กระแตไต่ไม้ ๑ | ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม. |
กัลปพฤกษ์ ๒ | (กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม. |
กาซะลองคำ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
ข้าวบาร์เลย์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgareL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. |
คุ่น | น. ชื่อแมลงในสกุล Simuliumวงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด S. nigrogilrum Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก. |
โครงการหลวง | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอาชีพทางเลือกใหม่แก่ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ ซึ่งเดิมปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ให้หันมาปลูกไม้ดอก ไม้ผล พืชผักเมืองหนาว และเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่าย สร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ทำให้ลดปัญหายาเสพติด ช่วยพิทักษ์รักษาป่าต้นน้ำ และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน. |
ฉาน ๔ | น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก. |
ซึง | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดของไทยภาคเหนือ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงก้อง มีคันต่อจากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสายดีด ๒ คู่. |
ดำหัว | น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ วิธีดำหัว คือ เอานํ้าสะอาด พร้อมดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และผงขมิ้น ใส่ขัน ไปเคารพและขอขมาผู้ใหญ่ โดยให้ท่านจุ่มน้ำลูบศีรษะตนเองเพื่อให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขและขอรับพรจากท่าน. |
ตะโล้ดโป๊ด | น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร หน้ากว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการฟ้อนและการเล่นพื้นเมืองทางภาคเหนือ, ใช้ตีคู่กับ กลองแอว. |
เต่าเดือย | น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
ทุงงะ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Neolissochilus dukai (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดสีดำที่โคนครีบหางเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลำธารบริเวณภูเขาทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่. |
บึ้ง ๑ | น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่หลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Theraphosidae ลำตัวยาวมากกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป สีดำหรือน้ำตาลแก่ ไม่ชักใยดักสัตว์ มีขนดกหนาสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ตามพื้นดิน คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน ชนิดที่พบบ่อยและนิยมนำมารับประทาน เช่น ชนิด Haplopelma albostriatum (Simon) พบมากที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ชนิด H. minax (Thorell) พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้, ก่ำบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก. |
ผกากรอง | ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลำต้นกลม ดอกสีม่วง. |
พญาลอ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Lophura diardi (Bonaparte) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ ทำรังเป็นแอ่งตามพุ่มไม้หรือโพรงไม้ติดดิน คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดิน พบตามป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นไก่ฟ้าที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback หรือ Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก. |
ฟ้อน | ก. รำของทางภาคเหนือและภาคอีสาน, กราย. |
ฟ้อนแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก. |
ฟ้อนลาวแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก. |
ภาค, ภาค- | (พาก, พากคะ-) น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. |
เมี่ยง ๑ | น. ชื่อต้นไม้ขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (Mast.) Kitam ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามเขาในภาคเหนือเขตร้อน ใบนำมาหมักใช้เคี้ยวหรืออม. |
รัสเซีย | น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย. |
รำลาวแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก. |
อุปฮาด | ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด. |