นักพรต | น. ผู้ประพฤติพรต, ลักษณนามว่า รูป. |
บดีพรต, บดีวรดา | น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัวแก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่านั้น. |
พรต | (พฺรด) น. กิจวัตร, การปฏิบัติ |
พรต | มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจำศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม) |
พรต | การสมาทานบริโภคอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง) |
พรต | ข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บำเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บำเพ็ญพรต ว่า นักพรต. |
มธุพรต | (-พฺรด) น. แมลงผึ้ง. |
ศราทธพรต | (สาดทะพฺรด) น. พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว. |
สัตยพรต | น. การถือคำมั่นสัญญา. |
กฤดีกา, กฤตยฎีกา | (กฺริ-, กฺริดตะยะ-) แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา (ไวพจน์พิจารณ์). |
กินบวช | ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคำ ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกำหนดของการถือพรตในลัทธิศาสนา. |
ขวัญ | เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ |
ชฎิล | น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. |
เซียน | น. ผู้บำเพ็ญพรตจนมีอิทธิฤทธิ์, ผู้วิเศษ |
ตยาคี | (ตะยา-) น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี (สมุทรโฆษ). |
ถือบวช | ก. ประพฤติพรตตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ |
ทิพพยาน | (ทิบพะยาน) น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ในสามดวงเขียนเป็น ทิพญาณ หรือ ทิพพญาณ, ทิพยพยาน ก็ว่า. |
ทิพยพยาน | น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ทิพพยาน ก็ว่า. |
ทุศีล | ว. ล่วงละเมิดศีลหรือวินัย (มักใช้แก่นักบวชนักพรต). |
เนรนาถ | (เนระนาด) ก. ไม่มีที่พึ่ง, ซัดเซพเนจร, เช่น ก็เนรนาถประพาสพรตยังเขาสิงขรบวรวงกต (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
บรรณศาลา | น. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. |
บวช ๑ | ก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ. |
บำเพ็ญ | ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญพรต. |
ผู้สำเร็จ | น. ผู้บำเพ็ญพรตจนมีอิทธิฤทธิ์, ผู้วิเศษ. |
ผูกขวัญ | ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร. |
พรหมจรรย์ | การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. |
พรหมจารี | ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ |
ฤษี | (รึ-) น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ฤๅษี | น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
วต-, วตะ | (วะตะ-) น. พรต, ข้อปฏิบัติ |
วัต | น. วตะ, พรต, ข้อปฏิบัติ |
ศรมณะ | (สะระมะ-) น. ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญพรต, พระสงฆ์. |
โศลก | (สะโหฺลก) น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺม-นามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง |
เสียเพศ | ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยังเมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา (สมุทรโฆษ), เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็นพญามหากระษัตราธิราช (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
หลวงจีน | น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา. |
อชิน | น. หนังรองนั่งของนักพรต |
อลัชชี | น. ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤตินอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี. |
ออกบวช | ก. ไปถือเพศเป็นพระหรือนักพรตอื่น ๆ |
อาศรม, อาศรมบท | (อาสม, อาสมบด) น. ที่อยู่ของนักพรต. |