กาบน้ำจืด | <i>ดู กาบ ๒</i>. |
นวลจันทร์น้ำจืด | <i>ดู นวลจันทร์ ๑</i>. |
ไรน้ำจืด | <i>ดู แมงแงว</i>. |
กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i> Hemibagrus</i><i> nemurus</i> (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด <i> Macrobrachium equidens</i> (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
ก้างพระร่วง | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดจำพวกเดียวกับปลาเนื้ออ่อน ชนิด <i> Kryptopterus bicirrhis</i> (Valenciennes) ในวงศ์ Siluridae ลำตัวยาวแบนข้างมาก ปากเล็กเชิดขึ้น เนื้อมีลักษณะใสจนมองทะลุลำตัวเห็นแถวกระดูกและอวัยวะภายในต่าง ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๑๒ เซนติเมตร, กระจก ก็เรียก. |
ก้ามกราม | น. ชื่อกุ้งชนิด <i> Macrobrachium rosenbergii</i> (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามใหญ่สีฟ้าหรือสีคราม มีหนาม ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อยแล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด, กุ้งก้ามคราม หรือ กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง. |
กินเปี้ยว | น. ชื่อนกกระเต็นชนิด <i> Halcyon chloris</i> (Boddaert) ในวงศ์ Alcedinidae ปากแบนข้างสีดำปลายแหลม ขากรรไกรบนสีดำ ขากรรไกรล่างสีเทาอมชมพู ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว คอและท้องสีขาว หากินตามป่าชายเลน แต่อาจพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป กินปูเปี้ยว ปลา และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด. |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
กุ้งฝอย | น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๔ เซนติเมตร มีหลายชนิด พบในน้ำจืด ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ชนิด <i> Macrobrachium lanchesteri</i> (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae และหลายชนิดในสกุล <i> Caridina</i> วงศ์ Atyidae. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด <i> Thynnichthys thynnoides</i> (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
จำปีสิรินธร | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ชนิด <i> Magnolia sirindhorniae</i> Noot. et Chalermglin ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาวนวล กลีบดอกใหญ่ยาว ผลเป็นผลกลุ่ม รูปกลม ขึ้นในป่าพรุน้ำจืด ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
เจ้าฟ้า ๒ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด <i> Phricotelphusa</i> <i> sirindhorn</i> Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่บริเวณน้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง ราชบุรี และเพชรบุรี. |
ช้อนหอย ๒ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นตามแหล่งน้ำจืด กินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาวหรือกุลาขาว [ <i> Threskiornis melanocephalus</i> (Latham) ] ช้อนหอยดำ [ <i> Pseudibis davisoni</i> (Hume) ] ช้อนหอยใหญ่ [ <i> P. gigantea</i> (Oustalet) ] และช้อนหอยดำเหลือบ [ <i> Plegadis falcinellus</i> (Linn.) ], กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก. |
ไซ ๒ | น. ชื่องูน้ำจืดขนาดกลางชนิด <i> Enhydris bocourti</i> Jan ในวงศ์ Colubridae หัวป้อมใหญ่ ปลายปากมน คอไม่คอด ลำตัวอ้วนกลมสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลแดง บนหลังมีลายเป็นปล้องใหญ่ หางสั้น มีพิษอ่อนมาก ผู้ถูกกัดมักไม่มีปฏิกิริยาต่อพิษงูชนิดนี้. |
ดอกหมาก ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i> Raiamas guttatus</i> (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว เพรียว แบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากแหลมยาวล้ำขากรรไกรล่าง ปากกว้าง ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางปลายหัว เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบ เส้นข้างตัวพาดต่ำ ๆ ใกล้แนวสันท้อง ครีบหลังอยู่ท้ายแนวกึ่งกลางลำตัวและมีก้านครีบ ๙-๑๑ ก้าน ครีบก้นอยู่คล้อยไปข้างท้ายของลำตัวและมีก้านครีบ ๑๓-๑๔ ก้าน ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ส่วนครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบหลัง ครีบหางเป็นแฉกลึก บริเวณข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินดำเรียบเป็นแถวยาวในแนวระดับตา ต่ำลงไปเหนือส่วนท้องจะเป็นจุดประกระจายทั่วไป ครีบต่าง ๆ มีสีอมเหลือง แพนหางตอนล่างมีแถบสีดำพาดตามยาวอยู่ที่ขอบด้านใน พบในเขตต้นน้ำหรือแม่น้ำที่มีพื้นเป็นกรวดทรายน้ำไหลแรงในทุกภาค ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, นางอ้าว อ้าว หรือ อ้ายอ้าว ก็เรียก. |
ตะกรุม ๑ | (-กฺรุม) น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด <i> Leptoptilos javanicus</i> (Horsfield) ในวงศ์ Ciconiidae รูปร่างคล้ายนกตะกราม แต่ขนาดเล็กกว่า หัวและคอสีเหลือง ไม่มีถุงหนังและพู่ขนสีขาวที่คอ กินปลาและสัตว์น้ำจืด. |
ตะพาก | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล <i> Hypsibarbus</i>วงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด <i> H. malcolmi</i> (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด <i> H. wetmorei</i> (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด <i> H. pierrei</i> (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด <i> Platysternon megacephalum</i> Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ <i> (P. m. megacephalum</i> Gray), ปูลูพม่า <i> (P. m. peguens</i> Gray) และปูลูไทย (<i> P. m. vogeli</i> Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
ทราย ๒ | (ซาย) น. ชื่อหอยกาบคู่หลายชนิด มีรูปเปลือกแตกต่างกันไป ที่เป็นหอยน้ำจืด เช่น ชนิด <i> Corbicula javanica</i> (Mousson) ในวงศ์ Corbiculidae ที่เป็นหอยทะเล เช่น ชนิด <i> Asaphis violascens</i> (Forsskal) ในวงศ์ Psammobiidae. |
ทูลกระหม่อม ๒ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด <i> Thaipotamon chulabhorn</i> Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. |
นวลจันทร์ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Cirrhinus</i> <i>microlepis</i> Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัยตามลำนํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, นวลจันทร์น้ำจืด ก็เรียก, อีสานเรียก โพง, เขมรเรียก พรวน. |
นวลจันทร์ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด <i>Chanos</i> <i>chanos</i> (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก. |
นา ๔ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด <i>Esanthelphusa dugasti</i> (Rathbun) ในวงศ์ Parathelphusidae กระดองและขาสีม่วงอมดำ ขุดรูอยู่ตามท้องนา ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูดอง. |
น้ำเงิน ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด <i>Phalacronotus apogon</i> (Bleeker) หรือ <i>Micronema apogon</i> (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก. |
น้ำผึ้ง ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Gyrinocheilus aymonieri</i> (Tirant) และชนิด <i>G. pennocki</i> (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก. |
ปลิง ๑ | (ปฺลิง) น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในชั้น Hirudinea ลำตัวกลมยาว ยืดหดได้ เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น ปลิงควาย (<i> Hirudo medicinalis</i>Linn.), ปลิงเข็ม[ <i> Hirudinaria manillensis</i> (Lesson) ]. |
ปู ๑ | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก หัวและอกรวมกันเป็นลำตัว ท้องแบนพับอยู่ใต้อก เรียก จับปิ้งหรือตะปิ้ง มีรยางค์ขา ๕ คู่ คู่แรกเป็นขาก้าม พบอาศัยอยู่บนบกในน้ำจืด และทะเล เช่น ปูดำหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม |
พรวน ๓ | (พฺรวน) น. ชื่อเรียกปลานวลจันทร์น้ำจืดในภาษาเขมร. |
โพง ๓ | น. ปลานวลจันทร์น้ำจืด. <i> (ดู นวลจันทร์ ๑)</i>. |
ม้า ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Boesemania microlepis</i> (Bleeker) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวกว้างมากในแนวอกและท้อง แล้วเรียวเล็กลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งก้านที่ ๒ ของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลายแหลม ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นสั้น ๆ เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่นชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายของครีบหาง ลำตัวและหัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว. |
