กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน (<i> Calotes mystaceus</i> Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ <i> Acanthosaura</i><i> armata</i> (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กินเปี้ยว | น. ชื่อนกกระเต็นชนิด <i> Halcyon chloris</i> (Boddaert) ในวงศ์ Alcedinidae ปากแบนข้างสีดำปลายแหลม ขากรรไกรบนสีดำ ขากรรไกรล่างสีเทาอมชมพู ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว คอและท้องสีขาว หากินตามป่าชายเลน แต่อาจพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป กินปูเปี้ยว ปลา และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด. |
เกล็ด | น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน นํ้าตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. |
ไข่ขาว | น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดง เป็นสารโปรตีนทำหน้าที่ป้องกันส่วนที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาวจะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย |
ไข่แดง | น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน อยู่รอบส่วนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อน มักมีสีเหลืองหรือแดง เป็นสารประเภทไขมันที่สะสมไว้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนขณะที่เติบโต. |
งอด | น. ชื่องูขนาดเล็กในสกุล <i> Oligodon</i>วงศ์ Colubridae ลำตัวขนาดไล่เลี่ยกับดินสอดำ ยาว ๓๐-๘๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลอมเทา มีลายรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ลายเส้น ลายประ หรือลายจุดสีดำกระจายทั่วตัว ท้องบริเวณหางสีแดง ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน อาศัยตามพื้นดิน กินแมลง แมงมุม จิ้งจก เขียด ไส้เดือน ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดงหรืองอดไทย [ <i> O. taeniatus</i> (Günther) ] งอดด่างหรือปี่แก้วลายกระ [ <i> O. cinereus</i> (Günther) ]. |
งู | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานอันดับย่อย Serpentes ในอันดับ Squamata หัวไม่มีรูเปิดสำหรับฟังเสียง ลำตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา มีทั้งชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (<i> Naja kaouthia</i> Lesson) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม [ <i> Python reticulatus</i> (Schneider) ]. |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม (<i> Crocodylus</i> <i> siamensis</i>Schneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง (<i> C</i>. <i> porosus</i> Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ <i> Tomistoma</i> <i> schlegelii</i> (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ <i> Cosymbotus</i> <i> platyurus</i> (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ <i> Cyrtodactylus</i> <i> peguensis</i> (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ <i> Platyurus</i> <i> craspedotus</i> (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
จิ้งเหลน | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [ <i> Mabuya multifasciata</i> (Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [ <i> Lipinia vittigera</i> (Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก จิ้งเหลนด้วง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [ <i> Lygosoma quadrupes</i> (Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง (<i> Dibamus alfredi</i>Taylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ (<i> D. somsaki</i>Honda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด <i>Isopachys anguinoides</i> (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด <i>I. roulei</i> (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด <i>I. gydenstolpei</i>Lönnberg และ <i>I. borealis</i>Lang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด <i> Davewakeum miriamae</i>Heyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
ไดโนเสาร์ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์หลายชนิด รูปร่างคล้ายกิ้งก่า ส่วนใหญ่ที่พบโครงกระดูกที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีขนาดใหญ่มาก บางชนิดกินพืช เช่น ชนิด <i> Phuwiangosaurus</i> <i> sirindhornae</i> Martin, Buffetaut & Suteethorn ในวงศ์ Nemegtosauridae, ชนิด <i> Psittacosaurus satayaraki</i> Buffetaut & Suteethorn ในวงศ์ Psittacosidae บางชนิดกินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด <i> Siamotyrannus isanensis</i>Suteethorn & Tong ในวงศ์ Tyrannosauridae, ชนิด <i> Siamosaurus</i><i> suteethorni</i>Buffetaut & Ingavat ในวงศ์ Spinosauridae, (สำ) ผู้ที่มีความคิดล้าสมัย, มักใช้ว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี. |
ตะกวด | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด <i> Varanus bengalensis</i> (Gray) ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิดย่อย <i> V. b. nebulosus</i> (Gray) ในวงศ์ Varanidae จมูกอยู่ใกล้ตา ปากและคอค่อนข้างยาว ลิ้นแยกเป็น ๒ แฉกยาว ลำตัวกลมยาว สีนํ้าตาลเหลือง หางยาว ซ่อนตัวตามโพรงไม้ในป่า มักหากินตามพื้นดิน ไม่ค่อยลงน้ำ ปีนต้นไม้ได้ดี กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ ซากสัตว์ และพืช, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก. |
