^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
algol | (แอล' กอล) n. Algo (rithmic) L (anguge) เป็นภาษาหนึ่งในการทำ programming ของระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมาจากคำว่า ALGOrithmic Language เป็นภาษาที่ใช้ ในการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันนี้ ภาษานี้เกือบจะไม่มีใช้แล้ว เพราะเป็นภาษาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ก็ถือกันว่าเป็นต้นตระกูลของ ภาษาปาสกาล (Pascal) |
c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม |
caret | ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>หมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
extension | (อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type |
high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ |
hypercare | : ไฮเปอร์แคร์หมายถึง ชุดซอฟต์แวร์ของเครื่องแมคอินทอชที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น สามารถเขียนโปรแกรมเองได้ แต่แล้วกลับปรากฏว่า การเรียนวิธีใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ กลับยากเกินไป กับทั้งยังทำไม่ได้ดีเหมือนกับโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซี (C) หรือปาสกาล (Pascal) เมื่อผลิตขายใหม่ ๆ คนนิยมมาก แต่ปัจจุบันดูเหมือนจะหายไปจากตลาดแล้ว |
international organizatio | ISO <คำย่อ>องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานใช้ตัวย่อว่า ISO (อ่านว่า ไอเอสโอ) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้นว่า ภาษาปาสกาล, ภาษา Prolog |
iso | International Organization for Standardizationองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานใช้ตัวย่อว่า ISO (อ่านว่า ไอเอสโอ) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้นว่า ภาษาปาสกาล, ภาษา Prolog |
modula-2 | (มอดูลา-ทู) เป็นภาษาโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งใกล้เคียงกับภาษาปาสกาล (Pascal) ภาษานี้ผู้สร้างชื่อ Niklaus Wirth คนเดียวกับที่สร้างภาษาปาสกาล |
pascal | ปาสกาลเป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากพอสมควร มักใช้ในการสอนวิชามโนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม ผู้คิดภาษานี้ชื่อ Niklaus Wirth แต่ตั้งชื่อภาษาตามชื่อของนักคณิตปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งคือ Blaise Pascalดู high level language ประกอบ |
turbo pascal | เทอร์โบ ปาสกาล <คำอ่าน>เป็นชื่อตัวแปลภาษาปาสกาล (ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม) ที่ที่บริษัทบอร์แลนด์เป็นผู้พัฒนาขึ้นในราว ค.ศ.1984 ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันดู Pascal ประกอบ |
turing | (ทัวริ่ง) เป็นชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนามาจากภาษาปาสกาลที่มหาวิทยาลัย โตรอนโต ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) |