Search result for

*ปฏิกิริยาเคมี*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ปฏิกิริยาเคมี, -ปฏิกิริยาเคมี-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ปฏิกิริยาเคมี(n) chemical reaction, Example: การทำงานของเซลล์อาศัยปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อนมากมายหลายอย่าง, Thai Definition: การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่ทำปฏิกิริยากัน

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
ก๊าซเฉื่อย, แก๊สเฉื่อยน. ธาตุที่เป็นแก๊ส มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก ก๊าซมีตระกูลหรือแก๊สมีตระกูล (noble gases) ก๊าซหายากหรือแก๊สหายาก (rare gases).
แกล้งดินก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้.
เฉื่อย ๒ว. ไม่เปลี่ยนไปง่ายโดยปฏิกิริยาเคมี, ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี.
ซีเซียมน. ธาตุลำดับที่ ๕๕ สัญลักษณ์ Cs เป็นโลหะสีเงิน ไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก หลอมละลายที่ ๒๘.๗ ºซ.
ซีเมนต์น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สำคัญของซีเมนต์ คือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์เพื่อทำคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อเป็นต้น เรียกว่า ปูนซีเมนต์.
เซลล์ ๒น. อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีในการเปลี่ยนพลังงานในสารเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเช่นถ่านไฟฉาย ถ่านกระดุม และส่วนย่อยของแบตเตอรี่, เรียกเต็มว่า เซลล์ไฟฟ้า.
ไทเทรต(-เทฺรด) ก. หยดสารละลายหนึ่งจากหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตรซึ่งเรียกว่าบิวเรตต์ลงในสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตรแล้ว เพื่อให้ทำปฏิกิริยาเคมีกันจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด.
ไนโตรเจนน. ธาตุลำดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ในบรรยากาศ ธาตุนี้มีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก.
ปูนซีเมนต์น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สำคัญคือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์เพื่อทำคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อ.
ฟลูออรีนน. ธาตุลำดับที่ ๙ สัญลักษณ์ F เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊สสีเขียวแกมเหลือง มีสมบัติคล้ายคลอรีนแต่ให้ปฏิกิริยาเคมีไวกว่า.
ไฟผลจากปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กำลังลุกไหม้ ทำให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้
รีดักชันน. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุไฮโดรเจนมารวมตัวด้วย, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารสูญเสียธาตุออกซิเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น.
รูบิเดียมน. ธาตุลำดับที่ ๓๗ สัญลักษณ์ Rb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาว ไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างยิ่ง หลอมละลายที่ ๓๘.๙ °ซ.
ละลายอาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีกอย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอนละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายในแก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
สตรอนเชียม(สะตฺรอน-) น. ธาตุลำดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยาเคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ °ซ.
สนิม ๑(สะหฺนิม) น. ส่วนของผิวโลหะที่แปรสภาพไปจากเดิมเนื่องด้วยปฏิกิริยาเคมีเป็นสาเหตุให้เกิดการผุกร่อน เช่น มีดขึ้นสนิม
สมการเคมีน. สมการที่เขียนขึ้นโดยอาศัยสัญลักษณ์ของธาตุ เพื่อแสดงปฏิกิริยาเคมีและปริมาณของธาตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ.
สังเคราะห์ก. ทำให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ, ทำให้สารประกอบมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบอื่น.
ส่าเหล้า ๑น. ส่าที่เติมลงไปเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้มีเอทิลแอลกอฮอล์เกิดขึ้น.
สารประกอบน. สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ.
สารละลายน. ของผสมเนื้อเดียวล้วน ซึ่งประกอบด้วยสารต่างชนิดกันตั้งแต่ ๒ สารขึ้นไป แผ่กระจายผสมรวมกันอยู่อย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น ของแข็งละลายในของเหลว ของเหลวละลายในของเหลว ของแข็งละลายในของแข็ง แก๊สละลายในแก๊ส.
หินปูนน. หินที่มีเนื้อสารเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเกือบทั้งสิ้น สารประกอบหินดังกล่าวเกิดจากการตกตะกอนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีก็มี และที่เกิดจากการตกจมรวมตัวเป็นพืดใหญ่ของสัตว์ประเภทมีเปลือกหุ้มตัวเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตก็มี.
หินแปรน. หินที่แปรสภาพจากหินเดิม โดยการกระทำของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี.
อนุมูลน. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทำปฏิกิริยาด้วยกัน โดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูลไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO3).
ออกซิเดชันน. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทำให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป.
อะตอมน. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู.
เอนไซม์น. สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Enzymeเอนไซม์ โปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Nuclear reactionsปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์]
Free radicalอนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์]
Chemical reactionsปฏิกิริยาเคมี [TU Subject Heading]
Chemiluminescenceการเปล่งแสงที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี [TU Subject Heading]
Chemical Oxygen Demandซีโอดี, ซีโอดี คือปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในน้ำเสียค่าซีโอดีที่สูงกว่าแสดงว่า ปฏิกิริยาการย่อยสลายนั้นต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่า ค่าซีโอดีสามารถใช้เป็นตัววัดทางอ้อมของปริมาณสารประกอบอินทรีย์ในน้ำ [เทคโนโลยีชีวภาพ]
Blowing agentสารที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง แต่จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูงและปล่อยก๊าซออกมา โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมี และ/หรือปฏิกิริยาทางความร้อน ทำให้เกิดช่องว่างหรือรูพรุนขึ้นในผลิตภัณฑ์ เช่น การผลิตยางฟองน้ำ (Sponge) ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต [เทคโนโลยียาง]
Coupling agentสารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มอันตรกิริยา (เกิดการเชื่อมโยง) ระหว่างยางกับสารเสริมแรงประเภทซิลิกาให้มีแรงยึดเหนี่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยหมู่อัลคอกซีบนสารคู่ควบจะทำปฏิกิริยาเคมีกับหมู่ไซลานอลที่อยู่บนพื้น ผิวของซิลิกาเกิดเป็นพันธะไซลอกเซนที่เสถียร ทำให้หมู่ไซลานอลลดลง อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคของซิลิกาจึงลดลงด้วย ตัวอย่างของสารคู่ควบ ได้แก่ ไทรเอทอกซีไซลีลโพรพีลเททระซัลไฟด์ (Si-69) เมอร์แคปโตโพรพีลไทรเมทอกซีไซเลน (A-189) ไทโอไซยาเนโตโพรพีลไทเอทอกซีไซเลน (Si-264) เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Retarderสารหน่วงปฏิกิริยา คือ สารเคมีซึ่งลดอัตราเร็วการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อนำมาใส่ในยางจะช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อนที่ยางจะเริ่มเกิดปฏิกิริยาคงรูป ช่วยลดโอกาสของการเกิดยางตายทั้งในระหว่างการเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการ ขึ้นรูป [เทคโนโลยียาง]
Synthetic rubberยางที่ผลิตขึ้นใข้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังรวมถึงยางชนิดต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาเคมีอีกด้วย เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางไนไทรล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Biocatalysisการเร่งปฏิกิริยาเคมีโดยกลไกทางชีวภาพ [การแพทย์]
Bioelectrochemistryกระบวนการก่อกระแสไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมี [การแพทย์]
Chemically, Highly Reactiveไวต่อปฏิกิริยาเคมี [การแพทย์]
combustionการเผาไหม้, ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารรวมกับตัวออกซิไดซ์  เช่น ออกซิเจน โดยอาจมีความร้อนหรือแสงเกิดขึ้นด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
addition polymerization reactionปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม, ปฏิกิริยาเคมีที่มอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทำปฏิกิริยาการเติมซ้ำ ๆ กัน แล้วได้สารใหม่ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า  พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
inert gas [ noble gas ]แก๊สเฉื่อย, แก๊สมีตระกูล, ธาตุที่อยู่ในหมู่ VIII ของตารางธาตุ มีสถานะเป็นแก๊ส ไม่มีความไวในการเข้าทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุอื่นเพราะการจัดตัวของอิเล็กตรอนของแก๊สเฉื่อยอยู่ในสภาพเสถียร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electrodeขั้วไฟฟ้า, ตัวนำไฟฟ้าที่จุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งจะเป็นส่วนที่เกิดปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ไฟฟ้าเคมีหรือเซลล์อิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
inorganic chemistryเคมีอนินทรีย์, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอนินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
fuel cellเซลล์เชื้อเพลิง, อุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใส่สารเคมีเข้าไปทำปฏิกิริยากันแล้วได้กระแสไฟฟ้าออกมา เซลล์เชื้อเพลิงแบบง่ายได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่าง แก๊สไฮโดรเจนกับออกซิเจนโดยมีแผ่นนิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี และมีสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
primary cellเซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electrolytic cellเซลล์อิเล็กโทรไลต์, อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสนั่นเอง  [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
inhibitorตัวยับยั้ง, สารเคมีที่เติมลงไปในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งแล้วทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง  หรือหยุดนิ่ง เมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุดแล้วก็ยังคงมีสารนั้นในระบบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
catalystตัวเร่งปฏิกิริยา, สารเคมีที่เติมลงไปในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งแล้วทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น และเมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุด  สารนั้นก็ยังคงมีสมบัติทางเคมีและมีปริมาณคงเดิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
redox reaction [ oxidation-reduction reaction ]ปฏิกิริยารีดอกซ์, ปฏิกิริยาเคมีที่มีการให้และรับอิเล็กตรอนหรือปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
addition reactionปฏิกิริยาการเติม, 1. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว 2. ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมรวมเป็นโมเลกุลเดียวกับสารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
chemical reactionปฏิกิริยาเคมี, การเปลี่ยนแปลงของสารเกิดเป็นสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากเดิม ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
