ดูหรือ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้. |
ไข้ทับระดู | น. ไข้ขณะที่กำลังมีระดูหรือระดูเพิ่งหยุด. |
จ้อง ๒ | ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
เชย ๑ | ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง. |
เตี่ยว | น. ผ้าแคบยาวสำหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อนออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสำหรับซับระดูหรืออยู่กระดานไฟ |
นั่งป่ง | ก. นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินป่ง, นั่งโป่ง ก็ว่า. |
นั่งโป่ง | ก. นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง, นั่งป่ง ก็ว่า. |
นี่แน่ะ | คำบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. |
ป่ง | น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่เชื่อว่ามีอยู่ในที่เช่นนั้น ว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินป่ง ว่า นั่งป่ง, โป่ง ก็ว่า. |
ปรานีตีเอาเรือ | ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้ายตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า (สังข์ทอง). |
โป่ง | พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง ดินโป่ง, เรียกผีที่เชื่อว่ามีอยู่ในที่เช่นนั้น ว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง ว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า |
เผิน ๆ | ว. ผิว ๆ, ผาด ๆ, ตื้น ๆ, เช่น มองเผิน ๆ แลเผิน ๆ, (มักใช้แก่กิริยาที่ดูหรือมอง). |
สังเกตการณ์ | ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง ว่า ผู้สังเกตการณ์. |
อ้าย ๒ | น. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้ายน้องชาย, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบหน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คำนำหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวกเพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น (สามดวง). |
อี ๑ | น. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คำประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้นไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คำนำหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชนทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน (สามดวง), ถ้าใช้ในทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาว มักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวดอยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว (สามดวง). |
ไอ้ | คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย |