กระวานเทศ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์ Zingiberaceae มาจากประเทศอินเดียตอนใต้ ผลรูปกระสวยหรือรูปไข่ปลายแหลม สีนวล มี ๓ พู กลิ่นหอมฉุน, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. |
คงคา ๑ | น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจำนํ้า, ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว) |
โคล ๑ | (โคน) น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ชมพูทวีป | น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังกลาเทศในปัจจุบัน |
ซิก ๒, ซิกข์ | ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาซิกข์ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
ดาว ๓ | น. ชื่อกวางชนิด Axis axis (Erxleben) ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ขนละเอียดอ่อนและนุ่มกว่ากวางป่า สีนํ้าตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองมีจุดสีขาวกระจายทั่วตัว อยู่รวมกันเป็นฝูง กินพืช มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและศรีลังกา. |
ตะวันออกกลาง | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. |
นาค ๒, นาคา ๑ | (นาก) น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค. |
ปากห่าง | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans (Boddaert) ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแหลมตรง ขากรรไกรทั้งสองเมื่อประกบกันส่วนกลางไม่ชิดกัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการคาบเหยื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหอยโข่ง หอยเชอรี่ ลำตัวสีเทาอมขาว แต่จะเป็นสีเทาเข้มในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มีจำนวนมากในภาคกลาง ประวัติเป็นนกอพยพมาจากประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น. |
โพธิบัลลังก์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. |
ภารตวิทยา | น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. |
มัชฌิมชนบท | น.ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ. |
มัชฌิมประเทศ | (มัดชิมะ-, มัดชิม-) น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง. |
ยูงอินเดีย | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Pavo cristatus Linn. ในวงศ์ Phasianidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกยูงไทย แต่หงอนขนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีน้ำเงิน กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย. |
รัตนบัลลังก์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็เรียก, แท่นที่รองรับพระพุทธรูป. |
ลังกา | น. ชื่อเกาะแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย. |
วัชรอาสน์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. |
วิวาห-, วิวาห์, วิวาหะ | (วิวาหะ-) น. “การพาออกไป” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนำไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลำพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. |
สังเวชนียสถาน | (-นียะสะถาน) น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย. |
สิกข์, สิข | ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาสิกข์ ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
สิงโต ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Panthera leo (Linn.) ในวงศ์ Felidae รูปร่างคล้ายแมวแต่มีขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาล ไม่มีลาย ขนปลายหางเป็นพู่ ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ตัวเมียไม่มี อาศัยอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกาเล็กน้อย. |
สินธุ | ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในชมพูทวีป ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดียและปากีสถาน. |
อะหม | น. ชนชาติไทใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อาหม ก็ว่า. |
อาวาห-, อาวาหะ | (อาวาหะ-) น. “การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนำหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. |
อาหม | (-หมฺ) น. ชนชาติไทใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อะหม ก็ว่า. |