homogeneous reactionปฏิกิริยาเนื้อเดียว,   ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคเดียวกัน เช่น HCl(aq) + NaOH(aq)  ______>  NaCl(aq) + H2O(aq)   [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
heterogeneous reactionปฏิกิริยาเนื้อผสม, ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคต่าง ๆ กัน อาจมี 2 หรือ 3 วัฎภาครวมกันอยู่ในระบบ เช่น  C(s) +O2(g) _______>CO2(g)    [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
reversible reactionปฏิกิริยาผันกลับ, ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในระบบปิดที่มีทั้งปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับเกิดขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
reduction reactionปฏิกิริยารีดักชัน, ปฏิกิริยาเคมีที่ไอออน อะตอมหรือโมเลกุลของสารมีการรับอิเล็กตรอนหรือมีเลขออกซิเดชันลดลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
chargeการประจุไฟ, การผ่านไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในเซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิเพื่อทำให้แผ่นโลหะที่ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่จะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เองและให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
activation energyพลังงานก่อกัมมันต์, พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่โมเลกุลของสารตั้งต้นจำเป็นต้องมีหรือได้รับ จึงจะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
photolysisโฟโตลิซิส, กระบวนการแยกสลายสารประกอบ หรือการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมีโดยพลังงานแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
valence electronเวเลนซ์อิเล็กตรอน, อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุดของอะตอมเป็นอิเล็กตรอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีของธาตุนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
synthetic substanceสารสังเคราะห์, สารที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีนำมาใช้ประโยชน์เพื่อทดแทนสารจากธรรมชาติซึ่งอาจมีปริมาณไม่เพียงพอ หรือคุณภาพไม่เหมาะสม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
acetylene [ ethyne ]อะเซทิลีน, แก๊สชนิดหนึ่งติดไฟง่ายไม่มีสี ไม่มีกลิ่น  สูตรเคมีคือ C2H2 เตรียมได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์กับน้ำ หรือได้จากการแตกสลายโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่โดยอาร์กไฟฟ้าใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น จุดตะเกียงให้แสงสว่าง เชื่อโลหะ บ่มผลไม้ เป็นสารตั้ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
rate of reactionอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี, ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงต่อหน่วยเวลาอัตราการเกิดปฏิกิริยามี 2 ลักษณะ คือ อัตราการเกิดปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่งกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
indicatorอินดิเคเตอร์, สารที่บ่งชี้สมบัติบางอย่างในปฏิกิริยาเคมีโดยการเปลี่ยนสีหรือสมบัติบางอย่างที่มองเห็นได้ เช่น อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยากรด-เบส จะเปลี่ยนเป็นสีหนึ่งในกรดและเป็นอีกสีหนึ่งในเบส  หรือบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ตามช่วง pH ของสารละลายนอกจากนี้ยังมีอินดิเคเตอร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
organic chemistryอินทรีย์เคมี, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ozoneโอโซน, ออกซิเจนรูปหนึ่ง ในแต่ละโมเลกุลจะมี 3 อะตอม เป็นแก๊สไม่มีสี มีความว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา จุดเดือด -112.4°C  จุดหลอมเหลว  - 249.7°C  มีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
accumulatorหม้อสะสมไฟฟ้า, เซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าชนิดอาศัยปฏิกิริยาเคมี  หลังจากใช้ไฟฟ้าไปบ้างแล้วก็สามารถประจุไฟฟ้ากลับคืนได้ โดยการผ่านไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดอื่นที่มีความต่างศักย์สูงกว่าเข้าไปในทิศทางตรงข้าม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
heat of reactionความร้อนของปฏิกิริยา, ปริมาณความร้อนที่ระบบคายออกหรือดูดเข้าเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
catalysisคะตะลิซิส, กระบวนการที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
law of conservation of massกฎทรงมวล, กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
mechanism of a reactionกลไกของปฏิกิริยา, วิธีการแสดงว่าปฏิกิริยาเคมีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร  ซึ่งอาจอธิบายได้โดยใช้สมการเคมีหลาย ๆ สมการ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน(H) กับโบรมีน(Br) เกิดเป็นไฮโดรเจนโบรไมด์(HBr) อาจอธิบายกลไกของปฏิกิริยาโดยใช้สมการเคมีต่ง ๆ ดังนี้   [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
chemical oxygen demand (COD)ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (ซีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ  ค่าซีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
chemosynthesisการสังเคราะห์ทางเคมี, กระบวนการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิตบางชนิดโดยใช้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Interferentsสารรบกวนปฏิกิริยาเคมี [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ปฏิกิริยาเคมี[patikiriyā khēmī] (n, exp) EN: chemical reaction  FR: réaction chimique [ f ]

English-Thai: Longdo Dictionary
fuel cell(n) เซลกำเนิดไฟฟ้า โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี ระหว่างออกซิเจน กับ ไฮโดรเจน ซึ่งเมื่อรวมตัวกันแล้วจะได้น้ำ และพลังงานออกมา คาดกันว่าจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับเป็นแหล่งพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว หรืออุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ต่างๆ โดยสามารถเติมพลังงานในรูปแบบของการเติมไฮโดรเจนที่ปั้ม หรือซื้อไฮโดรเจนกระป๋องสำหรับอุปกรณ์นั้นๆมาเปลี่ยน (สิงหาคม 2546)

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
catalysis(n) การเพิ่มปฏิกิริยาทางเคมี, See also: การเร่งปฏิกิริยาเคมี
galvanism(n) ไฟฟ้าซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี, Syn. voltaism
reaction(n) ปฏิกิริยาเคมี

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
restrainer(รีสเทรน'เนอะ) n. ผู้กรอง, สิ่งกรอง, สารเคมีที์ยับยั้งปฏิกิริยาเคมี, ผู้ยับยั้ง, ผู้อดกลั้น, ผู้ดึงบังเหียน, น้ำยาทำให้การปรากฎรูปขึ้นช้า (ในการล้างรูป)

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
酸化[さんか, sanka] (n) ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น, See also: R. oxidation

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top