กมัณฑลุ | (กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค). |
กำลังภายใน | น. กำลังที่เร้นอยู่ภายใน, กำลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทำสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้. |
ครบสามสิบสอง | ว. มีอวัยวะครบบริบูรณ์ ตามคติทางพระพุทธศาสนา. |
คาถา ๑ | ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
เคยยะ | น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
โคมเวียน | น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ |
จตุปัจจัย | (-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). |
จรณะ | (จะระ-) น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. |
จาตุรงคสันนิบาต | น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. |
จีวร, จีวร- | (จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ]. |
เจตภูต | (เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ. |
ชาดก | (ชา-ดก) น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุ-ศาสน์. (ป., ส. ชาตก). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
เซน, เซ็น ๑ | น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทำสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. |
เดียรถีย์ | (-ระถี) น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล. |
แดนไตร | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล. |
ตรีกาย | น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย). |
ตรีภพ | น. โลกทั้ง ๓, ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีโลก ไตรโลก ไตรภพ หรืิอ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ตรีโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือ ภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ไตรโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ตรีโลกนาถ | (-โลกกะนาด) น. ที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า. |
ไตรภพ, ไตรภูมิ | (-พบ, -พูม) น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก หรือ ไตรโลก ก็ว่า. |
ไตรโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ไตรวิชชา | (-วิดชา) น. ความรู้แจ้งในทางพระพุทธศาสนา ๓ อย่าง คือ ๑. ระลึกชาติหนหลังได้ ๒. รู้การตายการเกิดของคนและสัตว์ ๓. รู้วิธีทำให้สิ้นกิเลส. |
ถือศีล | ก. ปฏิบัติตนโดยไม่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจาให้เป็นปรกติ. |
ทุกนิบาต | น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กำหนดด้วยธรรมหรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. |
เทศน์แจง | น. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในการสังคายนาครั้งแรก. |
ธรณีสูบ | ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลงหายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ. |
ธรรมจักร | เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง จัดเป็นอุเทสิกเจดีย์. |
ธาตุ ๑, ธาตุ- | (ทาด, ทาตุ-) น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุนํ้า (อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ) แต่ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสิ่งที่มีชีวิตเพิ่มอีก ๒ ธาตุ คือ อากาศธาตุ (ที่ว่าง) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้). |
ธาตุ ๒ | ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.) |
นหาดก | (นะหาดก) น. ผู้อาบน้ำแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้ที่ชำระกิเลสหมดแล้ว คือพระอรหันต์. |
น้ำพระพุทธมนต์ | น. นํ้าที่เข้าพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้อาบ กิน หรือ ประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล, น้ำมนต์ ก็เรียก. |
นิตยภัต | น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์, เงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อเบิกจ่ายถวายอุดหนุนอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ พระเลขานุการ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นต้น. |
นิบาต | (-บาด) น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = ชื่อคัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = ชื่อคัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ |
บรรพชิต | (บันพะชิด) น. นักบวชในพระพุทธศาสนา. |
บริขาร | (บอริขาน) น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. |
บริพาชก | (บอริพาชก) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. |
บริพาชิกา | (บอริ-) น. ปริพาชิกา, นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. |
บอกวัตร | ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว. |
บาลี | น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท |
บุญ, บุญ- | การกระทำดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด |
ปฐมเทศนา | (ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถมเทดสะหฺนา) น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
ประดิษฐาน | (ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. |
ปริพาชก | (ปะริ-) น. นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย, เพศหญิงใช้ว่า ปริพาชิกา. |
ปริพาชิกา | (ปะริ-) น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. |
ปิฎก | หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. |
ผล | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค |
ผ้าเหลือง | น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด. |
พรหม, พรหม- | (พฺรม, พฺรมมะ-) น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี |
พรหมจารี | ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ |