กางเขน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ Copsychus saularis (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ C. malabaricus (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
เกี่ยวข้าว | น. ชื่อเพลงพื้นบ้านของภาคกลาง เรียกว่า เพลงเกี่ยวข้าว. |
ขลาย | (ขฺลาย) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ชนิด Diospyros rubraLecomte ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทางภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทำฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย (สมุทรโฆษ). |
เขิง | น. เครื่องสานสำหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง. |
ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
เทโพ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius larnaudii Bocourt ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดำเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก และพื้นลำตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขตภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร. |
นวลจันทร์ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cirrhinus microlepis Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัยตามลำนํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, นวลจันทร์น้ำจืด ก็เรียก, อีสานเรียก โพง, เขมรเรียก พรวน. |
บึ้ง ๑ | น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่หลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Theraphosidae ลำตัวยาวมากกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป สีดำหรือน้ำตาลแก่ ไม่ชักใยดักสัตว์ มีขนดกหนาสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ตามพื้นดิน คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน ชนิดที่พบบ่อยและนิยมนำมารับประทาน เช่น ชนิด Haplopelma albostriatum (Simon) พบมากที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ชนิด H. minax (Thorell) พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้, ก่ำบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก. |
ปากห่าง | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans (Boddaert) ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแหลมตรง ขากรรไกรทั้งสองเมื่อประกบกันส่วนกลางไม่ชิดกัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการคาบเหยื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหอยโข่ง หอยเชอรี่ ลำตัวสีเทาอมขาว แต่จะเป็นสีเทาเข้มในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มีจำนวนมากในภาคกลาง ประวัติเป็นนกอพยพมาจากประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น. |
พวน ๓ | น. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย. |
พายม้า | น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลำป่องออก ใช้งานในแถบภาคกลาง, ใช้ว่า ไพม้า หรือ พลายม้า ก็มี. |
รัสเซีย | น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย. |
เรือพายม้า | น. เรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลำป่องออก ใช้งานในแถบภาคกลาง. |
เลื่อน | น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สำหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นของภาคกลางเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้ลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. |
วัสสานฤดู | (วัดสานะรึดู) น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. |
เส้นเลือด | น. หลอดเลือด. (อ. blood vessel), โดยปริยายหมายถึง เส้นทางนําความสมบูรณ์ไปหล่อเลี้ยงแหล่งต่าง ๆ เช่น แม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงภาคกลางของประเทศไทย. |
เสือตอ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Datnioides pulcher (Bleeker) และ D. undecimradiatusRoberts & Kottelat ในวงศ์ Lobotidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง หัวแหลม ปากกว้างพอประมาณเชิดขึ้นเล็กน้อย จะงอยปากอยู่ต่ำกว่าระดับตา เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ส่วนท้ายของครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีขอบกลม ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นสั้น ๆ พื้นลำตัวและครีบมีสีเทาจนถึงเหลืองและชมพูหม่น หรือน้ำตาลหม่นหรือคล้ำ ที่สำคัญคือมีแถบใหญ่สีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางอยู่บนหัว ลำตัว และคอดหาง รวม ๖ แถบ สำหรับชนิดแรกที่เคยพบในลุ่มน้ำภาคกลางและแม่น้ำโขง มีประวัติทางพฤติกรรมว่ามักหลบอยู่ตามตอไม้จมน้ำ ปัจจุบันปลาในธรรมชาติแทบไม่มีให้พบกันอีก ส่วนอีกชนิดหนึ่งพบเฉพาะในแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดคล้ายกันมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ลาด หรือ เสือ ก็เรียก. |