แมงแงว | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Streptocephalidae ขนาดยาว ๑.๘ เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายไรน้ำเค็ม ลำตัวใส มีถุงไข่ที่ท้อง ๑ ถุง ไข่จม กินสาหร่าย พบตามแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนเขตภูเขาในจังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู หนองคาย นำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงอ่อมหรือห่อหมก ตามธรรมชาติเป็นอาหารของสัตว์น้ำ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด <i>Streptocephalus sirindhornae</i> Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont. ซึ่งมีหางสีแดงเข้ม, แมงหางแดง แมงอ่อนช้อย หรือ ไรน้ำจืด ก็เรียก. |
แม่ฟ้าหลวง ๒ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด<i>Dromothelphusa</i> <i>sangwan</i> Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae มีขอบตา ขอบปาก ปลายขาและปลายก้ามหนีบสีแดง ขุดรูอยู่บริเวณ ๒ ฝั่งริมลำธารตามภูเขา พบที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย. |
ยาง ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Ardeidae ปากยาวแหลมตรง ส่วนใหญ่ตัวสีขาว บางชนิดสีดำ นํ้าตาล หรือเขียว ขายาว นิ้วกลางที่หันไปทางด้านหน้ามีเล็บหยักคล้ายซี่หวี ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ พุ่มไม้ หรือตามซอกหิน หากินตามชายนํ้า โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำจืด บางชนิดหากินตามชายทะเล กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก เช่น ยางควาย [ <i>Bubulcus ibis</i> (Linn.) ] ยางเขียว [ <i>Butorides striatus</i> (Linn.) ] ยางไฟหัวดำ [ I<i>xobrychus sinensis</i> (Gmelin) ] ยางเปีย [ <i>Egretta garzetta</i> (Linn.) ], กระยาง ก็เรียก. |
รากกล้วย ๑ | น. ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล <i>Acantopsis</i>วงศ์ cobitidae หัวยาวปลายแหลม ลำตัวยาวเรียว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา ข้างตัวมักมีจุดสีดำเรียงในแนวยาวหรือประอยู่ด้านหลัง บ้างมีแถบสีดำคล้ำตามแนวยาว พบอาศัยอยู่เป็นฝูงตามลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลหรือพื้นท้องน้ำเป็นกรวดทรายซึ่งปลามุดซ่อนตัว, ซ่อนทราย กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. |
ราชินี ๒ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด <i>Thaiphusa sirikit</i> (Naiyanetr) ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงอมน้ำเงิน ขอบกระดองและขาก้ามสีขาว ขาสีแดง อาศัยอยู่ตามลำห้วย พบที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี, ปูสามสี หรือ ปูไตรรงค์ ก็เรียก. |
ไรน้ำ | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ cladocera รูปร่างแตกต่างกันไป โดยทั่วไปลำตัวกลมคล้ายไข่ ขนาดยาว ๐.๔-๑.๘ มิลลิเมตร มีแผ่นเปลือกคลุมประกบซ้ายขวา ท้ายสุดของส่วนท้องเป็นหนามแหลมยื่นและแยกเป็น ๒ แฉก ปากเล็ก กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ไรแดง [ <i>Moina macrocopa</i> (Straus) ] ในวงศ์ Daphnidae ไรน้ำกร่อย (<i>Diaphanosoma</i>spp.) ในวงศ์ Sididae, ลูกไร ก็เรียก. |
โลมา ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Cetacea อันดับย่อย Odontoceti มีหลายชนิด หลายวงศ์ ลำตัวใหญ่ บางชนิดปลายจะงอยปากยื่นแหลม บางชนิดหัวกลมมน มีฟัน หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ มักมีครีบหลัง ๑ ครีบ หายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเล เช่น โลมาขาวเทา [ <i>Sotalia</i> <i>plumbea</i> (Cuvier) ] ในวงศ์ Stenidae โลมาหัวขวด (<i>Delphinus</i> <i>delphis</i> Linn.) โลมาอิระวดี [ <i>Orcaella brevirostris</i> (Gray) ] อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืด เช่น ทะเลสาบในจังหวัดพัทลุง และแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Delphinidae โลมาหัวบาตร [ <i>Neophocaena</i> <i>phocaenoides</i> (Cuvier) ] ในวงศ์ Phocaenidae, ปลาโลมา ก็เรียก. |
สร้อยนกเขา | น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล <i>Osteochilus</i> และ <i>Dangila</i> วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด <i>O. hasselti</i> (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก. |
สวาย ๒ | (สะหฺวาย) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด <i>Pangasius hypophthalmus</i>Sauvage ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ ๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดสีดำบนลำตัวเหนือครีบอกหลังแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๑.๖ เมตร. |