ตัวจี๊ด | น. ชื่อพยาธิตัวกลมชนิด <i> Gnathostoma spinigerum</i> Owen ในวงศ์ Gnathostomatidae ลำตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึงคนได้ เมื่อกินเนื้อสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อนเมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้ อาจเป็นตุ่มนูนขึ้นมาตามผิวหนัง ทำให้บวมและปวด, หนอนด้น ก็เรียก. |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ <i> Gekko gecko</i> (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน (<i> Ptychozoon lionatum</i> Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
ตุ๊ดตู่ ๓ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด <i> Varanus dumerilii</i> (Schlegel) ในวงศ์ Varanidae ลำตัวยาวสีนวลมีลายสีน้ำตาลเข้ม หัวสีน้ำตาล เมื่อยังเล็กหัวสีแดง ลำตัวสีดำสนิท อาศัยตามซอกหิน พบทางภาคใต้ของประเทศไทย. |
เต่า ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายวงศ์ ในอันดับ Testudines คอยาว ลำตัวสั้น มีกระดองหุ้ม กระดองมีทั้งที่เป็นแผ่นเกล็ดแข็งและที่เป็นแผ่นหนัง ขาและหางสั้นส่วนใหญ่หดเข้าไปในกระดองได้ มีถิ่นอาศัยต่าง ๆ กัน ที่อยู่บนบก เช่น เต่าเหลือง ที่อยู่ในนํ้าจืด เช่น เต่านา ที่อยู่ในทะเล เช่น เต่าตนุ พวกที่มีหนังหุ้มกระดองเรียก ตะพาบ เช่น ตะพาบสวน. |
ปล้องฉนวน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเล็กเรียว ยาว ๔๐-๑๑๐ เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดำสลับขาว หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน กินสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น จิ้งจก กิ้งก่า เป็นงูไม่มีพิษ มีหลายชนิด เช่น ปล้องฉนวนหลังเหลือง [ <i> Lycodon laoensis</i> (Günther) ] ปล้องฉนวนบ้าน (<i> L. subcinctus</i> Boie) ปล้องฉนวนอินเดีย [ <i> Dryocalamus davisonii</i> (Blandford) ]. |
ปากจอบ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลน ชนิด <i>Isopachys gyldenstolpei</i> Lönnberg ในวงศ์ Scincidae ปลายปากบนยื่นยาวกว่าปากล่าง ลักษณะแบนกว้างคล้ายจอบ ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดำ ไม่มีขา หางสั้น ปลายตัด อาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย กินตัวอ่อนแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก, จิ้งเหลนด้วงหางลาย ก็เรียก. |
ปี่แก้ว | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในสกุล <i> Oligodon</i> วงศ์ Colubridae หัวหลิมเล็ก คอโต หางสั้น แต่ละชนิดมีสีสันและลวดลายต่างกัน อาศัยอยู่ตามซอกหินซอกดิน หากินตามพื้นดิน กินไข่นก ไข่สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนู สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ไม่ขึ้นต้นไม้ ทำเสียงขู่ได้ มีหลายชนิด เช่น ปี่แก้วใหญ่ [ <i> O. joynsoni</i> (Smith) ] ปี่แก้วลายกระหรืองอดด่าง [ <i> O. cinereus</i> (Günther) ] ไม่มีพิษ. |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด <i>Boiga multomaculata</i> (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
แย้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Uromastycidae ลำตัวแบนราบคล้ายกิ้งก่า ยาวประมาณ ๑๖ เซนติเมตร ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน กินพืชและตัวอ่อนแมลง ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยที่พบแล้วมี ๔ ชนิด คือ ชนิด <i>Leiolepis belliana</i> (Hardwick & Gray), <i>L. reevesii</i> (Gray), <i>L. triploida</i> Peters และ <i>L. boehmei</i> Darevski & Kupriyanova. |
ลายสอ | น. ชื่องูขนาดกลางในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑ เมตร ลำตัวสีน้ำตาล น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้ม มีลายเป็นแถบสีดำข้างลำตัว และสีน้ำตาลเข้มบนหลังตลอดตัว เกล็ดบนหลังมีสัน อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน กินกบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ดุแต่ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน [ <i>Xenochrophis</i> <i>piscator</i> (Schneider) ] ลายสอหัวเหลือง [ <i>Sinonatrix</i> <i>percarinata</i> (Boulenger) ]. |
ลายสาบ | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดในสกุล <i>Rhabdophis</i> และ <i>Amphiesma</i> วงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๗๐-๑๕๐ เซนติเมตร ตัวมีลายเป็นแต้มสีต่าง ๆ ตลอดทั้งตัว เช่น สีดำ น้ำตาลอ่อน ม่วงอ่อน เกล็ดบนหลังมีสัน กินกบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน เช่น ลายสาบคอแดง [ <i>R. subminiatus</i> (Schlegel) ] ลายสาบดอกหญ้า [ <i>A. stolatus</i> (Linn.) ]. |
เลื้อยคลาน | น. สัตว์เลือดเย็นจำพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิดออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน. |
สรีสฤบ | (สะรีสฺริบ) น. สัตว์เลื้อยคลาน, งู. |
สางห่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด <i>Takydromus sexlineatus</i> (Daudin) ในวงศ์ Lacertidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกิ้งก่า ตัวเล็กลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีลาย ความยาวตั้งแต่หัวจดปลายหางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หางยาวมากประมาณ ๕ เท่าของความยาวลำตัว กินแมลง พบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่ามีพิษร้ายแรงแต่ความจริงเป็นสัตว์ไม่มีพิษ, จิ้งเหลนหางยาว หรือ งูคา ก็เรียก. |
เหี้ย | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด <i>Varanus salvator</i> (Laurenti) ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร ตัวอ้วนใหญ่สีน้ำตาลเข้ม มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้นํ้า, ตัวเงินตัวทอง หรือ แลน ก็เรียก. |