวคล้ายเสียงยางรถรั่ว อาศัยอยู่บนบก ออกหากินเวลากลางคืน กินกบ เขียด หนู นก และงูบางชนิด มีพิษรุนแรง. |
ลิงลม | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด <i>Nycticebus</i> <i>coucang</i> (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก. |
สามเหลี่ยม ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด <i>Bungarus fasciatus</i> (Linn.) ในวงศ์ Elapidae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร มีลายเป็นปล้องสีดำสลับเหลือง หลังเป็นสันแหลมทำให้ลำตัวมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายหางทู่ พบตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทย ออกหากินในเวลากลางคืน กินกบ เขียด และงูขนาดเล็ก มีพิษรุนแรงมาก, ก้านปล้อง ตามธาร หรือ ทับธาร ก็เรียก. |
สายม่าน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ส่วนมากลำตัวสีนํ้าตาล เกล็ดสันหลังมักวาวคล้ายสีทองเหลือง ว่องไวปราดเปรียว ออกหากินเวลากลางวันตามป่าหญ้าและบนต้นไม้ กินกบ เขียด กิ้งก่า พบทุกภาคของประเทศไทย ไม่มีพิษ เช่น สายม่านลิ้นแดง [ <i>Dendrelaphis pictus</i> (Gmelin) ] สายม่านหลังทอง [ <i>D. formosus</i> (Boie) ]. |
เสือสิ้นลาย | น. เสือแก่ที่หมดลายดูคล้ายเสือขาวออกหากินตามปรกติไม่ได้, โดยปริยายหมายถึงคนที่เคยมีความเก่งกล้าสามารถมาก่อน ต่อมาเมื่อร่างกายทุพพลภาพหรืออายุมากขึ้น ความเก่งกล้าสามารถก็เสื่อมลง. |
แสงอาทิตย์ | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด <i>Xenopeltis unicolor</i> Boie ในวงศ์ Xenopeltidae ยาว ๘๐-๑๒๕ เซนติเมตร หัวแบน ตาเล็ก ลำตัวสีนํ้าตาลม่วงเป็นมันวาวเมื่อถูกแสง ท้องขาว พบอาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้กองหญ้า กองฟางที่มีความชื้น ออกหากินเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู กิ้งก่า งู ไม่มีพิษ, เหลือมดิน ก็เรียก. |
หมาจิ้งจอก | น. ชื่อหมาชนิด <i>Canis aureus</i> Linn. ในวงศ์ Canidae ขนตามลำตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์. |
หมาใน | น. ชื่อหมาชนิด <i>Cuon alpinus</i> (Pallas) ในวงศ์ Canidae ขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา หางสีคลํ้ายาวเป็นพวง อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ออกหากินเป็นฝูงเวลาเช้ามืดและพลบคํ่า ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร เช่น เก้ง กวาง กระจง รวมทั้ง สัตว์เล็กอื่น ๆ. |
หมาหริ่ง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด <i>Melogale personata</i> Geoffroy ในวงศ์ Mustelidae ขนาดไล่เลี่ยกับพังพอนแต่หางสั้นกว่า ขนลำตัวหยาบแข็ง สีน้ำตาลอมเทาถึงดำ หน้าสั้นค่อนข้างแหลม หัวสีดำมีแถบขาวระหว่างตา กลางหัวมีแถบขาวพาดไปจนถึงกลางหลัง ส่วนคิ้วใต้ตา คอ และหูด้านในสีขาว ขาสั้น ฝ่าตีนกว้าง เล็บยาว โค้งปลายแหลมเหมาะสำหรับขุดดินและป่นต้นไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก. |
หลาม ๑ | น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด <i>Python molurus</i> (Linn.) ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมีเส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ. |
หาก | ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ |
เหลือม | (เหฺลือม) น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด <i>Python reticulates</i> (Schneider) ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ที่กลางหัวมีเส้นสีดำซึ่งมักเรียกว่า ศรดำ ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก. |
อีเห็น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด [ <i> Paradoxurus hermaphroditus</i> (Pallas) ] อีเห็นหน้าขาว [ <i> Paguma larvata</i> (Hamitton-Smith) ] อีเห็นหูขาว [ <i> Arctogalidia trivirgata</i> (Gray) ], ปักษ์ใต้เรียก มดสัง มุดสัง หรือ มูสัง. |
อึ่ง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Microhylidae ขนาดแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดอยู่ระหว่าง ๒-๘ เซนติเมตร รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ ส่วนใหญ่เป็นสีเทาหรือน้ำตาลเข้ม ผิวหนังเรียบ บริเวณฝ่าตีนมีสันแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้ก้อนหินในเวลากลางวันและในฤดูแล้ง ออกหากินตามพื้นดินเมื่ออากาศชื้นโดยเฉพาะช่วงหลังฝนตก กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน (<i> Kaloula</i><i> pulchra</i> Gray) อึ่งแว่น อึ่งแดง หรืออึ่งลาย [ <i> Calluella guttulata</i> (Blyth) ]. |