สังกะวาด | น. ชื่อปลาน้ำจืดหลายชนิด โดยเฉพาะชนิด <i>Laides hexanema</i> (Bleeker) และ <i>Helicophagus waandersii</i>Bleeker อีกทั้งเป็นชื่อที่ยังใช้เรียกปลาสวาย หรือ ยอน ที่มีขนาดเล็กหรือยังมีขนาดเล็กบางชนิดในสกุล <i>Pangasius</i>ซึ่งอยู่ในวงศ์ Schilbeidae เดียวกันและมีรูปร่างคล้ายกัน คือ มีลำตัวยาวเรียว แบนข้าง และมีมีหนวด ๒-๔ คู่ มีพฤติกรรมในการกินสิ่งเน่าเปื่อย ในฤดูร้อนช่วงสืบพันธุ์จะรวมฝูงกันในแม่น้ำ จับคู่รัดกัน จนปลาเกิดมีรอยช้ำสีแดงหรือชมพูเป็นทางยาวอยู่ทั้ง ๒ ข้างลำตัว, สังคะวาด สังกะแวง หรือ ยอน ก็เรียก. |
สายยู ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Platytropius siamensis</i> (Sauvage) ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวดลักษณะแบนบิดและยาวมาก ๔ คู่ อยู่ที่จมูก ขากรรไกรบน ขากรรไกรล่างและคาง, เกด ก็เรียก. |
เสือตอ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Datnioides pulcher</i> (Bleeker) และ <i>D. undecimradiatus</i>Roberts & Kottelat ในวงศ์ Lobotidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง หัวแหลม ปากกว้างพอประมาณเชิดขึ้นเล็กน้อย จะงอยปากอยู่ต่ำกว่าระดับตา เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ส่วนท้ายของครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีขอบกลม ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นสั้น ๆ พื้นลำตัวและครีบมีสีเทาจนถึงเหลืองและชมพูหม่น หรือน้ำตาลหม่นหรือคล้ำ ที่สำคัญคือมีแถบใหญ่สีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางอยู่บนหัว ลำตัว และคอดหาง รวม ๖ แถบ สำหรับชนิดแรกที่เคยพบในลุ่มน้ำภาคกลางและแม่น้ำโขง มีประวัติทางพฤติกรรมว่ามักหลบอยู่ตามตอไม้จมน้ำ ปัจจุบันปลาในธรรมชาติแทบไม่มีให้พบกันอีก ส่วนอีกชนิดหนึ่งพบเฉพาะในแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดคล้ายกันมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ลาด หรือ เสือ ก็เรียก. |
เสือพ่นน้ำ | น. ชื่อปลาน้ำกร่อยทุกชนิดในสกุล <i>Toxotes</i>วงศ์ Toxotidae บางชนิดอยู่ได้ดีในเขตน้ำจืด ทุกชนิดมีพฤติกรรมในการว่ายเสมอผิวน้ำและล่าเหยื่อจำพวกแมลงและแมงเป็นส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือผิวน้ำได้ถึง ๓ เมตร ด้วยการพ่นเม็ดน้ำเป็นทางให้ไปโดนเหยื่อตกลงมาเป็นอาหาร ทุกชนิดมีพื้นลำตัวและครีบสีเงินอมเหลืองแกมเขียว ที่สำคัญคือ มีแถบหรือแต้มสีดำพาดขวางอยู่ตั้งแต่หัวถึงคอดหาง ขนาดยาว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร, เสือ ก็เรียก. |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด <i>Systomus partipentazona</i> (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |
หมอเทศ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Oreochromis mossambicus</i> (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร. |
หัวแข็ง ๒ | น. ชื่อกุ้งชนิด <i>Exopalaemon styliferus</i> (H. Milne-Edwards) ในวงศ์ Palaemonidae ลำตัวใส หัวมีผิวเกลี้ยงเรียบ ปลายกรีงอนขึ้นมีสีแดง ปลายหางสีแดง อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ส่วนใหญ่พบในทะเลหรือน้ำกร่อย บางครั้งพบในน้ำจืด. |
หางไก่ | น. ชื่อปลาทะเลบ้างอยู่ในน้ำจืดทุกชนิดในสกุล <i>Coilia</i> วงศ์ Engraulidae หรือ Engraulididae ลำตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบหลุดง่าย ลำตัวจึงแลดูใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด สำหรับชนิด <i>C. dussumieri</i> Valenciennes ซึ่งอาจพบอาศัยอยู่ในน้ำจืดมีจุดเรืองแสงสีเงินอมเหลืองบนเกล็ด ๓-๔ แถวที่ตอนล่างของลำตัว ทั่วไปยาวไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร. |
หางนกยูง ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ออกลูกเป็นตัว ชนิด <i>Poecilia reticulata</i> Peters ในวงศ์ Poeciliidae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นปลาสวยงาม ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต ตัวผู้มีขนาดโตได้ยาวเพียง ๓ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียยาวได้ถึง ๖ เซนติเมตร, กินยุง ก็เรียก. |
หิ่งห้อย | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ด้านปลายของส่วนท้องมีปล้องทำแสง ๒ ปล้องในเพศผู้ และ ๑ ปล้องในเพศเมีย โดยแสงเกิดจากสารลูซิเฟอรินทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดตัวเมียไม่มีปีก ที่พบมากตามแหล่งน้ำจืด เช่น ชนิด <i>Luciola aquatilis</i> Thaneharoen ที่พบตามป่าชายเลน เช่น ชนิด <i>Pteroptyx malaccae</i> (Gorham), ทิ้งถ่วง แมลงแสง หรือ แมลงไฟ ก็เรียก. |